สมุนไพรเป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นตัวยารักษาโรคและแก้อาการต่าง ๆ ได้ ซึ่งประเทศไทยได้ขึ้นชื่อมาเป็นแหล่งของพืชสมุนไพรที่มีความน่าสนใจหลายชนิด และยังมีการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบันคนรุ่นหลังเริ่มรู้จักพืชสมุนไพรน้อยลง และมีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรในกลุ่มแคบ ๆ เท่านั้น ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงคุณประโยชน์และลักษณะของสมุนไพรเท่าที่ควรนัก บางครั้งเห็นปลูกไม้ในกระถางก็คิดว่าเป็นเพียงต้นไม้ปลูกไว้ประดับบ้านเท่านั้น ผู้เขียนจึงมีความตั้งใจที่จะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแต่ละชนิดและคุณประโยชน์ของมัน เพื่อให้เพื่อสมุนไพรกลับมาได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของสมุนไพรหนึ่งชนิดที่มีความน่าสนใจและมีสรรพคุณในการสมานแผลได้เป็นอย่างดี นั่นคือ “ตรีชวา” สมุนไพรที่เคยปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่ใช้รักษาอาการบาดเจ็บของพระลักษณ์ ที่ถูกหอกโมกขศักดิ์ของฝ่ายยักษ์ ปักเข้าที่กลางหน้าออก ขณะที่ออกรบจนบางตาย แต่ก็รอดมาตายมาได้เพราะใช้ “ตรีชวา” ในการรักษาบาดแผลภาพถ่ายโดยผู้เขียน“ตรีชวา” เป็นพืชไม้พุ่ม มีกิ่งและลำต้นเล็ก แตกออกเป็นออกเป็นพุ่มเป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่วๆ ไปทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ลักษณะรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวบาง ออกดอกเป็นช่อแท่งตั้งที่ปลายยอด เรียวแหลม กลีบสีขาวแซมเขียว แน่นตลอดช่อ แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมี 2 กลีบ ส่วนกลีบล่างมี 3 กลีบ ออกดอกได้ตลอดปี ลักษณะกลมขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย สีเขียว ไม่มีก้าน เมื่อแก่แตกได้ภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณ “ตรีชวา” สามารถใช้ ดับพิษทั้งปวง สมานบาดแผล ดังพิษโลหิต รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะปู่ของผู้เขียนเป็นผู้ที่ความรู้ด้านตำรายาสมุนไพร และมักจะหาพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เมื่อต้องการใช้ก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที เมื่อสมัยผู้เขียนเป็นเด็กก็จำได้ว่าปู่เคยเล่าเรื่องของ “ตีชวา” ให้ฟังเกี่ยวกับสรรพคุณที่สามารถใช้สมานแผลได้เป็นอย่างดี หากใครมีบาดแผลที่หายยากเมื่อใช้ “ตรีชวา” ช่วยรักษาก็จะหายเร็วขึ้น ครั้งหนึ่งมีเด็กวัยรุ่นข้างบ้าน ทะเลาะวิวาทกับคู่อริและถูกฟันเข้าที่ลำตัวเป็นแผลใหญ่ที่ลำตัว หลังจากไปเย็บแผลที่โรงพยาบาลแล้ว ปู่ก็นำส่วนของลำต้น ราก ใบและดอกของ “ตีชวา” มาตำจนแหลก พอกตรงแผลซึ่งก็ช่วยให้แผลตกสะเก็ดหายเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้การนำส่วนของลำต้นมาต้มดื่มก็ยังช่วยขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วยที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงสรรพคุณส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ ซึ่ง “ตรีชวา” ก็ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคอีกหลายอย่าง ซึ่งได้ผลดีไม่แพ้ยาแผนปัจจุบันและที่สำคัญไม่ทำให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะทำให้ทุกท่านหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับสมุนไพรมากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป ภาพถ่ายโดยผู้เขียน