กระบวนการ Design Thinking เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จนนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานให้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ บนโลกใบนี้ โดยมีหัวใจหลักของกระบวนการอยู่ที่ กลุ่มเป้าหมาย (Target) ในบางครั้งเราอาจเรียกว่า ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) นั่นก็คือ คนที่จะมาใช้ผลงานที่เราสร้างขึ้นจากกระบวนการนี้นั่นเอง (ผลงานไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือชิ้นงานเสมอไป แต่อาจอยู่ในรูปแบบ อื่น ๆ ก็ได้ เช่น campaign, application เป็นต้น)ลองจินตนาการตามกันนะว่า ถ้าเราสร้างสรรค์ผลงานอะไรบางอย่างขึ้นมา โดยที่เราชอบและรู้สึกว่ามันวิเศษมาก แต่ !!! ไม่มีใครเลยที่จะนำมันไปใช้งานและมองข้ามผลงานนี้ไป เจ้าผลงานนี้ก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไรและในทางธุรกิจ ก็ไม่สามารถทำกำไรได้ ดังนั้น จึงถือว่าผลงานนี้ ล้มเหลวก็ว่าได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จึงมีแนวคิดของกระบวนการ Design Thinking ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 ขึ้นตอน ดังนี้1. Empathize (การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย)ขั้นตอนของการ Empathize อาจเรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการ เพราะเป็นขั้นตอนที่เราจะต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก ปัญหาที่เราพยายามจะแก้ไขส่วนใหญ่ อาจไม่ใช่ปัญหาของเราเอง เราจึงยังไม่เข้าใจถึง ความเดือดร้อน ความคิด ความรู้สึกและการกระทำของผู้ประสบปัญหาจริง ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ควรจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สนใจให้ชัดเจน ไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป สำหรับวิธีการที่จะทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายนั้น ก็มีได้หลากหลายวิธี เช่น การลงพื้นที่ไปสังเกตการณ์ปัญหา การเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเผชิญปัญหาด้วยตนเอง การสัมภาษณ์ พูดคุย กับผู้ที่ประสบปัญหา เป็นต้น Photo by Aarón Blanco Tejedor on Unsplash 2. กำหนดประเด็นปัญหา (Define)การกำหนดประเด็นปัญหา คือ การสังเคราะห์ความเข้าใจจากขั้นตอนของการ Empathize ให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกของปัญหา (Insight) ซึ่งประกอบด้วย ช่องว่างและโอกาส (Gap/Opportunity) ไม่ใช่เพียงแต่ ความต้องการ (์Need) ของกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น โดย Insight จะสามารถนำไปออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงสำหรับเครื่องมือที่นิยมใช้เพื่อสังเคราะห์ให้ได้มาซึ่ง Insight ก็มีอยู่หลากหลาย เช่น Empathy Map, Root Cause Analysis, Journey Map เป็นต้นPhoto by Dallas Reedy on Unsplash3. Ideate (ระดมความคิด)เมื่อเราทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและสังเคราะห์จนได้ Insight ของปัญหาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา (Ideate) ซึ่งคำว่า Ideate มาจาก 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความคิด (Idea) รวมเข้ากับ ความสร้างสรรค์ (Create) กลายเป็น Ideate ดังนั้น หัวใจหลักในขั้นตอนนี้คือ การระดมความคิดหรือไอเดียการแก้ไขปัญหาจาก Insight ให้ได้มากที่สุด โดยมีข้อควรระวังคือ อย่าพึ่ง !!! ให้เหตุผลและตัดไอเดียใด ๆ ออก แม้ว่าไอเดียนั้นจะสุดโต่ง (Extreme) ขนาดไหนก็ตามไอเดียที่ Extreme มักจะนำมาซึ่ง นวัตกรรมใหม่ ๆ บนโลกใบนี้ เช่น ในปี ค.ศ.1886 Henry Ford ได้ผลิตรถยนต์คันแรกขั้นมาบนโลกใบนี้ ซึ่งในยุคนั้นใครจะคิดว่า จะมีการเดินทางด้วยเครื่องยนต์ เพราะทุกคนคุ้นชินกับการเดินทางด้วยม้าเป็นหลัก นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผลลัพธ์ที่ได้จาก InsightPhoto by Leon on Unsplashเมื่อเราได้ไอเดียการแก้ไขปัญหาจำนวนมากแล้ว ต่อไปคือการแบ่งประเภทของไอเดียออกเป็นหมวดหมู่ เช่น Application, Invention เป็นต้น จากนั้นจึงคัดเลือกไอเดียสำหรับการแก้ไขปัญหาที่จะตอบสนองต่อ Insight ของกลุ่มเป้าหมาย โดยวิธีการหนึ่งที่มักใช้กันคือ การสร้างตาราง Idea Selection โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนและนำไอเดียมาเรียงต่อกันทั้งหมด จากนั้นจึงลงคะแนนให้ทุกไอเดียด้วยเกณฑ์เดียวกัน ถ้าไอเดียใดได้คะแนนมากที่สุด แสดงว่านั่นคือไอเดียสำหรับการแก้ไขปัญหาของเรานั่นเอง4. Prototype (ผลงานต้นแบบ)หลังจากที่เราได้ไอเดียการแก้ไขปัญหาจากขั้นตอนของการ Ideate แล้ว ในขั้นตอนของ Prototype นี้ จะเป็นการนำเอาไอเดียการแก้ไขปัญหาที่ยังคงเป็นนามธรรม มาสร้างผลงานต้นแบบ (อย่างง่าย) ให้เกิดเป็นรูปธรรม จับต้องได้ โดยมีวัตถุประสงค์คือ สามารถแสดงถึง การใช้งานและลักษณะเฉพาะต่าง ๆ (Feature) ได้อย่างชัดเจน สำหรับหัวใจหลักของขั้นตอนนี้คือ การสร้าง Prototype ที่ ประหยัด ทำง่ายและได้ Feedback เร็วPhoto by Jo Szczepanska on Unsplash5. Test (ทดสอบผลงาน)ในขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำผลงานต้นแบบ (Prototype) ไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับ Feedback และกลับมาพัฒนาผลงานต้นแบบให้สมบูรณ์ สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการนำผลงานไปทดสอบ มักจะอยู่ในรูปแบบของการสัมภาษณ์ โดยนำผลงานต้นแบบไปให้ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้ เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์เสมือนได้ใช้ของจริงมากที่สุดเครื่องมือที่มักจะนำมาใช้เพื่อช่วยเก็บ Feedback คือ Feedback capture Grid และ Net Promoter Score (NPS)Photo by Carola Macarrilla on https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Designthinking.pngเมื่อเราสร้างผลงานต้นแบบที่สมบูรณ์แล้วจากกระบวนการทั้ง 5 นี้ ก็มั่นใจได้ว่า ผลงานของเราจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแน่นอน และพร้อมที่จะเริ่มต้นสู่ขั้นตอนต่อไป (Next Step) ในเรื่องการวางแผนทางธุรกิจสำหรับผลงานที่สร้างขึ้นในหัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึง Next Step กันให้มากขึ้น สำหรับการวางแผนทางธุรกิจด้วย Business Model canvas อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ Ref. ภาพหน้าปก ดัดแปลงผลงานของ Carola Macarrilla Creative Commons License CC-BY-SA-4.0 จาก https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Designthinking.png เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !