การเปลี่ยนผ่านสู่ "ยุคโลกเดือด"ทุกคนอาจจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนจากการประกาศของสหประชาชาติ (UN) ว่า "ยุคของภาวะโลกร้อน (Global Warming) สิ้นสุดแล้ว จากนี้ไปโลกเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling)" ซึ่งเป็นคำเตือนที่บอกว่า ภัยธรรมชาติในปัจจุบันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในภัยธรรมชาติที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุดภัยหนึ่งก็คือ "ปัญหาคลาดแคลนน้ำจากภัยแล้ง" ผลกระทบจากภัยแล้งปัญหาคลาดแคลนน้ำจากภัยแล้งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นและทำให้ระบบการหมุนเวียนของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลให้ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาลและปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยกว่าปกติซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา และจากการประกาศของ UN ที่กล่าวว่าโลกเข้าสู่ภาวะโลกเดือดนั้น ทำให้ปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งหมายความว่าในอนาคตข้างหน้า น้ำที่คนบางกลุ่มคิดว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่มากจะใช้สิ้นเปลืองขนาดไหนก็ได้ จะกลับกลายเป็นสิ่งที่คลาดแคลนจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของทุกคน โดยส่งผลต่อหลายภาคส่วนเป็นวงกว้าง เช่น ภาคการเกษตร ไม่มีน้ำใช้ในการปลูกพืช ส่งผลทำให้เกษตรกรขาดรายได้และปริมาณอาหารลดลงภาคอุตสาหกรรม บางอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม ถ้าขาดน้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบไปจะทำให้บริษัทนั้นเสียหายได้การอุปโภคและบริโภค น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ที่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดน้ำจะส่งผลต่อสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ นำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่จากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาลดลง จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำที่ใช้แล้ว ซึ่งน้ำที่ใช้แล้วคือ น้ำที่เราทิ้งไหลตามท่อน้ำทิ้ง เช่น น้ำที่เราใช้ซักผ้า น้ำที่ใช้ล้างจาน หรือแม้แต่น้ำที่เรากดชักโครก ทุกคนอาจคิดว่าน้ำประปาที่ผลิตมาจากน้ำสกปรกเหล่านี้นั้นไม่สะอาด ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ แต่อยากให้เปลี่ยนความคิดของทุกคนใหม่ว่าการใช้น้ำสกปรกสามารถทำให้เป็นน้ำสะอาดได้ โดยจะอธิบายหลักการให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้นำน้ำสกปรกเข้าไปในถังที่มีจุลินทรีย์อยู่ จุลินทรีย์เหล่านั้นจะกินสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำจนตัวใหญ่ขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ตัวใหญ่ขึ้นจนตัวหนักก็จะลงสู่ก้นถัง ทำให้ผิวน้ำด้านบนสะอาดขึ้น แต่อาจจะมีสิ่งที่จุลินทรีย์กินไม่ได้ลงเหลืออยู่น้ำที่มีสิ่งที่จุลินทรีย์กินไม่ได้เหลืออยู่ จะกำจัดโดยการนำน้ำผ่านเครื่องกรองที่เรียกว่า "เมมเบรน" ซึ่งมีรูขนาดเล็กมาก สามารถดักจับสิ่งที่หลงเหลืออยู่ในน้ำได้ หลังจากผ่านเมมเบรนอาจมีเชื้อโรคที่ตัวเล็กมาก ๆ หลุดผ่านออกมาได้ เราเลยใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคน้ำที่ผ่านกระบวนการข้างต้นจะเป็นน้ำที่สะอาดจนสามารถดื่มได้เลยทีเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำหรือน้ำบาดาลในการผลิตเลย หรือเรียกง่าย ๆ คือ "การรีไซเคิลน้ำ" นั่นเอง ปัญหาและความท้าทายการผลิตน้ำจากน้ำที่ใช้แล้วจำเป็นต้องรวบรวมน้ำที่ทุกคนทิ้งให้ได้มากที่สุดเพื่อความคุ้มค่าในการผลิต ซึ่งระบบในอุดมคติต้องรวบรวมน้ำทิ้งให้ได้ปริมาณเท่ากับน้ำประปาที่แจกจ่ายไป ดังนั้นพื้นที่ที่ต้องการผลิตน้ำประปาด้วยวิธีนี้จะต้องมีโครงค่ายน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมน้ำจากบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ไปยังโรงงานผลิตน้ำประปา ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนมหาศาล และมีค่าใช้จ่ายในการเดินระบบผลิตน้ำประปาอีกด้วย แต่ในอนาคตจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะน้ำแล้งอย่างแน่นอน ซึ่งมีประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของเราสามารถนำเทคโนโลยีการรีไซเคิลน้ำทิ้งมาใช้ได้แล้วนั่นคือ สิงคโปร์ ในโครงการ NEWater ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการน้ำภายในประเทศได้ถึง 40 เปอร์เซ็น จึงแสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำประปาจากน้ำทิ้งสามารถเป็นไปได้ ที่มาของภาพที่ 1 : ผู้เขียนที่มาของภาพที่ 2 : ผู้เขียนที่มาของภาพที่ 3 : ผู้เขียนที่มาของภาพที่ 4 : ผู้เขียนที่มาของภาพที่ 5 : ผู้เขียนที่มาของภาพหน้าปก : 后园 卓 จาก Pixabay และ WikiImages จาก Pixabay ติดตามข่าวสาร คอนเทนต์เด็ด ๆ ก่อนใคร อย่าช้า โหลดเลยที่ TrueID !!