แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 จำนวน 40 ข้อ พร้อมเฉลย บทนำ แนวข้อสอบ “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วนทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“พระราชกฤษฎีกากีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546” ไว้ในนี้แล้ว1.พระราชกฤษฎีกานี้ ให้ไว้ เมื่อใดก. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2546ข.วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546ค.วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2546ง.วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2546ตอบ ข.2.พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดก. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวันค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเก้าสิบวันง.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตอบ ก.3. คำว่า “ข้าราชการ” หมายถึงข้อใดก. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระ ราชกฤษฎีกาค.พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ค.4.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก. รัฐมนตรีข.นายกรัฐมนตรีค. รองนายกรัฐมนตรีง.รองรัฐมนตรีตอบ ข.5.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชนข.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐค.มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐง.ถูกทุกข้อ ตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์(6) ประชาชนได้รับการออำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ6.การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงข้อใดก. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศข.ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการค.มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ก.7. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนว ทางการบริหารราชการอย่างไรก. การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ข.การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตค.ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้านง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการ จะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนว ทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้(1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา ๗ และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถ ตรวจสอบได้และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น(3) ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสีย ให้ครบถ้วนทุกด้านกำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละ ขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะ ได้รับจากภารกิจนั้น(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจ ของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มี การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือ ระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อ ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย8.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ”ก. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจข.การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการค.ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วน ราชการปฏิบัติดังต่อไปนี้(1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้ เป็นการล่วงหน้า(2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของ ขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติ ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด (4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผล กระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบ นั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม9.การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินจัดทำเป็นแผนกี่ปีก. สามปีข.สี่ปีค.ห้าปีง.หกปีตอบ ข.10.ข้อใดเป็นสาระสำคัญในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินก. เป้าหมายข.ผลสัมฤทธิ์ของงานค.ผลประโยชน์ของงานง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข. ตอบ ง.11.เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติ ราชการประจำปีเสนอต่อใคร ก.นายกรัฐมนตรีข.คณะรัฐมนตรีค.กรมบัญชีกลางง.กระทรวงการคลังตอบ ข.12.ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความ รับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานให้ใครก. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการข.สำนักงบประมาณค.กรมบัญชีกลางง.ถูกทุกข้อตอบ ง.13.จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วน ราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใด สมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการ ในปีต่อไป ทั้งนี้ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดใครเป็นคนจัดทำก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติข.กรมบัญชีกลางค.คณะรัฐมนตรีง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ก.14.ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและ เที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงข้อใดก. ประโยชน์และผลเสียทางสังคมข.ภาระต่อประชาชนค.ประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการง.ถูกทุกข้อตอบ ง.15.ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติหรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาตอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้ง ผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอก. ภายในเจ็ดวันข.ภายในสิบสองวัน ค.ภายในสิบห้าวัน ง.ภายในสามสิบวัน ตอบ ค.16.การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำตามข้อใดก. สั่งด้วยวาจาข.ทำเป็นลายลักษณ์อักษรค.แจ้งที่ประชุมง.บันทึกข้อความตอบ ข.17.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ”ก. ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดข. ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม ค.ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้นๆ ง. ถูกทุกข้อ ตอบ ง.18.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การกระจายอำนาจของส่วนราชการ”ก. ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชนข.กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลการใช้อำนาจและความรับผิดชอบค.เผยแพร่ให้ประชาชนทราบง.ถูกทุกข้อตอบ ง.19.ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำอะไรบ้างก. แผนภูมิขั้นตอนข.การดำเนินการค.ระยะเวลาง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 29 ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและ ระยะเวลา การดำเนินการรวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้ ณ.ที่ทำการของส่วนราชการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได20.การยื่นคำร้องหรือคำขอต่อศูนย์บริการ หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แจ้งให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ทราบ เพื่อดำเนินการเสนอต่อใครก. เจ้าหน้าที่ราชการข.รัฐมนตรี ค.คณะรัฐมนตรี ง.หัวหน้าเจ้าที่ ตอบ ค.21.จัดให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือ ต่อเนื่องกันในจังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอนั้นร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ. ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชน ทราบ ข้อความขั้นต้นเป็นหน้าที่ของใครก. ผู้ว่าราชการข.นายอำเภอค.ปลัดอำเภอง.ถูกทุกข้อตอบ ง.22.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ “การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน”ก. เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามมาตรา ๒๗ ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการ กระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจและการลด ขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้ข.ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและ ระยะเวลา การดำเนินการรวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆค.ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความ จำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรีง.ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วน ราชการภายในกระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการ ร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใดตอบ ค.23.กรณี คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบ ดำเนินการอยู่สมควรเปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ให้เสนอต่อใครก. รัฐมนตรีข.คณะรัฐมนตรีค.นายกรัฐมนตรีง.คณะกรรมการนายกรัฐมนตรีตอบ ข.24.ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มี กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์หรือ สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความ สะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญข้อความขั้นต้น ให้ส่วยราชการนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากใครมาประกอบพิจารณาด้วยก. ข้าราชการข.พนักงานราชการค.ประชาชนง.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตอบ ค.25.ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือ บางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน กับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผล จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ ประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจากใครก. ข้าราชการข.คณะรัฐมนตรีค.ประชาชนง.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 34 ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือ บางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน กับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผล จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ ประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ26.ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อใครเพื่อพิจารณาวินิจฉัยก. ข้าราชการข.คณะรัฐมนตรีค.ประชาชนง.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการตอบ ข.27.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ”ก. ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความ จำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรีกำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์ข.ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มี กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์หรือ สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศค.ให้ส่วนราชการนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ของประชาชนมาประกอบการพิจารณาด้วยง. ถูกทุกข้อตอบ ง.28.ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละ งาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ข้อความขั้นต้นใครเป็นผู้ตรวจสอบข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดก. ผู้บังคับบัญชาข.ข้าราชการค.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ก.29.เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของ ส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วันก. เจ็ดวันข.สิบห้าวันค.สามสิบวันง.หกสิบวันตอบ ข.30.ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ระบบเครือข่ายสารสนเทศต้องจัดทำให้ระบบเดียวกับหน่วยงานใดก. กระทรวงการคลังข.กระทรวงกลาโหนค.กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารง.หน่วยงานราชการตอบ ค.31.ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผยข้อมูลใดก. ชื่อของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็นข.ที่อยู่ของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็นค.เบอร์ของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็นง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.32.ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนราชการอื่นใน เรื่องใด ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที ในกรณีที่ เห็นว่าการร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายในกี่วันก. เจ็ดวันข.สิบห้าวันค.สามสิบวันง.หกสิบวันตอบ ข.33.มาตรา ๔๓ การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้น แต่กรณีใดก. ความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศข.ความมั่นคงทางเศรษฐกิจค.การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนง.ถูกทุกข้อตอบ ง.34.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่าย แต่ละปี”ก. สัญญา ๆ ที่ ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ข.รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ค.ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้ เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาง. ถูกทุกข้อตอบ ง.35.ให้ส่วน ราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าใน ภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาที่ใคร กำหนดก. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการข.ผู้บังคับบัญชากำหนดค.คณะรัฐมนตรีกำหนดง.ข้าราชการกำหนดตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วน ราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าใน ภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กำหนด36.ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละ ระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นแบบใดก.ต้องเป็นความลับข.เพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของราชการค.ต้องเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 46 ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละ ระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับและ เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ37.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การประเมินผลการปฏิบัติราชการ"ก. ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการ บริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้น ในตำแหน่งที่ปฏิบัติประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการ ปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้นข.ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนดรวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงิน เพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของ ส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ ข้าราชการในสังกัดค.เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดำเนินการตาม แผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณ เหลือจ่ายของส่วนราชการนั้นง. ถูกทุกข้อตอบ ง.38.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้โดยอย่างน้อยต้องมีอะไรบ้างก. มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลด ขั้นตอนการปฏิบัติงานข.การอำนวยความสะดวกให้แก่ของประชาชนค.การตอบสนองความต้องการของประชาชนง.ถูกทุกข้อตอบ ง.39.จากข้อ 38 ให้เป็นหน้าที่ของใครดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์ก. กระทรวงมหาดไทยข.กระทรวงการคลังค.กระทรวงกลาโหนง.กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง40.องค์กรใดจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ก.มหาชนข.รัฐวิสาหกิจค.ประชาชนง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง. บทสรุป แนวข้อสอบ ข้อสอบ “พระราชกฤษฎีกากีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อยเกี่ยวกับ ข้อสอบ “พระราชกฤษฎีกากีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546” เช่น ความหมายต่างๆ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดย ปลาทู การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดย ปลาทู การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ โดย ปลาทู การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน โดย ปลาทู การยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการ โดย ปลาทู ภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !