9 วิธีเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง เพื่อเปลี่ยนตัวเอง แบบง่ายๆ | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล นิสัยของคนเรามีหลายอย่าง และว่ากันว่าสองอย่างที่ทำนายอนาคตแม่นกว่าหมอดู ก็คือ นิสัยและวินัยค่ะ เพราะนิสัยจะมาหล่อหลอมตัวตนที่เราเป็น และที่คนสองคนต่างกันนั้น นิสัยที่คนนั้นมีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคนในแบบที่เขาเป็นค่ะ โดยนิสัยของคนเรามีทั้งด้านบวกและด้านลบ และหากพูดถึงนิสัยผัดวันปรกันพรุ่ง หลายคนพอจะมองภาพออกแล้วว่า หากมีนิสัยนี้ชีวิตจะเป็นประมาณไหน จริงไหมคะ? จนทำให้หลายคนก็พยายามอย่างหนักที่จะหาแนวทางมากำจัดนิสัยนี้ออกจากชีวิต ที่ต้องบอกว่ามาถูกทางค่ะ เพราะในบทความนี้คือเนื้อหาเกี่ยวกับการกำจัดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งเลย ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านได้ลองอ่านให้จบและนำไปปรับใช้กับตัวเอง หรือจะนำไปบอกต่อกับคนรอบข้างที่มีนิสัยนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ได้เช่นเดียวกันค่ะ ดังนั้นอย่าช้าที่ลองทำความเข้าใจและนำไปเปลี่ยนตัวเองกันค่ะ และต่อไปนี้คือวิธีเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง เพื่อเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ 1. แบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยๆ การแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นเทคนิคที่ทรงพลังในการจัดการงานที่ดูใหญ่และซับซ้อน ให้กลายเป็นงานเล็กๆ ที่สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น ลองนึกภาพการกินปลาทั้งตัวดูซิคะ แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราแบ่งปลาออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยๆ กินทีละชิ้น ก็จะสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ก็เช่นเดียวกันเมื่อเห็นงานใหญ่ๆ ทั้งหมด เราอาจรู้สึกท้อแท้และไม่อยากเริ่มต้น แต่การแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยๆ จะทำให้เรามองเห็นความคืบหน้าได้ชัดเจนขึ้น และรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น การโฟกัสที่งานเล็กๆ ในแต่ละครั้ง ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิมากขึ้น และลดความผิดพลาดได้ เมื่อเรารู้ว่าแต่ละส่วนของงานต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ เราสามารถวางแผนเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ 2. กำหนดเวลาที่ชัดเจน การกำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับงานแต่ละส่วน เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เราสามารถจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เราทำงานได้เสร็จตามกำหนดเวลาที่วางไว้ค่ะ การมีกำหนดเวลาที่ชัดเจนจะช่วยให้เรารู้สึกว่าต้องรีบทำงานให้เสร็จ และหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อเรารู้ว่ามีเวลาจำกัดสำหรับงานแต่ละส่วน เราจะสามารถโฟกัสกับงานนั้นได้อย่างเต็มที่ และการวางแผนล่วงหน้าและทำงานตามตารางเวลา จะช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการเร่งรีบทำให้งานเสร็จทันเวลา 3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเอาชนะนิสัยผัดวันประกันพรุ่งค่ะ การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานนั้นสำคัญมาก เพราะมันส่งผลโดยตรงต่อความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพ และความสุขในการทำงานของเราค่ะ โดยควรจัดระเบียบพื้นที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย กำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปให้หมด เพื่อลดความยุ่งเหยิงและเพิ่มสมาธิ แบ่งเอกสาร อุปกรณ์ หรือไฟล์ต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ที่เข้าใจง่าย มีต้นไม้เล็กๆ หรือภาพธรรมชาติที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและเพิ่มพลังงาน เลือกแสงสว่างที่นุ่มนวลและสบายตา ควบคุมอุณหภูมิในห้องให้รู้สึกสบายตัว ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ปิดการแจ้งเตือนจากโซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็น และนั่นคือตัวอย่างของการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานค่ะ 4. ให้รางวัลตัวเอง การให้รางวัลกับตัวเองเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เราอยากทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงานที่ยากหรือไม่น่าสนใจ การตั้งรางวัลให้กับตัวเองเมื่อทำงานเสร็จสิ้น จะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะก้าวข้ามความขี้เกียจและความกลัวที่จะเริ่มต้นค่ะ และเคล็ดลับในการเลือกรางวัลให้กับตัวเอง เช่น รางวัลต้องตรงใจ: เลือกรางวัลที่เราอยากได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นของที่ชอบ กิจกรรมที่สนใจ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ขนาดของรางวัลต้องเหมาะสม: รางวัลไม่จำเป็นต้องใหญ่โตเสมอไป แค่เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีและมีความสุขก็เพียงพอแล้ว เชื่อมโยงกับความสำเร็จ: รางวัลควรมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายหรืองานที่เราทำสำเร็จ เพื่อให้เรารู้สึกว่าความพยายามของเราคุ้มค่า หลีกเลี่ยงรางวัลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น อาหารขยะ หรือการใช้จ่ายเกินตัว 5. บอกคนอื่นเกี่ยวกับเป้าหมาย การบอกคนอื่นเกี่ยวกับเป้าหมายของเราในการเลิกผัดวันประกันพรุ่ง เป็นวิธีที่ดีในการสร้างแรงกดดันในเชิงบวก และได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้างค่ะ เพราะว่าการบอกเป้าหมายให้คนอื่นฟัง จะทำให้เรารู้สึกมีแรงกดดันที่จะต้องทำตามที่พูดให้ได้ ที่ในบางครั้งการมีคนคอยติดตามความคืบหน้า จะช่วยให้เรามีความรับผิดชอบมากขึ้นด้วยนะคะ 6. เริ่มต้นด้วยงานที่ยากที่สุดก่อน การเริ่มต้นด้วยงานที่ยากที่สุดก่อน เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการต่อสู้กับนิสัยผัดวันประกันพรุ่งค่ะ เพราะเมื่อเราเอาชนะงานที่ยากที่สุดไปได้ตั้งแต่เริ่มต้น ความรู้สึกสำเร็จและภาคภูมิใจในตัวเองจะเกิดขึ้นทันที ทำให้เรามีแรงบันดาลใจและความมั่นใจที่จะทำงานต่อในส่วนที่เหลือ ในขณะที่การปล่อยให้งานยากค้างคาอยู่จะทำให้เรารู้สึกกังวลและเครียดอยู่ตลอดเวลา การเริ่มต้นทำมันไปเลยจะช่วยลดความกังวลเหล่านี้ลงได้นะคะ การเลื่อนงานยากออกไปเรื่อยๆ จะทำให้เราสูญเสียเวลาและโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย การเริ่มต้นทำตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เราสามารถส่งงานได้ตรงเวลาและหลีกเลี่ยงความเครียดจากการเร่งรีบในภายหลัง ซึ่งการฝึกฝนตัวเองให้เริ่มต้นด้วยงานที่ยากที่สุด จะช่วยสร้างวินัยในการทำงานและทำให้เราสามารถจัดการกับงานที่ยากลำบากได้ดีขึ้นในอนาคต 7. หลีกเลี่ยงการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เมื่อเราโฟกัสไปที่งานเดียวในแต่ละช่วงเวลา สมองของเราจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องเสียสมาธิไปกับการสลับไปมาระหว่างงานหลายอย่าง ซึ่งจะทำให้เราทำงานเสร็จเร็วขึ้นและได้คุณภาพที่ดีขึ้น การทำงานหลายอย่างพร้อมกันจะทำให้เรารู้สึกท่วมท้นหรือรับมือไม่ไหว ทำให้เกิดความเครียดและกังวล การโฟกัสที่งานเดียวจะช่วยลดความเครียดและทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น การทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจทำให้เราพลาดรายละเอียดสำคัญหรือทำผิดพลาดได้ง่าย การโฟกัสที่งานเดียวจะช่วยลดความผิดพลาดและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ เมื่อเราสามารถทำงานเสร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เรารู้สึกภูมิใจในตัวเองและมีความสุขกับงานที่ทำมากขึ้นค่ะ 8. ฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการช่วยให้เราเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ การฝึกสมาธิทำให้จิตใจของเราสงบและสามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานานขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่หลงไปกับสิ่งรบกวนต่างๆ เมื่อเราฝึกสมาธิ เราจะสามารถสังเกตความคิดของตัวเองได้อย่างชัดเจนขึ้น ทำให้เราสามารถควบคุมความคิดที่ทำให้เราอยากผัดวันประกันพรุ่ง เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล หรือความเบื่อหน่ายได้ดีขึ้น การฝึกสมาธิช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของจิตใจและอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น ทำให้เราสามารถรับมือกับอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และไม่ปล่อยให้อารมณ์เหล่านั้นควบคุมพฤติกรรมของเรา การฝึกสมาธิช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดในร่างกาย ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น เมื่อเราสามารถควบคุมจิตใจและอารมณ์ของตัวเองได้ เราจะรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ 9. อย่ากังวลเรื่องความสมบูรณ์แบบ การที่เราไม่กังวลเรื่องความสมบูรณ์แบบมากเกินไปนั้น เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เราเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งได้ค่ะ เพราะเมื่อเรามัวแต่กังวลว่างานจะต้องออกมาสมบูรณ์แบบทุกอย่าง ทำให้เรากลัวที่จะเริ่มต้นและกลัวที่จะทำผิดพลาด ซึ่งความกลัวเหล่านี้เองที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้เราลงมือทำอะไรเลย เมื่อเราไม่ต้องกังวลว่าผลลัพธ์จะต้องออกมาสมบูรณ์แบบ ความกดดันที่เราแบกรับอยู่ก็จะลดลง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและพร้อมที่จะเริ่มต้นทำงานได้มากขึ้น การที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่กับกรอบของความสมบูรณ์แบบ จะเปิดโอกาสให้เราได้คิดไอเดียใหม่ๆ และสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อเราไม่มัวแต่แก้ไขงานให้สมบูรณ์แบบทุกขั้นตอน เราจะสามารถทำงานได้เร็วขึ้นและส่งงานทันตามกำหนดเวลา การที่เราไม่ต้องกังวลมากเกินไป จะทำให้เรารู้สึกสนุกกับการทำงานมากขึ้น และไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้นจำไว้ว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบได้ทั้งหมดค่ะ และนั่นคือแนวทางที่สามารถใช้ได้ เพื่อเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ ด้วยการหันมาเลิกเสพติดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งค่ะ โดยนิสัยนี้เราไม่ได้พูดถึงแค่เรื่องการทำงานเท่านั้น การผัดวันประกันพรุ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอย่างในชีวิตของเรา และนิสัยไม่เหมือนแขนขาที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องถูกสร้างขึ้นจึงจะมีนิสัยที่หันมาเอาจริงเอาจังกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือจะพูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านคือ เลิกพูดคำว่าเดี๋ยว แต่ให้หาวิธีการมาลงมือทำทันที เพราะการลงมือทำคือคำตอบค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะเลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งไปตลอดชีวิตค่ะ และเทคนิคต่างๆ ผู้เขียนก็ได้นำเสนอไว้แล้วข้างต้นนะคะ โดยหลายข้อในนี้ผู้เขียนนำมาใช้ตลอดค่ะ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือในบ้านทุกจุด ที่จะมาสนับสนุนให้เราเป็นคนกระตือรือร้นและอยากลงมือมากขึ้น การใช้แอปต่างๆ มากำหนดสิ่งที่ต้องทำ ผู้เขียนก็ได้ทำค่ะ และปกติจะปิดการแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ ที่บางทีก็วางไว้คนละจุดเลย ไม่ทำหลายอย่างพร้อมกันค่ะ ตอนหลังมาเทคนิคพยายามทำตลอด ที่ก็เคยสังเกตตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้มีนิสัยผัดประกันพรุ่งค่ะ โดยก็ได้เคล็ดลับทั้ง 9 ข้อในบทความนี้ช่วยเอาไว้ค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการเริ่มต้น แม้ว่าจะทำได้เพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน แต่ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอนค่ะทุกคน ยังไงนั้นคุณผู้อ่านลองนำไปปรับใช้กับตัวเองดูค่ะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปก โดย Ketut Subiyanto จาก Pexels ภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1-2 โดยผู้เขียน, ภาพที่ 3 โดย olia danilevich จาก Pexels และภาพที่ 4 โดย Andrea Piacquadio จาก Pexels ออกแบบภาพหน้าปกโดยผู้เขียนใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ติดต่อผู้เขียน: บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน https://news.trueid.net/detail/PAMlpd0eM1Lq https://news.trueid.net/detail/B3V2B4PPr5p3 https://news.trueid.net/detail/vL4j37ed25Ep เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !