7 พืชที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ พืชที่ดูดซับสารพิษในน้ำได้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ประเทศไทยมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความจำเพาะเจาะจงว่าอาศัยหลักการไหนในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์และระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง มีความจำเป็นที่ผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียต้องหาพืชน้ำมาใส่ในหน่วยบำบัดน้ำเสีย ดังนั้นจึงต้องรู้ว่ามีพืชน้ำชนิดไหนอีกบ้างที่มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้หากจะพูดว่าพืชที่มีความสามารถดูดซับสารพิษในน้ำได้ คือ พืชที่สามารถบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้นได้คงจะไม่ผิด น้ำเสียดีขึ้นได้จากการดูดซับสารพิษผ่านทางรากของพืช สารพิษที่พืชชนิดหนึ่งดูดซับได้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบที่พิษสามารถดูดซับได้ หมายความว่า หากนำพืชที่มีความสามารถบำบัดน้ำเสียไปใส่ไว้ในหน่วยที่มีสารพิษที่อยู่ในรูปที่พืชดูดซับไม่ได้ พืชก็จะตายและแทนที่น้ำเสียจะดีขึ้นกลับทำให้น้ำเสียหนักขึ้นไปอีก!จากที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสียมานั้น พบว่า มีพืชจำนวนหลายชนิดสามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียได้ค่ะ ทั้งนี้การประยุกต์ใช้พืชชนิดไหนในการบำบัดน้ำเสียส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของหน่วยบำบัดและระดับความลึกของน้ำในบ่อ และพืชในระบบบำบัดน้ำเสียจะดูดซับสารอินทรีย์ในน้ำเสียจึงทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้น โดยต่อไปนี้คือตัวอย่างของพืชที่มีความสามารถบำบัดน้ำเสียได้ค่ะ1. ผักตบชวาผักตบชวานั้นมักเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าผักตบชวาสามารถหาได้ง่ายตามห้วย หนองคลองบึงตามธรรมชาติ การนำผักตบชวามาใช้ควรนำผักตบชวาที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว สามารถสังเกตได้จากลักษณะของใบและต้นจะต้องไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การนำผักตบชวามาบำบัดน้ำเสียจะต้องมีแพลอยน้ำกั้นผักตบชวาไม่ให้กระจายออกไปเจริญเติบโตทั่วทั้งพื้นที่ของบ่อ เพราะถ้าไม่มีแพกั้นจะทำให้การเก็บผักตบชวาออกจากบ่อทำได้ค่อนข้างยากลำบากค่ะจากที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์ในการออกแบบและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียมานั้น พบว่า ผักตบชวาที่อ่อนเกินไปมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียน้อย โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่นำผักตบชวามาใส่ในระบบบำบัดน้ำเสีย จึงอาจพบว่าคุณภาพน้ำทิ้งในบางพารามิเตอร์อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ในทำนองเดียวกันหากนำผักตบชวาที่แก่เกินไปมาใส่ในระบบบำบัดน้ำเสีย ก็จะพบว่าความสามารถในการบำบัดน้ำเสียลดลงด้วยเหมือนกันค่ะ แถมผักตบชวาที่แก่เกินไปนี้ยังส่งผลให้คุณภาพน้ำในหน่วยบำบัดนั้นมีสารอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นด้วยการจากเน่าเปื่อยของผักตบชวาที่แก่เกินไป 2. ต้นธูปฤาษีกกอื่นๆ เช่น กกกลม กกสามเหลี่ยมหรือกกอียิปต์ก็สามารถนำมาใช้ได้ค่ะ แต่เนื่องจากธูปฤาษีได้รับความนิยมและหาได้ง่ายมากกว่าจึงพบว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์จะปลูกธูปฤาษีกันค่ะ ธูปฤาษีสามารถดูแลได้ง่าย ปลูกครั้งแรกก็สามารถทิ้งไว้ให้ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้เองค่ะ การนำธูปฤาษีมาใช้ในช่วงแรกในบึงประดิษฐ์จะพบว่าธูปฤาษีจะยังไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ค่ะ ต้องรอไปจนกว่าธูปฤาษีจะเจริญเติบโตและแข็งแรงดีก่อน ผู้ดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียสามารถใช้ธูปฤาษีปลูกลงในบึงประดิษฐ์ทั่วทั้งพื้นที่บ่อได้ โดยไม่มีความจำเป็นต้องทำเขตกั้นการเจริญเติบโตค่ะ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ผ่านมานั้นถ้าเลือกใช้ธูปฤาษีมาเป็นพืชในการบำบัดน้ำเสีย ในช่วงแรกที่รอให้ธูปฤาษีเจริญเติบโตนั้น มีความจำเป็นต้องเพิ่มการเติมอากาศให้กับระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องเติมอากาศค่ะ3. แหนเป็ดเล็ก แหนเป็ดเล็กเป็นวัชพืชลอยน้ำขนาดเล็กค่ะ การใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียจะมาจาก 2 ส่วน คือ อย่างแรกเป็นแหนเป็ดเล็กที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ กับสองคือผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียไปตักหรือช้อนมาจากที่อื่นมาใส่ในระบบบำบัดน้ำเสียค่ะ จากที่ผู้เขียนได้เคยเห็นมานั้นโดยส่วนใหญ่แหนเป็ดเล็กจะเกิดขึ้นเอง เนื่องจากว่าในน้ำเสียมีสารอินทรีย์จำนวนมาก จึงที่ไปส่งเสริมให้แหนเป็ดเล็กเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ แต่จะพบมากในบ่อผึ่งที่มีน้ำนิ่งค่ะแหนเป็ดเล็กสามารถขยายพันธุ์และมีจำนวนมากอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น โดยผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียมีความจำเป็นที่จะต้องช้อนแหนเป็ดเล็กออกจากผิวน้ำและนำไปกำจัดค่ะ เพราะถ้าไม่ทำจะทำให้แหนเป็ดเล็กตายและเน่าเปื่อยลงในน้ำเสีย และก็จะพบว่าน้ำเสียมีสารอินทรีย์เพิ่มขึ้นมาด้วย แหนเป็ดเล็กมีอายุสั้น ในช่วงหน้าร้อนสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว การตักแหนเป็ดเล็กเพื่อนำไปกำจัดนี้ยังทำให้ผิวน้ำมีช่องว่างเพื่อให้แสงแดดส่งลงไปในชั้นของผิวน้ำได้ด้วยค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง ไม่มีความจำเป็นต้องทำแพกั้นแต่ต้องตักแหนเป็ดเล็กออกให้สม่ำเสมอค่ะ4. ต้นข้าวโดยส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนพบเห็นมานั้น ต้นข้าวจะถูกปลูกในบึงประดิษฐ์ค่ะ การนำต้นข้าวมาใช้ก็ทำคล้ายกันกับการทำนาปักดำค่ะ ต้นข้าวจะมีความสามารถบำบัดน้ำเสียได้ก็ต่อเมื่อเจริญเติบโตได้ดีในระบบบึงประดิษฐ์แล้วค่ะ ปกติจากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้นผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียจะปลูกต้นข้าวร่วมกับพืชที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ชนิดอื่น เช่น กกอียิปต์ ต้นข้าวในบึงประดิษฐ์มักจะไม่ออกรวง เนื่องจากในน้ำเสียมีไนโตรเจนค่อนข้างสูง ก็คล้ายกันกับชาวนาที่ใส่ปุ๋ยยูเรียมากข้าวก็จะไม่ออกรวงค่ะ5. ต้นตาลปัตรฤาษีตาลปัตรฤาษีสามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียได้ในบึงประดิษฐ์ เนื่องจากว่าต้องปักดำต้นอ่อนของตาลปัตรฤาษีลงไปในดิน จึงจะไม่สามารถใช้ได้ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง การใช้ตาลปัตรฤาษีไม่จำเป็นต้องทำแนวกั้นการเจริญเติบโต แต่ส่วนใหญ่มักปลูกตาลปัตรฤาษีที่มุมของแปลงบึงประดิษฐ์ เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บออกค่ะ ตาลปัตรฤาษีมีมวลชีวภาพน้อยเมื่อเทียบกับผักตบชวา เมื่อมวลชีวภาพน้อยกว่าความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก็ถูกจำกัดด้วยค่ะ จึงพบว่าผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียจะเลือกใช้ตาลปัตรฤาษีในบึงประดิษฐ์ และเพิ่มการปลูกผักตบชวาในบ่อผึ่งร่วมด้วย และโดยส่วนใหญ่ผู้เขียนก็พบว่าตาลปัตรฤาษีจะไม่ถูกปลูกในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเดี่ยวๆ ค่ะ 6. ต้นเตยหอมการปลูกเตยหอมในบึงประดิษฐ์มีความเป็นไปได้ค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผู้ดูแลระบำบัดน้ำเสียปลูกเตยหอมไว้เพียงด้านข้างของบึงประดิษฐ์เท่านั้น และต้นเตยหอมมักถูกนำมาปลูกเพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับพืชชนิดอื่น เช่น ผักตบชวาหรือจอกผักกาดค่ะ ต้นเตยหอมปลูกง่ายแต่เหมือนเดิมคือในช่วงที่ยังไม่เจริญเติบโตดี ความสามารถในการบำบัดน้ำเสียจะยังน้อยค่ะ ดังนั้นจึงต้องปลูกต้นเตยหอมร่วมกับพืชชนิดอื่นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าที่มีระยะเวลาในการปลูกที่เท่ากันร่วมด้วย7. จอกผักกาด จอกผักกาดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่สามารถดูแลได้ง่ายค่ะ แต่ยังมีความจำเป็นต้องทำแพกั้นขอบเขตการเจริญเติบโตของจอกผักกาด ที่ผู้เขียนได้เคยเห็นมานั้นจอกผักกาดสามารถนำไปใส่ไว้ในบ่อผึ่งได้แต่ต้องมีแพกั้น สำหรับการปลูกจอกผักกาดในบึงประดิษฐ์ก็ยังทำได้เหมือนกันค่ะ ในบึงประดิษฐ์มีข้อดีตรงที่ว่าไม่ต้องทำแพกั้นก็ได้ โดยเฉพาะบึงประดิษฐ์ที่มีขนาดของแปลงไม่ใหญ่มากจอกผักกาดในบางที่ๆ ผู้เขียนได้ไปตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียมานั้น ส่วนหนึ่งผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียเลือกใช้เฉพาะจอกผักกาดเท่านั้น แต่ในหลายๆ ที่ผสมผสานการใช้จอกผักกาดร่วมกับพืชชนิดอื่นค่ะ แต่ผู้เขียนพบว่าในสองสถานการณ์ก็สามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าตัวอย่างพืชทั้งหมดในบทความนี้จะมีความสามารถบำบัดน้ำเสียได้ แต่ก็ยังมีข้อที่ต้องพิจารณา ดังต่อไปนี้พืชที่สามารถบำบัดน้ำเสียในระบบต้องอยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว เพื่อประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุดการเก็บพืชบำบัดน้ำเสียออกจากระบบยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่พืชบำบัดน้ำเสียเริ่มแก่ในบางครั้งจะมีโรคพืชระบาด จึงอาจพบว่าพืชบำบัดน้ำเสียบางชนิด เช่น จอกผักกาดตายลงพร้อมกัน ในสถานการณ์นี้พืชบำบัดน้ำเสียจะด้อยประสิทธิภาพลง ดังนั้นผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียมีความจำเป็นต้องไปเพิ่มการเติมอากาศจากเครื่องเติมอากาศ หากไม่มีเครื่องเติมอากาศมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือเลือกใช้พืชชนิดอื่นแทนเพื่อมาบำบัดน้ำเสียค่ะผู้เขียนพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียด้วยพืชนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของพืชและปริมาณของพืชบำบัดน้ำเสียระบบ ผู้ดูแลระบบมีความจำเป็นต้องรู้ว่าปริมาณของพืชบำบัดน้ำเสียในระบบของตัวเองต้องมีเท่าไหร่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในคู่มือดูแลระบบบำบัดน้ำเสียหรือสอบถามจากผู้ดูแลและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียค่ะและผู้เขียนก็ยังพบอีกว่า ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีพืชหลากหลายชนิดมากกว่ามักพบว่ามีความอ่อนไหวน้อยกว่า หมายความว่า เวลาพืชชนิดหนึ่งตายไปพร้อมกันหรือมีโรคพืชระบาด เรายังมีพืชชนิดอื่นที่ทำหน้าที่ในการบำบัดน้ำเสียให้เราอย่างต่อเนื่องค่ะจึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ได้ลองเลือกใช้พืชชนิดอื่นที่มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียดูบ้าง อย่างก็ดีผู้แลระบบบำบัดน้ำเสียยังมีความจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพืชแต่ละชนิดโดยละเอียด โดยเฉพาะจากการสังเกตการเจริญเติบโตของพืชชนิดหนึ่งด้วยตาเปล่า หากพบว่าพืชในระบบบำบัดน้ำเสียแก่แล้ว ก็ไม่ควรละเลยที่จะเก็บพืชออกจากระบบและนำไปกำจัดให้เหมาะสมค่ะเครดิตภาพประกอบบทความจาก: ผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaถ่ายภาพโดยผู้เขียนบทความอื่นที่น่าสนใจ✳️ระบบรวบรวมน้ำเสียชุมชน และสาเหตุของการอุดตันของท่อระบายน้ำเสีย อ่านเลย!แหนเป็ดเล็ก คืออะไรในทางสิ่งแวดล้อม ฉบับอ่านเข้าใจง่าย ดูเพิ่มเติม!ทำไมต้องเติมอากาศให้กับน้ำ การเติมอากาศให้กับน้ำมีความสำคัญอย่างไร อ่านเลย!7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์