ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นเรานั้นได้อยู่อาศัยในสถานที่ใดที่หนึ่งและมีปฏิสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันกับคนอื่น ๆ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็นการที่เราไปเรียนที่โรงเรียนเราก็ไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานที่คือโรงเรียนหรือเพื่อนหรือครูผู้ที่สอนเรา เราก็ต้องพูดคุยทำบางอย่างหรือสื่อสารด้วย สิ่งที่เราทำอยู่นี้เรียกว่าอะไรบ้างที่เราอาจจะไม่เคยคิดสงสัย เพราะเราทำจนชินแล้ว สิ่งนี้เรียกว่าความสัมพันธ์ดดยที่ตัวเราเข้าไปทำกับระบบนิเวศหนึ่ง ๆ แล้วสงสัยไหมครับว่าระบบนิเวศคืออะไรเรื่องนี้เกี่ยวด้วยหรอไม่ใช่ว่าระบบนิเวศต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพวกพืชสัตว์หรอกหรอวันนี้ไม่หาคำตอบและคำอธิบายกันครับ ส่วนหนึ่งก็เป็นเนื้อหาสำหรับชั้นมัธยมต้นเนื้อหาและลายละเอียดก็สอดแทรกนะครับการอธิบายก็จะขออธิบายง่าย ๆ ให้เห็นชัดถึงความหมายของข้อมูลชันเจนครับระบบนิเวศ Ecosystemระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากความความจะเห็นได้ว่าเป็นการที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยและมีความสัมพันธ์แค่นี้ก็เรียกว่าระบบนิเวศแล้ว เพราะฉนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็เรียกได้ว่าอยู่ในระบบนิเวศ ระบบนิเวศแบ่งได้หลายแบบ โลกคือระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่าโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) เพราะบนโลกมีความสัมพันธ์อชที่หลากหลายของสิ่งมีชีวิตเพราะโลกเป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายเท่าที่ค้นพบในปัจุปันนั้นเองครับประชากร ( Population) คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง อย่างคนด้วยกันก็เรียกประชากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนจากที่ไหนเชื้อชาติไหนสีผิวอะไรก็เป็นประชากรมนุษย์เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธ์เดียวกันครับ ตัวอย่างเช่น สุนัขสีเขียว กับสีฟ้า เราก้ยังเรียกมันว่าสุนัขเหมือนกันไม่แบ่งแยกกลุ่มของสิ่งมีชีวิต (Community) คือสิ่งมีชีวิตสองชนิดขึ้นไปมาอาศัยอยู่ด้วยกันในที่ใดที่หนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ในที่หนึ่งมี สุนัข แมว กระต่าย เราก็เรียกพวกนี้ทั้งหมดรวมกันว่าสัตว์นั้นเองครับแหล่งที่อยู่ (Habitat) คือแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก ทั้งที่อยู่บนบกและในน้ำ เช่น ในทะเลสาบ ใต้ขอนไม้ผุ ทุ่งหญ้า ในป่า ลำคลอง อย่างมนุษย์ก็อาศัยอยู่ในบ้านเรือนเป็นต้นโครงสร้างของระบบนิเวศระบบนิเวศมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต หรือ ปัจจัยทางกายภาพ คือสิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น น้ำ ความร้อน แสง ดิน อากาศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นเราไปยื่นบนภูเขาแห่งหนึ่ง ในภูเขาก็มีสิ่งไม่มีชีวิตมากมาย เช่น พวกหิน หรือแสงแดด อากาศ ก็นับเป็นองค์ประกอบของสถานที่ที่เป็นภูเขาเช่นกันองค์ประกอบที่มีชีวิต หรือปัจจัยทางชีวภาพ คือสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งเป็น 1) ผู้ผลิต คือพืช และแบคทีเรียกบางชนิด ที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นสารอนินทรีย์ให้เป็นอาหารได้ 2) ผู้บริโภค สิ่งมีชีวิตที่ต้องบริโภคสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ได้แก่ ผู้บริโภคพืช ผู้บริโภคสัตว์ ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ และผู้บริโภคซากทั้งซากพืชและซากสัตว์ ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ได้แก่พวก เห็ด รา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ที่สามรถย่อยย่อย ซากพืช ซากสัตว์ เป็นอนินทรีย์สารได้ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศในการอยู่อาศัยรวมกันก็ต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ว่าจะเป็นด้านที่ได้หรือเสียประโยชน์หรือไม่ได้และไม่เสียเพื่อทำให้ตนเองอยู่รอด ถ้าไม่รอดก็ตาย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจึงเกิดขึ้น เขียนเครื่องหมายแทนความสัมพันธ์ได้ด้วยเครื่องหมายต่อไปนี้+ แทนความสัมพันธ์ที่อยู่ร่วมกันและได้ประโยชน์- แทนความสัมพันธ์ที่อยู่ร่วมกันแล้วเสียประโยชน์0 แทนความสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้ประโยชน์และไม่เสียประโยชน์ ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation )มีความสัมพันธ์แบบ +,- เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้ล่า + มีความแข็งแรง อีกฝ่ายถูกกินเป็นอาหาร เรียกว่า เหยื่อ - เช่นเสือกินกวาง สิงโตกินวัว นกกินแมลงภาวะล่าเหยื่อมีประโยชน์คือช่วยควบคุมประชากรให้มีความเหมาะสม ภาวะปรสิต ( Parasitism )มีความสัมพันธ์แบบ +,- เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์เรียกว่า ปรสิต + ซึ่งจะไปอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย - ซึ่งจะทำให้ผู้ถูกอาศัยเสียประโยชน์ เช่นพวกเห็บกับสุนัข กาฝากกับต้นไม้ พยาธิในตัวคน เป็นต้นภาวะพึ่งพากัน ( Mutuaism ) มีความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์จากการอยู่ด้วยกัน +,+ แต่เมื่อแยกจากกันจะตายทั้งคู่ เช่น ปลวกกับโพรโตซัวชนิด Trichonympha sp. ในลำใส้ของปลวกจะย่อยอาหารให้ปลวก ปลวกอาศัยโปรโตซัวย่อยเซลลูโลสไม้ที่กินเข้าไป เป็นต้นภาวะการได้ประโยชนืร่วมกัน (Protocooperation)มีความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์จากการอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย +,+ สามารถแยกจากกันได้ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่ตายลง เช่น ดอกไม้กับแมลง ดอกไม้ได้ประโยชน์จากการที่แมลงช่วยผสมเกสร แมลงได้น้ำหวานจากดอกได้ ภาวะอิงอาศัย ( Commensalism )มีความสัมธ์แบบ +,0 เป็นความสัมพันธ์แบบที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายแต่อีกฝ่ายก็ไม่เสียประโยชน์จากการอยู่ร่วมกัน เช่น ฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามคือปลาที่ว่ายน้ำไปกับฉลามหรือเกาะติดฉลามเพื่อรอกินเศษอาหารจากฉลาม เหาฉลามได้ประโยชน์ ฉลามไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ภาวะแก่งแย่งแข่งขัน ( Competition )มีความสัมพันธ์แบบ -, - ภาวะแก่งแย่งแข่งขันจะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตที่เหมือนกัน แต่ปัจจัยมีจำนวนจำกัดในบริเวณนั้น จำเป็นต้องแก่งแย่งกัน เช่น ต้นไม้ที่ใกล้กันแข่งกันเพิ่มความสูงเพื่อแย่งแสงแดดสำหรับใช้ในการสร้างอาหารภาวะเป็นกลาง (Neutarlism )มีความสัมพันธ์แบบ 0 , 0 เป็นการอยู่ด้วยกันที่ไม่มีฝ่ายไหนจากประโยชน์ เช่น นกกับกระต่ายอยู่ในทั้งหญ้า นกกินหนอนเป็นอาหาร กระต่ายกินหญ้าเป็นอาหารทั้งนกกับกระต่ายเพียงแค่อยู่ร่วมกัน จึงไม่มีฝ่ายใดหรือเสียประโยชน์ภาวะต่อต้าน ( Antibiosis )มีความสัมพันธ์แบบ 0 , - เป็นการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ฝ่ายหนึ่งมีอิทธิพลต่อฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายหนึ่งหลั่งสารมายับยังการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เช่น รานิซีเลียมหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบททีเรีย จากความสัมพันธ์ในระบบนิเวศนี้แสดงให้เห็นว่ามีเราอยู่ในระบบนิเวศทุกชีวิตล้วนมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่ว่าจะเป็นการทำให้ตัวเองได้ประโยชน์หรือเสียหรือไม่อย่างไรก็ตามโลกนนี้มีความสัมพันธ์อยู่จึงดำรงอยู่ต่อไปได้ครับ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธืในระบบนิเวศมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่อาจเรียนในเรื่องนี้กันนะครับ ซึ่งเนื้อหานี้เป็นเนื้อหาสำหรับนักเรียนมัธยมต้นด้วย สำหรับบทความนี้ผมก็คงต้องขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ครับข้อมูลโดยผู้เขียนบทความอื่น ๆ จากผู้เขียนชนเผ่าซูลูเกี่ยวข้องกับลูกเสือและพิธีรอบกองไฟอย่างไร?วนอุทยานแตกต่างจากอุทยานแห่งชาติอย่างไร?3 อนิเมะการ์ตูนผีสนุก แนวผี นักสืบ แฟนตาซี ต่อสู้แอ็คชัน มันส์จุใจ! รับชมได้บนทรูไอดีภาพเนบิวลาที่มีชื่อรูปร่างตํานานเกี่ยวข้องกับผีและวันฮาโลวีน#ฮาโลวีน2022ปกบทความออกแบบด้วย canvaขอบขอบคุณรูปภาพจากภาพที่ 1 : AlainAudet จาก Pixabayภาพที่ 2 : Inactive account – ID 3805058 จาก Pixabayภาพที่ 3 : Antranias จาก Pixabayภาพที่ 4 : Lekies จาก Pixabayอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !