รีเซต

5 แบงก์กับสถานะการเงิน ปี 2563

5 แบงก์กับสถานะการเงิน ปี 2563
TrueID
26 สิงหาคม 2563 ( 07:00 )
312
5 แบงก์กับสถานะการเงิน ปี 2563

ปี 2563 เป็นปีที่เจอมรสุมต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วอย่างไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้ทั้งประเทศเดือดร้อนอย่างหนัก นั้นก็คือ เศรษฐกิจการเงิน ทั้งของประชาชนและธนาคารต่าง ๆ อีกด้วย วันนี้ TrueID News ได้รวมกำไรแต่ละธนาคารไว้ให้แล้ว

 

กำไรไตรมาส 2 /2563 

ธนาคารกสิกรไทยไทยพาณิชย์กรุงศรีกรุงเทพกรุงไทย
กำไรสุทธิ2,1758,3606,5903,0953,829
เปลี่ยนจากไตรมาสแรก-70.50%-23%-7.1%-66%-53%
สำรองหนี้25,3789,7347,84513,23814,710
เปลี่ยนจากไตรมาสแรก+23.37%+64.7%+17.5%+138%+146%

(หน่วย : ล้านบาท)

 

จะเห็นได้ว่ากำไรจากธนาคารลดลงจากไตรมาสแรกอย่างชัดเจน โดยทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพมาก สําหรับไตรมาส 2 ปี 2563 ของหลายธนาคาร เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 รายได้ลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินใหสิ้นเชื่อและค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากเงินรับฝาก

 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์” เผย เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2563 ลดลงจากไตรมาสแรกของปี 2563 ร้อยละ 9.7 รวมครึ่งแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.9

     

โดยแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2563 คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-7.8) - (-7.3) เป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ (-6.0) - (-5.0) ในการประมาณการครั้งก่อน (ณ 18 พฤษภาคม 2563) โดยเศรษฐกิจทั้งปีมีข้อจำกัดจาก การปรับตัวลดลงมากของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ, ภาวะความถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก, ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ และปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 10.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 และร้อยละ 5.8 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.2) - (-0.7) และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.5 

 

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่า จะลดลงร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2562 และการลดลงร้อยละ 1.7 ในการประมาณการครั้งก่อนตามฐานรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่อยู่ในระดับต่ำกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ในช่วงครึ่งปีหลังตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค และการไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นท่ามกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและฐานรายได้อย่างช้าๆ และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 เท่ากับการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2562 สอดคล้องกับการคงสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้กรอบงบประมาณสำคัญ ๆ ไว้เท่ากับการประมาณการครั้งที่ผ่านมา

 

ขอบคุณข้อมูล : newsdatatoday, สภาพัฒน์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง