1.ชีววิทยา (Biology) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาชีวภาพ (Biologicalscience) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล วิชาชีววิทยาจึงหมายถึงการศึกษาทางธรรมชาติ โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน ของสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผลทำให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและตัวของมนุษย์ที่ร่วมระบบนิเวศเดียวกัน การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติ หรือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต (Natural of life) นอกจากนี้ชีววิทยายังเป็นวิชาที่เอาความรู้ในสาขาวิชาอื่นมาใช้ร่วมด้วย เช่น คณิตศาสตร์ สถิติ และ เคมี 2. การศึกษาชีววิทยา (study biology) เป็นกระบวนการ (process) ศึกษาความจริงในธรรมชาติ อย่างมีระเบียบแบบแผนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ (knowledge) โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นขั้นตอนที่ทำงานอย่างเป็นระบบ สรุปได้ดังนี้ 1. การสังเกต (observation) เป็นจุดเริ่มตันของการคันพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 2. การตั้งปัญหา (problem) ควรมีความกระทัดรัดและชัดเจน 3. การรวบรวมข้อมูล (Gather infomnation) โดยการดันคว้าเพิ่มเดิม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา 4. การตั้งสมมติฐาน (hypothesis) เป็นการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า โดยใช้เหตุผลประกอบ ซึ่งสมมติฐานที่ถูกตั้งขึ้นมาแล้วอาจจะถูกต้องหรือผิดภายหลังได้ แต่ต้องสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้ โดยสมมติฐานที่ดีควรเข้าใจง่าย มีแนวทางไปสู่การตรวจสอบ ตรวจสอบได้โดยการทดลอง และอยู่ในขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและปัญหาที่ตั้งไว้ ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน เช่น "ถ้า... ดังนั้น..." เป็นตัน 5. การตรวจสอบสมมติฐาน (testing the hypothesis) สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี เช่น 5.1 ทำการทดลอง (experiment) เป็นวิธีได้รับความนิยม เพราะสามารถวางแผนและควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องเรียกว่า ตัวแปร (variable) ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 5.1.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน จึงต้องกำหนดตัวแปรตันให้แตกต่างกันเพื่อดูผลที่ตามมา 5.1.2 ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ ตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามตัวแปรต้น ดังนั้นจึงเป็นตัวแปรที่ต้องเก็บค่าและบันทึกผลการทดลอง 5.1.3 ตัวแปรควบคุม (controlled variable) คือ ตัวแปรที่ส่งผลต่อการทดลอง จึงกำหนดให้เหมือนกัน เนื่องจากอาจทำให้การทดลองคลาดเคลื่อนหากไม่ควบคุม 5.2 ค้นคว้าจากเอกสารวิจัย (research) หรือบันทึกผลการทดลองที่เคยมีการศึกษาก่อนหน้า เป็นอีกวิธีการที่ได้รับความนิยม ซึ่งอาศัยประสบการณ์ในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำมาต่อยอด 6. การวิเคราะห์ และสรุปผล เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานด้วยวิธีการต่างๆ มาหาความสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อสรุป ซึ่งนำไปสู่ข้อเท็จจริงหรือคำตอบของปัญหา3. Knowledge เป็นผลที่ได้จากกระบวนการ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ 1. ข้อเท็จจริง (fact) คือ ความจริงที่ปรากฎในธรรมชาติ มักพบในขั้นตอนการสังเกตและถูกรวบรวมไว้ 2. ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงที่ถูกรวบรวมไว้ จากทั้งการสังเกตหรือการทดลอง โดยไม่ใส่ความคิดเห็นใด ๆ เพิ่มเข้าไป เพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียงหรืออคติ 3. ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบ หรือถูกพิสูจน์มาหลายครั้งจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้อธิบาย อ้างอิง ประยุกต์ หรือทำนายข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างของทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ และทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น 4. กฎ (law) คือ หลักการที่เป็นข้อเท็จจริงในตัวเอง เช่น กฎการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล (Mendel's law) และกฎของซาร์กาฟฟ์ (Chargaff's rules) เป็นต้น4. ทำไมเราถึงควรเรียนวิชาชีววิทยา? เมื่อผู้เขียนได้พิจารณาความหมายของวิชาชีววิทยาอย่างถี่ถ้วนแล้ว พบว่าชีววิทยาเป็นวิชาที่ทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาธรรมชาติทั้งมีและไม่มีชีวิตอย่างมีเหตุผล เป็นขั้นตอน มีระเบียบเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์หรือคำตอบของคำถามที่เราตั้งขึ้น และมีการนำความรู้ในวิชาอื่น ๆ มาประกอบเพื่อตอบคำถามได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามชีววิทยายังเป็นเพียงขอบเขตการศึกษากว้าง ๆ ที่ยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขาย่อยในหัวข้อที่ 5 โดยเราสามารถนำความรู้และกระบวนการการศึกษาชีววิทยามาเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในสาขาย่อยต่าง ๆ และสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับผู้เรียนได้ครับ5. สาขาต่างๆ ในวิชาชีววิทยาAnatomy กายวิภาคศาสตร์ (ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิต)Bacteriology แบคทีเรียวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย)Biochemistry ชีวเคมี (ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการเปลี่ยนแปลของสารชีวโมเลกุลในสิ่งมีชีวิต)Botany พฤกษศาสตร์ (ศึกษาเกี่ยวกับพืช)Cytology เซลล์วิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์)Ecology นิเวศวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน และสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม)Entomology กีฏวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับแมลง)Embryology คัพภวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต)Ethology พฤติกรรมศาสตร์ (ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์)Evolution วิวัฒนาการ (ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเปลี่ยนแปลของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน)Genetics พันธุศาสตร์ (ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายถอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต)Helminthology หนอนพยาธิวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับหนอนพยาธิชนิดต่างๆ)Icthyology มีนวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับปลา)Microbiology จุลชีววิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์)Morphology สัณฐานวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง โครงสร้างของร่างกาย)Mycology เห็ดราวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา)Ornithology ปักษีวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับนก)Phycology สาหร่ายวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับสาหร่าย)Physiology สรีรวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของอวัยวะในร่างกาย)Protozology โพรโทซัววิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับโพรโทซัว)Taxonomy อนุกรมวิธาน (ศึกษาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ การตั้งชื่อและการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต)Virology ไวรัสวิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส)Zoology สัตววิทยา (ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์)6. ชีววิทยาอยู่รอบตัวเราเสมอ สำหรับท่านใดที่ได้อ่านบทความทั้งหมดที่ผู้เขียนได้เขียนลงไปจนถึงตรงนี้ ผู้เขียนเองก็เชื่อว่าท่านจะเข้าใจความหมายของชีววิทยา เห็นถึงความสำคัญของการเรียนชีววิทยา และได้รับรู้มุมมองของผู้เขียนที่อยากถ่ายทอดต่อไปให้กับผู้อ่านทุกท่าน ขอให้ผู้อ่านได้นำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวท่านเองอย่างสูงสุด และรับรู้ไว้ตลอดว่าชีววิทยาอยู่รอบตัวเราเสมอครับภาพประกอบ ชีววิทยาคืออะไร? : https://www.canva.comการศึกษาชีววิทยา : https://www.canva.comKnowledge : https://www.canva.comทำไมเราถึงควรเรียนวิชาชีววิทยา? : https://www.canva.comสาขาต่างๆ ในวิชาชีววิทยา : https://www.canva.comชีววิทยาอยู่รอบตัวเราเสมอ : https://www.canva.comขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความของผู้เขียนนะครับ7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์