ผมเผยแพร่บทความเกี่ยวกับ “โลกเสมือน” อยู่หลายบทความ เพราะส่วนตัวมีความคิดเห็นว่า ในยุคที่ใกล้เข้ามานี้เราเกือบทุกคนต้องเผชิญ และอยู่ร่วมกับโลกเสมือน ทั้งแบบเต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ตามโดยเราทั้งหลายจะโดนหลอมรวมเข้ากับระบบแห่งโลกเสมือน แห่งระเบียบโลกยุคใหม่ ในยุคที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น ยุคแห่งการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร เพื่อเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลและข่าวสารเต็มรูปแบบ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า ‘อินฟอร์เทค’ (Information Technology)และเพื่อให้เราจะได้รู้จักรูปแบบของโลกเสมือนขึ้นมาอีกสักหน่อย ผมจึงอยากนำลักษณะและรูปแบบแพลตฟอร์มที่มีอยู่จริง และพอจะเป็นตัวอย่างให้เรียนรู้ได้มา ชวนอ่าน ชวนคิด ชวนคุย นั่นคือ “แคมฟร็อก” (Camfrog)จริงอยู่ที่ Metaverse ของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ออกตัว อย่างยิ่งใหญ่อลังการ และสร้างภาพแห่งโลกเสมือน ไว้แบบเบิ้มๆ แต่เวลาผ่านไปเกือบ 7 เดือน เอาเข้าจริงๆวันนี้ ถ้าให้คนทั่วไปอธิบายถึงคำว่า Metaverse คืออะไร? ก็ยังพากันจับต้นชนปลาย ชนยอดกันไม่ค่อยถูก ยังออกอาการสับสน ปน อลหม่านในความคิด และไม่เข้าใจกันอยู่เนืองๆผมจึงเลือกที่จะมาเรียนรู้ความเป็น “โลกเสมือน” จาก แพลตฟอร์ม ‘แคมฟร็อก’ เพราะอย่างน้อยผมยังมีความคุ้นชิน จนถึงเคยมีประสบการณ์ร่วม และ แคมฟร็อก ยังพิสูจน์ตัวเองในการยืนหยัดมาได้ ในกระแสแห่งโลกออนไลน์ได้อย่างเข็มแข็ง ในขณะที่แพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นมาในยุคเดียวกันนั่นได้ล้มหายตายจาก ไปเกือบหมด“แคมฟร็อก” (Camfrog) พัฒนาขึ้นมาและมี บริษัท แคมแชร์ (Camshare) เป็นเจ้าของ โดยผู้ใช้สามารถ แลกเปลี่ยนภาพจากเว็บแคม และเสียงผ่านทางอินเตอร์เน็ต โปรแกรมนี้สามารถใช้เป็นการประชุมออนไลน์ได้หลายคนพร้อมๆกันและแคมฟร็อก นั่นมีจุดเด่นที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มทั่วไปนั่นคือ ผู้ใช้สามารถที่จะใช้โปรแกรมบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองได้ ในปัจจุบันมีการใช้งานที่หลากหลาย และพัฒนาจนเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้อย่างสะดวกกิจกรรมมีทั้งการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด การแสดงวีดีโอหลากหลายทั้งการท่องเที่ยว กีฬา ภาษา วัฒนธรรม ฟังเพลง การเล่นเกมหรือแม้แต่การโชว์เซ็กซี่ และพฤติกรรมเพศออนไลน์!ทำไม “แคมฟร็อก” จึงเป็น โลกเสมือน ? เพื่อนๆ คงเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจว่าทำไมผมจึงคิดว่า แพลตฟอร์ม แคมฟร็อก นั่นเป็นโลกเสมือน และควรค่าที่จะศึกษา เพราะที่ผ่านมาภาพจำ ของ แคมฟร็อก นั่นค่อนไปทางแง่ลบ เนื่องจากข่าวเกี่ยวกับภาพ และไลฟ์สดที่เกิดขึ้นในแคมฟร็อก จะออกไปในทางลามก อนาจาร เปลือยกายล่อนจ้อน แต่ในการที่จะศึกษาเรื่องใดๆให้เห็นความแตกต่างจากแง่มุมเดิมๆ ผมอยากให้เปิดใจกว้างๆ เพราะ “ในดีมีเสีย และในเสียย่อมมีดี”ในการจะมองว่าลักษณะแบบไหนกันที่จะเรียกได้ว่า “โลกเสมือน” วิธีการที่พื้นฐานที่สุดคือการนำมาเทียบเคียงกับ “โลกจริง” ที่เป็นอยู่ สิ่งที่เทียบได้ชัดเจนคือ “ระบบสังคม” หากจะเรียกว่า ที่แห่งนั่นเป็นโลกเสมือนได้เต็มปาก ที่แห่งนั่น ย่อมต้องมี “ระบบสังคมเสมือน”(Virtual Society) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การจะให้คำนิยามคำว่า “ระบบสังคม” นั่นประกอบด้วยอะไรบ้าง คงจะถกกันอย่างไม่จบไม่สิ้น ผมจึงขอวางกรอบไว้แบบคร่าวๆ อาจจะดูตื้นเขิน และไม่ครอบคลุมในทุกมิติของสังคม แต่เพื่อจุดประสงค์ให้เห็นภาพแบบชัดเจน ไม่ยืดยาน เยิ่นเย้อจนเกินไป ผมจึงมองว่า สังคมนั่นประกอบไปด้วย คำ 3 ก. นั้นคือ “กิน กาม เกียรติ”ในระบบสังคมไม่ว่าจะโลกจริง หรือ โลกเสมือน ย่อมมี 3 คำนี้ ผสมปนเป ผูกรัด เชื่อมร้อยโยงใย จนแยกกันไม่ขาด เรามาพิจารณาดูว่า ในแพลตฟอร์ม แคมฟร็อก มี 3 คำนี้ปรากฏอยู่บ้างหรือไม่ ซึ่งถ้ามีตามนี้ก็อาจกล่าวได้ว่า แคมฟร็อก นั่นก็คือโลกเสมือน ที่เกิดขึ้นมาก่อน Metaverse ของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เสียอีก“กิน” ในที่นี้ไม่ได้หมายความตรงตัวแบบโต้งๆ โดยไม่ต้องตีความ แต่ผมกำลังให้คำนี้เป็นตัวแทน ของการบริโภค เศรษฐกิจ การตลาด และการเงิน ซึ่งสังคมจะขาดสิ่งนี้ไปไม่ได้แน่นอนสิ่งที่น่าสนใจ คือในแคมฟร็อก มีระบบพวกนี้อย่างชัดเจน ของที่เป็นแค่คลื่นสัญญาณดิจิตอล สามารถสร้างมูลค่าและซื้อขายกันด้วยเงินจริง ในราคาที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว เช่น เราสามารถจ่ายเงินเพื่อเพิ่ม “การส่อง” (คำที่ใช้แทนพฤติกรรมเปิดกล้องเข้าไปดูผู้ที่เราสนใจ) ผู้อื่นในหลายๆจอด้วยกัน หรือที่ ชาวกบ (คำที่ใช้เรียกคนที่อยู่ในสังคมแคมฟร็อก) รู้จักกันในชื่อ โค้ด 100 จอเพราะปกติเราสามารถส่องผู้อื่นได้ครั้งละ 1 จอเท่านั่น หรือ การจัดกิจกรรมโชว์พิเศษ ที่ผู้จ่ายเงินเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าถึงกิจกรรมพิเศษได้ หรือ การยิงโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจของตนเอง ผ่านหน้าห้องแชตรวมของห้องนั่นๆ ซึ่งย่อมมีค่าใช้จ่ายค่าการตลาดนั่นๆให้แก่เจ้าของห้องหรือบางทีเจ้าของห้องซื้อพื้นที่เซิร์ฟเวอร์มาจากบริษัทแม่ เพื่อมาทำการตลาดและหาประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบจากพื้นที่เสมือนดังกล่าวและยังมีอีกหลากหลายรูปแบบที่ถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจใน แคมฟร็อก ทั้ง การอัพเกรดไอดี การซื้อขายไอเทม จนถึงขั้นสามารถซื้อขายไอดีกันได้ ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนก็มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ทำไมมีคนมากมายยอมจ่ายเงินให้กับแค่คลื่นสัญญาณดิจิตอลที่ไม่มีตัวตนเหล่านี้ อาจเป็นเพราะว่า สิ่งไม่มีตัวตนเหล่านี้ ทำให้เขาเหล่านั่น มีตัวตนขึ้นมาในโลกอีกใบหนึ่ง นั้นเองตารางราคาไอเทม จาก camfrog18room.com และ camfrog-roomตัวอย่างเศรษฐกิจ ในแคมฟร็อกการซื้อขายไอเทม : มงกุฎ คบเพลิง เพชร โดยเราจะซื้อกี่อันก็ได้ยิ่งมีมากและนำมาติดที่ชื่อไอดีเรา จะได้สิทธิสถานะมีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆของห้องการซื้อขายชื่อไอดี : ถ้าเราตั้งชื่อไอดี มีตัวอักษรยิ่งน้อย ยิ่งสั้น ราคายิ่งแพง เพราะจะทำให้เราอยู่ในลำดับต้นๆของห้อง เช่น ชื่อ J จะแพงกว่า JPW เป็นต้นสีของชื่อ มีมูลค่าและราคาที่แตกต่างกัน เช่น ไอดีชื่อที่เป็นสีเขียว จะเล่นได้เพียง 1 ห้อง / สี ม่วง เล่นได้ 2 ห้อง พร้อมกัน / สีทอง(แพงสุด) เล่นได้ 5 ห้อง พร้อมกัน ซึ่งห้องที่แตกต่างกันเปรียบเหมือนต่างกลุ่มสังคมกัน และแต่ละห้องก็มีเจ้าของห้อง คนละคนกันด้วยการซื้อขายเครดิตเพื่อมาใช้ในระบบ หลักๆ มีอยู่ 2 วิธี คือซื้อจากเว็บส่วนกลางของระบบโดยใช้วิธีตัดจากบัตรเครดิต หรืออีกวิธีคือวิธีซื้อขายกันเองระหว่างผู้เล่นที่อยู่ในแคมฟร็อกการประกาศขายไอดี camfrog “กาม” ในที่นี้นอกจากความหมายเกี่ยวกับแง่มุมเรื่องเพศแล้ว ผมยังให้คำนี้แทนนิยามความหมายอื่นๆในสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นความลุ่มหลงและสิ่งเสพติด มัวเมา กิเลสตัณหา ความอยากได้อยากเป็น การนินทา และชมเชย ความสนุกสนาน ความหวาดระแวง ความจริงใจและหลอกลวง การเศร้าเสียใจ และดีใจ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอยู่ในระบบสังคมและแน่นอนเมื่อเรามาพิจารณา แคมฟร็อก แล้วก็จะพบสิ่งเหล่านี้ปรากฎอย่างเด่นชัด ไม่แตกต่างไปจากสังคมในโลกแห่งความจริงเลยเช่น แคมฟร็อก สามารถเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรสนิยมได้หลากหลายตอบสนองเรื่องกามารมณ์ ได้อย่างถึงพริกถึงขิง ไม่ว่าจะโชว์เซ็กซี่ สยิวหัวใจ โดยให้สรรพนามผู้หญิงที่มาโชว์ว่า “นางฟ้า” และให้สรรพนามผู้ชายว่า “พี่เทพ” และถ้ามีการโชว์คู่กิจกรรมแบบออนไลน์ ก็จะเรียกกันว่า “คู่เทพ” อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงเพศสภาพอื่นๆ ทั้งแบบชายรักชาย หรือหญิงรักหญิง แบบทั่วถึงในลักษณะที่คล้ายๆกันนี้ด้วย อีกส่วนที่น่าสนใจคือ แคมฟร็อก สามารถสร้างอารมณ์ร่วม ในรูปแบบกลุ่มได้เหมือนระบบสังคมจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าในห้องๆหนึ่งไม่ชอบผู้เล่นคนใด ผู้เล่นคนอื่นๆมักมีการพูดคุย และนินทากันแบบออนไลน์ และอาจมีปฏิกิริยาต่อผู้นั่นอย่างชัดเจนเช่น ถ้ามีคนเป้าหมายที่ในกลุ่มไม่ชอบ ล็อคอินเข้ามาในห้อง คนในกลุ่มก็จะทยอยออกจากห้องนั่น แล้วเปลี่ยนไปเล่นยังห้องอื่นแทน หรืออาจจะออฟไลน์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ไปเลยสิ่งผิดกฎหมาย การซื้อขายอาวุธ ยาเสพติด และบริการทางเพศ มีอยู่ใน แคมฟร็อก !! อาจจะมองว่าผมใส่ร้ายแพลตฟอร์มนี้เกินไปไหม แต่จริงๆแล้วนี้คือสิ่งที่ผมชอบที่สุดในการเรียนรู้ และได้สังเกตการณ์แคมฟร็อกเพราะลองคิดดูให้ดีๆ แบบนี้สิ คือสิ่งที่ไม่ใช่ภาพฝันแบบ Metaverse แบบนี้สิคือสิ่งที่โครตจะเรียล แบบนี้สิมันถึงจะเหมือนกับสังคมในโลกจริงอย่างที่เราใช้ชีวิตอยู่ มันต้องแบบนี้สิ!! ต้องมีสิ่งพวกนี้อยู่ถึงจะได้เรียกว่าเป็น “โลกเสมือน” ไม่ใช่โลกแห่งอุดมคติ“เกียรติ” ในทุกสังคม และทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา สิ่งที่ผมคิดว่าไม่มีอยู่จริงนั่นคือ “ความเสมอภาคที่แท้จริง” ในทุกยุคทุกสมัยลำดับชั้นของมนุษย์ไม่เคยจางหายไป เพียงแค่จะแสดงออกมาในรูปแบบใดแค่นั้นเองคำว่า “เกียรติ” ในที่นี้ผมให้เป็นตัวแทนของชนชั้น อำนาจ ผู้ควบคุมกฏ และตัวบทกฏเกณฑ์ การยอมรับ และสถานะทางสังคม ในสังคมเสมือน บนแคมฟร็อก แสดงรูปแบบลักษณะดังกล่าวออกมาได้อย่างน่าสนใจอย่างผู้ควบคุมกฎนั่นเป็น เจ้าของห้อง หรือแอดมินของห้องที่มีสิทธิที่จะเตะผู้เล่นหรือไอดีที่มาป่วนหรือมาสร้างความน่ารำคาญในห้องได้ แต่ก็ต้องจัดการอยู่บนหลักการและเหตุผลที่สมควรเพราะยามที่ลงโทษ ผู้ที่อยู่ในห้องก็สามารถเห็นได้ถึงการจัดการดังกล่าวด้วยหรือการให้อำนาจในการพูดหรือการยกไมค์ให้ผู้ใดพูดได้นั่นเป็นอำนาจและสิทธิขาด ของแอดมินหรือดีเจที่ทำได้ เนื่องจากแต่ละห้องนั่นผู้พูดออกเสียงไมค์ได้มีได้เพียงแค่ครั้งละ 1 คนเท่านั้น และผู้ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้จะได้รับการยอมรับจากสังคมในห้อง ว่าเจ๋ง ว่าคูล ว่าเท่ห์ หรือมีความสามารถ ก็แล้วแต่จะปลื้มกันไปทำให้สถานะของคนเหล่านั่นโดดเด่นยิ่งขึ้น และเป็นที่สนใจของคนอื่นๆที่ร่วมอยู่ในห้อง จนอยากรู้จักหรือมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ไม่แตกต่างจากในสังคมจริงที่เราอยากจะรู้จักหรือสร้างคอนเนคชั่น กับ นายทุน นักการเมือง หรือตำรวจ และ ตุลาการอำนาจ ชนชั้น และบารมี ในแคมฟร็อก ผมเคยมีโอกาสได้คุยกับรุ่นน้องที่เล่นแคมฟร็อกมาหลายปี ข้อมูลที่น่าสนใจคือผมถามเขาว่าคนที่กุมอำนาจ และมีบารมีมากสุดในห้องคือกลุ่มผู้คุมกฎ ซึ่งหมายถึงเจ้าของห้อง แอดมิน และดีเจใช่ไหมคำตอบคือ สำหรับตัวเขานั่นไม่ใช่ เขาคิดว่า คนที่มีชื่ออยู่ในลำดับแรกสุดในห้องต่างหากที่ดูมีอำนาจ บารมี และน่ากลัวที่สุด เพราะถ้าสามารถมีตำแหน่งชื่อไอดีขึ้นลำดับแรกในห้องได้นั่น เขาต้องเป็นคนที่มีไอเทมที่ดีที่สุดในห้องไม่ว่าจะเป็นมงกุฎหรือจำนวนคบเพลิง เขาต้องมีชื่อไอดีที่สั้นที่สุดในห้อง และสีของชื่อไอดีของเขาต้องเป็นสีที่แพงที่สุดในห้อง เหล่านี้เขาต้องจ่ายเป็นเงินหลักหลายหมื่น จนถึงหลักเป็นแสนๆเพื่อให้ได้สถานะตำแหน่งนั่นมาและรุ่นน้องผมยังบอกอีกว่า ตัวเขาเองกลัวแม้กระทั่งที่จะกดเข้าไปส่องดูกล้องเขา แม้จะอยากรู้แทบขาดใจว่าเขาคนนี้เป็นใครและหน้าตาแบบไหน และหากวันคืนโชคชะตาเป็นใจคนในระดับนี้ กดเข้ามาส่องดูตัวของรุ่นน้องผม เขาก็บอกว่าจะเกิดความกลัวที่สุดจนอาจจะออฟไลน์หนีไปเลยซึ่งในความเป็นจริงคนระดับนั่นก็ไม่เคยที่จะมาส่องเขา อาจเพราะระดับชั้นตำแหน่งชื่อในห้องมันแตกต่าง จนเรียกได้ว่าอยู่กันคนละชนชั้นก็เป็นได้สิ่งที่น่าสังเกตคือ ในยุคนี้นั่นถือได้ว่าเป็นยุคแห่งทุนนิยม (Capitalism) คือผู้มีทุน และมีกำลังแห่งเงินตราเป็นใหญ่ สิ่งนี้มันก็ได้ส่งจากโลกจริง ผ่านคลื่นแห่ง ดิจิตอล เข้าไปก่อรูปก่อร่างสร้างบทบาท ในโลกเสมือน ไม่แตกต่างกันสิ่งที่น่าสนใจ คือ อำนาจเหล่านี้เกิดขึ้นจากแค่ภาพดิจิตอล และสีของตัวหนังสือที่เปลี่ยนไป แต่กลับแผ่ความรู้สึกถึงการมีอำนาจ ความกลัว และการยอมรับ จนถึงต้องเคารพลงไปถึงจิตใจของผู้คนได้ ซึ่งถ้ามาพิจารณากันดีๆแล้ว ถ้ามันสามารถมีผลกระทบต่อความรู้สึกและจิตใจได้ขนาดนี้ แล้วมันจะต่างอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในโลกแห่งความจริงกันเล่าสิ่งที่ แคมฟร็อก ดูจะมีลักษณะเป็น โลกเสมือน มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ เพราะ มิติแห่งสังคมในแคมฟร็อก มีความลึกลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อนมากกว่า ถ้าเทียบกับ facebook ถึงจะมีกลุ่มสังคมเหมือนกันแต่มันก็ไม่ได้ผู้พันซับซ้อนครบเครื่องเหมือนในแคมฟร็อก ส่วนใหญ่มักจะเน้นไปทางขายของเสียมากกว่าหรืออย่าง Line หรือ Wechat ก็ออกจะเน้นไปทางปฏิสัมพันธ์แค่ระดับปัจเจกมากกว่า ถึงจะมีการสร้างกลุ่ม เช่นใน กลุ่มไลน์ ที่นิยมกัน ส่วนมากสมาชิกในกลุ่มก็มักจะเป็นไปในแบบตายตัว รู้จัก รู้หน้ากันมาก่อน เช่น กลุ่มที่ทำงาน กลุ่มเพื่อนสมัยเรียน หรือกลุ่มญาติ ในระดับแบบนี้อาจถือได้ว่าเป็นแค่ “ชุมชน” ยังไม่ถึงขั้นจะเป็นระบบสังคม ซึ่งแตกต่างจากแคมฟร็อก ที่จะมีคนใหม่ๆเปลี่ยนหน้าตา หรือคนเดิมแต่เปลี่ยนไอดีเข้ามาส่องสืบ แอบในหลืบมองมาในห้อง กันแบบซับซ้อนเพื่อจุดประสงค์บางอย่างตลอดเวลาการเรียนรู้จาก แคมฟร็อก ทำให้เราได้เห็นภาพของโลกเสมือน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าโลกเสมือนที่ว่าจะมาด้วยเวอร์ชั่นที่มหัศจรรย์พันลึก สุโค่ย สุดติ่งขนาดไหน แต่สิ่งที่ผมมั่นใจได้คือ ภายในนั้น ยังคงผสมปนเปไปด้วย “กิน กาม เกียรติ” อย่างแน่นอนเพียงแค่มันไม่ได้ไหลเวียนอยู่ท่ามกลาง ฟ้า ฝน ลม อากาศแห่งความจริง แต่ไหลเวียนอยู่ในกระแสธารแห่งข้อมูลข่าวสารแบบดิจิตอล ที่ร้อยเรียงส่งผ่าน ด้วยใยแก้วนำแสงและคลื่นสัญญาณดาวเทียม การมีความเข้าใจถึงความเป็นโลกเสมือน เพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย เพื่อจะได้เป็นเครื่องจีพีเอสนำทาง ยามที่มันมาเดินเคียงบ่าเคียงไหล่เรา ราวกับเพื่อนสนิท ราวกับเป็นเงาตามตัว เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวอยู่ร่วม และตักตวงหาผลประโยชน์จากมัน จากโลกที่เราเรียกว่า “โลกเสมือน” ได้แบบไม่เสียเปรียบและขาดทุน / JPWขอขอบคุณ ภาพปก และภาพประกอบบทความภาพปก โดย Ray Hennessy จาก unsplash.comภาพที่ 1 จาก camfrog-video-chat.th.uptodown.comภาพที่ 2 โดย Giu Vicente จาก unsplash.comภาพที่ 3 โดย Alimarel จาก unsplash.comภาพที่ 4 จาก macupdate.comภาพที่ 5 โดย Rock staar จาก unsplash.comภาพที่ 6 โดย Tingey Injury Law Firm จาก unsplash.comภาพที่ 7 โดย fikry anshor จาก unsplash.comภาพที่ 8 โดย Barbara Zandovel จาก unsplash.comเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !