ผัดไทย หรือ ผัดไท ผัดไหนที่ถูกต้อง เรามักจะเห็นร้านอาหารใช้ทั้งคำว่า ผัดไทย และผัดไท แต่สงสัยกันหรือไม่ว่า คำไหนคือคำที่ถูกต้องกันแน่คำที่ถูกต้องและตรงตามความหมาย คือคำว่า ผัดไทย เพราะคำว่า “ไท” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ หรือชาวเมือง และเป็นคำในสมัยโบราณ ถ้านำมาใช้ในความหมายเป็นชื่ออาหาร จึงควรใช้คำว่า “ผัดไทย” จึงจะถูกต้องตามความหมายมากกว่า ผัดไทย จริง ๆ แล้วเป็นอาหารของคนไทย ที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในสมัยนั้น ท่านได้มีแนวคิดอยากจะรณรงค์ให้คนไทยหันมากินอาหารประเภทเส้นให้มากขึ้น เพื่อลดการกินข้าวลง เนื่องจากช่วงนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือเป็นช่วงที่ข้าวยากหมากแพง แต่เดิมอาหารอะไรก็ตามที่ทำจากเส้นก๋วยเตี๋ยว คนไทยจะถือว่าเป็นอาหารจีน และส่วนมากอาหารจีนมักจะนิยมใส่เนื้อหมู แต่ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านต้องการสร้างกระแสชาตินิยมขึ้น ไม่เว้นแม้แต่อาหาร จึงเป็นที่มาของผัดไทยทำไมไม่ใส่หมูเพราะ ถ้าผัดไทยใส่หมู จะกลายเป็นอาหารจีนไป อาหารที่ทำมาจากเส้นก๋วยเตี๋ยว และต้องการให้แสดงถึงความเป็นไทยแล้วจึง ไม่ควรใส่เนื้อหมูลงไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร จึงมีการเปลี่ยนจากเนื้อหมู ไปใส่กุ้งแห้งแทน ต่อมามีการดัดแปลงสูตรผัดไทยโดยใส่กุ้งแม่น้ำตัวโตน่ากินแทน ดังที่เราจะเห็นได้ในรูป นอกจากนี้ ส่วนผสมอื่นๆ ในผัดไทยก็เป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายๆ ในประเทศไทย เช่น เต้าหู้เหลือง ใบกระเทียม มะนาว หัวปลี ถั่วงอก ผัดไทย อาหารไทยที่ทำมาจากเส้นก๋วยเตี๋ยวและมีส่วนผสมเครื่องปรุงแบบไทย ๆ จึงตั้งชื่อว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย" ต่อมาจนถึงปัจจุบันเหลือเพียงคำว่า "ผัดไทย" ถ้าหากใครจะสั่งผัดไทยในครั้งต่อไป จงภูมิใจว่า เป็นเมนูที่คิดค้น โดยคนไทย เพื่อคนไทย ที่แท้ทรู เคดิตรูปผัดไทยจาก คุณเดียร์ (ธนิกานต์ กิตติเจริญพจน์)