cr. unsplash ตั้งแต่เกิดกระแสสถานการณ์ โรคระบาด ไวรัสโควิด19 เข้ามาในประเทศไทย หากไล่เรียงตามช่วงเวลา ก็น่าจะตั้งแต่ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ที่เริ่มมีข่าวลือแ ละมีการเสนอข่าวจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือสำนักข่าวต่าง ๆ และเมื่อมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ก็มีทั้งข่าวจริงและข่าวลวง ทำให้หลายคนมองว่าภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการดูแลเรื่องการข่าวมีการ ปกปิดข่าว จริงหรือไม่ สร้างความสับสนให้กับประชาชน เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อถือจากแหล่งข่าวไหนได้บ้าง แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง สงสัยกันไหมว่าทำไมจะต้องมีการปิดข้อมูลบางอย่าง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าไม่เปิดเผยข้อมูลในบางส่วน ซึ่งหากมองกันจริง ๆ การปิดข่าวมันมีทั้งผลดีผลเสียในภาพรวม ไม่ใช่แค่สถานการณ์ ไวรัสโควิด19 ระบาด แต่หมายถึงในสถานการณ์อื่นๆด้วย cr. unsplash ปิดข่าวมีข้อดีอย่างไร 1. การปิดข่าวหรือการไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วน ตามสถานการณ์ความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นกรณี สถานการณ์ไวรัสระบาด หรือกรณีอื่น ๆ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนในสังคม ตื่นกลัวจนเกินเหตุ และเกิดสถานการณ์บานปลายจนยากที่จะควบคุม หรือสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ยิงกราดโคราช การไม่เผยแพร่ข้อมูลบางส่วนก็เพื่อความปลอดภัย ณ.เวลาที่เกิดเหตุ 2. สร้างความเชื่อมั่นในภาพรวมระดับประเทศ แม้ว่าการปกปิดข้อมูลบางส่วนอาจจะไม่ดี แต่เราต้องยอมรับว่าในระดับประเทศ การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีนักเ พื่อรักษาภาพลักษณ์ในบางครั้ง เราก็จะต้องปิดข้อมูลบางส่วนเอาไว้ อย่างน้อยก็ยังสร้างความน่าเชื่อถือ ของประเทศได้บ้าง รวมถึงการรอสรุปข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น 3. ควบคุมทิศทางการกระจายข่าว ลดความตื่นตระหนก และพยายามให้ข่าวในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะให้ข่าวกับประชาชนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดในทุก ๆ สื่อ cr. unsplash ข้อเสียของการปิดข่าว 1. ประชาชนไม่ทราบสถานการณ์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะกรณีใด ทำให้เกิดการสร้างข่าวลวง สร้างความตื่นตระหนก และเกิดสถานการณ์บานปลายได้ง่ายกว่าเดิมอย่างที่เราเห็นใน สถานการณ์ไวรัสโควิด19ระบาด 2. มีการขุดคุ้ยหาข้อมูลจริง และเผยแพร่ในวงกว้าง ส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์ของประเทศ ยกตัวอย่างเช่นสถานการณ์ โควิด19ระบาด ข่าวในประเทศไทยนำเสนอไม่ชัดเจน มีการยืนยันสถานะการว่าอยู่ในระดับ 2 สามารถควบคุมได้ แต่มีสื่อข่าวจากต่างประเทศ รายงานมีหลาย ๆ ประเทศทั้งเอเชียและยุโรป ยกระดับสถานการณ์ของประเทศไทย อยู่ในระดับที่ 3 สร้างความเสียหายกับประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในภาพรวม 3. ข้อมูลเท็จมีเพิ่มมากขึ้น เพราะประชาชนต้องการข้อมูลจริง ดังนั้นข่าวลือข่าวลวง ข่าวบอกเล่าต่าง ๆ ซึ่งมีออกมาในทุกสถานการณ์ และทำให้เกิดความสับสน เป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนที่ไม่รู้ถึงสถานการณ์จริงได้ง่ายมากขึ้น cr. unsplash บทสรุปสถานการณ์ข่าวที่ต้องมองหลายมุม ไม่ว่าจะสถานะการณ์ใดหรือเรื่องไหน ต่างมีหลาย ๆ มุมซึ่งเราจะต้องมองทั้งข้อดีและข้อเสีย ของสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิดข่าวหรือการรายงานข่าวตามสถานการณ์จริง ต่างได้รับผลกระทบ ยกตัวอย่างง่าย ๆ สถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ที่ระบาดในวงกว้าง เรารู้ดีว่าทุกคนต่างไม่มั่นใจกับมาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข้อมูลข่าวไม่ชัดเจน ทำให้เกิดกระแสข่าวมากมาย แต่หากวิเคราะห์ให้ดี การเลือกให้ข่าวเฉพาะที่จำเป็นก็จะทำให้ ประชาชนไม่ตื่นกลัว ไม่สับสน แต่การให้ข่าวที่ไม่ตรงกันทำ