รีเซต

อาชีวะ 'จีน-ไทย' จับมือพัฒนาหัวกะทิ หนุนโครงการม้าเหล็กความเร็วสูง

อาชีวะ 'จีน-ไทย' จับมือพัฒนาหัวกะทิ หนุนโครงการม้าเหล็กความเร็วสูง
Xinhua
2 ธันวาคม 2564 ( 11:28 )
160

กรุงเทพฯ, 1 ธ.ค. (ซินหัว) -- "ผมอยากนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรถไฟจากจีนกลับมาทำประโยชน์ที่ไทย" กันติธัต ดาณัต วัย 23 ปี ชาวนครราชสีมา กล่าวพร้อมแสดงความคาดหวังว่าโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย จะดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

ด้วยคำแนะนำจากผู้เป็นแม่ กันติธัตเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงของจีนในปี 2017 ซึ่งเป็นปีที่การก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นหนึ่งหมุดหมายบนเส้นทางที่จะเชื่อมต่อถึงกรุงเทพมหานคร

 

กันติธัตและเพื่อนนักศึกษาอีก 39 คน เรียนภาษาจีนนานหนึ่งเดือนที่สถาบันขงจื่อของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนเดินทางไปเรียนต่อนานแปดเดือนที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟอู่ฮั่น (WRC) ในมณฑลหูเป่ยของจีน เพื่อเรียนรู้การเป็นช่างเทคนิคด้านรถไฟความเร็วสูง

 

การใช้ชีวิตที่นครอู่ฮั่นของกันติธัตได้รับความช่วยเหลือจากคณะอาจารย์และเพื่อนร่วมวิทยาลัยฯ ที่ช่วยให้เขาสามารถพัฒนาทักษะภาษาจีนและเรียนรู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ขณะที่การได้นั่งรถไฟความเร็วสูงครั้งแรกนั้นน่าตื่นเต้น พบว่าทั้งสะดวก ปลอดภัย และเร็วมาก ยิ่งตอนมีรถไฟวิ่งสวนทาง

 

หลังกลับจากจีน กันติธัตเดินทางไปฝึกงานช่างเทคนิคที่ญี่ปุ่น พร้อมความปรารถนากลับไปเรียนต่อด้านรถไฟความเร็วสูงที่จีนในปีหน้า เพื่อไล่ตามความฝันของการเป็นพนักงานขับรถไฟหรือช่างเทคนิครถไฟในอนาคต

 

ปัจจุบันสถาบันอาชีวศึกษาในไทยหลายแห่งเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม นำเข้าเทคโนโลยีและแผนพัฒนาหลักสูตรจากจีน ขณะความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านการพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถด้านรถไฟเดินหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยไทยบ่มเพาะผู้มีความรู้ความสามารถด้านรถไฟ

ปรีนาภรณ์ แก่นวงศ์ เป็นอีกหนึ่งนักศึกษาชาวไทยที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงของจีน ณ วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีอุปกรณ์การเรียนรู้อันทันสมัยอย่างเครื่องจำลองการขับ "รถไฟเสมือนจริง" ภายใต้สภาพแวดล้อมอันหลากหลาย

[caption id="attachment_246593" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ฝึกการขับรถไฟแบบจำลองในจังหวัดขอนแก่น วันที่ 17 พ.ย. 2021)[/caption]

อุปกรณ์ล่ำยุคดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน (Lu Ban High-Speed Railway Institute) สังกัดวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ และเป็นของขวัญจากบริษัท เจิ้งโจว เจ แอนด์ ที ไฮเทค จำกัด (Zhengzhou J&T Hi-Tech) หุ้นส่วนของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟอู่ฮั่น

สถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปันดำเนินการสอนและอบรมว่าที่พนักงานขับรถไฟและวิศวกรการรถไฟให้รู้จักและเข้าใจวิธีการดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงของไทย ซึ่งขณะนี้ยังคงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

"ฉันอยากไปเรียนต่อที่จีนและลองสัมผัสความเร็วของรถไฟความเร็วสูง" ปรียาภรณ์กล่าว

จรรยา พาบุ ที่ปรึกษาประจำวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ เผยว่ากระทรวงศึกษาธิการไทยได้ยกระดับความร่วมมือกับจีน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาไทยและจีน เพื่อบ่มเพาะผู้มีความรู้ความสามารถด้านรถไฟ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน

[caption id="attachment_246591" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ฝึกใช้งานแผงควบคุมรางรถไฟในจังหวัดขอนแก่น วันที่ 17 พ.ย. 2021)[/caption]

นอกจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟอู่ฮั่นแล้ว วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ยังร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาอื่นๆ ในมณฑลกุ้ยโจวและอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) รวมถึงเทศบาลนครฉงชิ่งด้วย

การสนับสนุนจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาของจีน ช่วยให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาของไทยมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถด้านรถไฟ โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การอบรมครูอาจารย์ อุปกรณ์การสอน และโครงการฝึกอบรมร่วม

[caption id="attachment_246595" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : จรรยา พาบุ ที่ปรึกษาประจำวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวในจังหวัดขอนแก่น วันที่ 17 พ.ย. 2021)[/caption]

"ความร่วมมือด้านการพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถด้านรถไฟจีน-ไทย สะท้อนว่าแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ได้ส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญร่วมกัน" จรรยากล่าว พร้อมชี้ว่าทั้งไทยและจีนจะได้ประโยชน์จากรถไฟจีน-ไทย และคาดหวังว่างานก่อสร้างจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

"ผมหวังให้ทางรถไฟจีน-ไทย สร้างเสร็จโดยเร็ว ผมจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป" กันติธัตกล่าว

[videopress hQF928dV]

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง