สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกคน เมื่อไม่นานมานี้มีน้องข้างบ้านคนหนึ่ง หอบหนังสือมาให้ FanFah ช่วยสอนการบ้านวิชาภาษาไทยให้ ซึ่งเป็นการถอดความบทประพันธ์ที่น้องเขาบอกว่าเป็นอะไรที่ยากมากสำหรับเขา FanFah เลยแนะนำเทคนิคถอดความบทประพันธ์ให้น้องเขาไป ซึ่งน้องเขาก็เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ วันนี้ FanFah จึงถือโอกาสนำเทคนิคเหล่านี้มาฝากต่อทุกคนกันค่ะ โดยเฉพาะน้องๆนักเรียน จะมีเทคนิคไหนบ้างนั้น เรามาดูกันเลยค่ะ เทคนิคที่ 1 อ่านและวิเคราะห์ การจะถอดความให้ออกมาดีนั้น เราจำเป็นที่จะต้องอ่าน ในที่นี้คืออ่านเพื่อวิเคราะห์ ว่าบทประพันธ์กล่าวถึง ใคร หรือ สิ่งใด นั่นจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น อีกทั้งต้องจับใจความสำคัญของบทประพันธ์ให้ได้ด้วย เทคนิคนี้เชื่อว่าไม่ได้ยากอะไรเลยค่ะ เพราะทุกบทประพันธ์จะระบุไว้ชัดเจนมาก ว่าผู้เเต่งกำลังกล่าวถึงอะไรอยู่ เทคนิคที่ 2 การแปลหรือหาความหมายคำศัพท์ยากๆ เราจะเห็นว่าบทประพันธ์เกือบทุกบท ยิ่งโดยที่ปรากฏอยู่ในหนังสือวรรณคดีที่เราเรียนด้วยแล้ว มักจะมีคำศัพท์ยากๆ ที่เราเองก็ไม่รู้ความหมาย ดังนั้นก่อนที่เราจะถอดความเนี่ยนะคะ เราต้องหาความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นซะก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้นับว่าสะดวกทีเดียวค่ะ เพราะนอกจากเราจะมีพจนานุกรมที่เป็นเล่มแล้ว เรายังมีพจนานุกรมแบบออนไลน์อีก สะดวกทุกที่ ทุกเวลาเลย เทคนิคที่ 3 การเรียบเรียงคำ เป็นอะไรที่สำคัญมากๆเลยค่ะข้อนี้ เพราะถึงแม้ ว่าเราจะเข้าใจว่าบทประพันธ์กำลังกล่าวถึงอะไร แต่เราไม่รู้ว่าควรเรียบเรียงยังไง นั่นก็อาจทำให้งานของเราออกมาไม่ดี ไม่ลื่นไหลเท่าที่ควรจะเป็น หรืออ่านแล้วมันขัดกับบทประพันธ์ ดังนั้นเราจึงควรเรียบเรียงออกมาโดยใช้ภาษาง่ายๆ เป็นภาษาเขียนของเรา ไม่คัดลอกเนื้อหามาทั้งวรรค ต้องกล่าวถึงใจความสำคัญ และพยายามว่าอย่าใช้คำที่ซ้ำกันกับบทประพันธ์ เพระมันอาจทำให้อารมณ์ของผู้อ่านติดขัดได้นั่นเองค่ะวันนี้ FanFah ก็มีตัวอย่างการถอดความบทประพันธ์มาให้เพื่อนๆได้ดูเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ ตัวอย่างที่ 1 จากบทประพันธ์สามารถถอดความโดยใช้เทคนิคข้างต้น ดังนี้ เทคนิคที่ 1 การอ่านและวิเคราะห์ บทประพันธ์กล่าวถึงบรรยากาศโดยรอบ วัวควาย และชาวนาเทคนิคที่ 2 แปลหรือหาความหมายศัพท์ยาก - ผ้าย หมายถึง เคลื่อนไป - ทิวากาล หมายถึง กลางวัน - ตู หมายถึง ข้าพเจ้า เทคนิคที่ 3 เรียบเรียงคำ เสียงย่ำระฆังดังหง่างเหง่ง ส่งผลให้บรรยากาศเกิดความวังเวง ในขณะที่ฝูงวัวควายเคลื่อนผ่านท้องทุ่งนาเพื่อกลับสู่ที่พักของมัน ชาวนาที่เหนื่อยล้าจากการทำงานต่างก็พากันสัญจรกลับบ้าน ดวงอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ทุกแห่งหนจึงไม่มีแสงสว่าง ท้องทุ่งก็มืดมิดเดียวดาย ทิ้งให้ข้าพเจ้าอยู่ลำพังเพียงผู้เดียว ตัวอย่างที่ 2 เทคนิคที่ 1 อ่านและวิเคราะห์ บทประพันธ์กล่าวถึงการเลือกคบหากับผู้อื่น เทคนิคที่ 2 แปลหรือหาความหมายศัพท์ยาก - สมาคม หมายถึง คบหา - อุดม หมายถึง เลิศ - นักปราชญ์ หมายถึง ผู้มีปัญญา เทคนิคที่ 3 เรียบเรียงคำ เกิดเป็นคนควรรู้จักเลือกคบหากับผู้อื่น ซึ่งหลักๆแล้ว มีอยู่ 2 สิ่ง นั่นคือ เลือกคบคนพาล หรือเลือกคบผู้ที่เลิศพร้อมด้วยปัญญา ตัวอย่างที่ 3 แร้งเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว มีขนรุงรังสกปรก แต่ถึงอย่างนั้น มันก็กินเศษซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ซึ่งไม่ได้สร้างโทษหรือบาปให้แก่มัน เช่นเดียวกันกับคนที่มีคุณงามความดี ก็เลือกที่จะปฏิบัติในทางที่ดีเพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนนั่นเอง เป็นยังไงกันบ้างคะ กับตัวอย่างที่ FanFah นำมาให้อ่าน จะเห็นว่าในตัวอย่างสุดท้ายนั้น FanFah ไม่ได้เเยกรายละเอียดเทคนิคเหมือนตัวอย่างอีกสองข้อ แต่กลับเรียบเรียงเนื้อหาเลย เพราะว่าเมื่อเราฝึกบ่อยๆเราก็จะคุ้นชินกับมันไปเอง และจะรู้ว่ามันเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวถ้าเทียบกับวิชาที่ต้องใช้ความจำสูง ตัว FanFah เองก็หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนโดยเฉพาะน้องๆนักเรียน เพราะเชื่อเหลือเกินค่ะว่า ไม่ว่าจะผ่านไปซักกี่ยุคกี่สมัย การถอดความบทประพันธ์ก็จะยังคงเป็นการบ้านชิ้นหนึ่งของวิชาภาษาไทย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ทุกคน เพียงแค่กดค้นหาในกูเกิ้ล คำตอบที่ต้องการก็จะปรากฏทันที แต่การมีความรู้ติดตัวนั้นถือว่าดีที่สุดค่ะดังสุภาษิตที่ว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะคะ สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ ภาพปกและภาพประกอบทั้งหมดโดย ผู้เขียน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !