รีเซต

ฮือฮา !! นักเรียนบ้านไทยสามารถ ยืมชุดไทย จากศาลเจ้าแม่ตะเคียน มาใส่ในงาน กีฬาสี

ฮือฮา !! นักเรียนบ้านไทยสามารถ ยืมชุดไทย จากศาลเจ้าแม่ตะเคียน มาใส่ในงาน กีฬาสี
มติชน
17 มกราคม 2565 ( 15:23 )
78

วันที่ 17 มกราคม  นางอุมาพร คงเกตุ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไทยสามารถ ต.บ้านด่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เปิดเผยว่า หลังจากโรงเรียนบ้านไทยสามารถ ได้จัดกิจกรรมกีฬาสี ที่สนามโรงเรียน บ้านไทยสามารถ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา และได้มีครูในโรงเรียนนำไปลงในโซเชียลมิเดีย เกี่ยวกับ นักเรียนได้ไปขอยืมชุดไทย จากศาลเจ้าแม่คะเคียนทองหน้าโรงเรียน มาสวมใส่เดินพาเหรดในกิจกรรมกีฬาสี ของโรงเรียน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก และหลังจากเสร็จกิจกรรมกีฬาสีแล้วก็นำไปไว้ที่ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองเช่นเดิม

 

 

“เมื่อมีกิจกรรมกีฬาสีทุกปี ทางโรงเรียน ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเด็กๆ ที่สืบทอดวิธีการแบบนี้มาจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ติดต่อกันมาเกือบ 30 ปีมาแล้ว โดยนักเรียนจะไปทำพิธีขอยืมชุดไทย จากศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง ที่ชาวบ้านนำไปถวายและไหว้บูชา หลังจากนั้นได้นำมาแต่งตัว ให้นักเรียนหญิงเดินพาเหรด ในเช้าวันที่ 13 มกราคม 2565 และได้มีคุณครูนำไปลงในโซเชียลมีเดีย ได้โพสข้อความว่า

 

 

“เมื่อพรุ่งนี้มีงานกีฬาสี แต่ไม่อยากเสียเงินเยอะ จึงพากันไปเช่าชุดจากศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองหน้าโรงเรียน เจ้าแม่โอเคนะ เจ้าแม่ต้องโอเคแล้วแหละ เสร็จงานแล้วเด็กๆ จะนำชุดมาคืนค่ะ”

 

สร้างความฮือฮา ในโลกโซเชียลมีเดีย ในขณะที่ในขณะนี้เกิดการระบาดของโควิด-19 ผู้ปกครองนักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการครองชีพ การที่นักเรียนไปขอยืมชุดเจ้าแม่ตะเคียนทอง มาสวมใส่เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นการสืบทอดประเพณี การยืมชุดไทยจากศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง เป็นประเพณีของชาวบ้านไทยสามารถอีกด้วย” นางอุมาพร กล่าว

 

ทางด้านนายภานุวัตร คุณเวียน รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 เปิดเผยว่า ในกรณีที่ โรงเรียนบ้านไทยสามารถ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ได้จัดกิจกรรมกีฬาสี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา และตนก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย ซึ่งทาง ผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้แจ้งให้ทราบว่า ชุดไทยที่นักเรียนในเดินพาเหรดทั้งหมด ไม่ได้เช้ามา แต่ได้จากไปขอยืมชุดไทยจากศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยเห็นคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ ในขณะที่ศาลเจ้าแม่คะเคียนทอง เป็นที่ยึดถือของชาวบ้านอีก ด้วยและยังยึดถือเป็นประเพณีของนักเรียนอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง