หนังสือธรรมะชั้นสูงที่มีการอธิบายและให้คำนิยามสิ่งที่ศาสนาพุทธต้องการจะสื่ออย่างละเอียดแยบคายนั้น คู่มือมนุษย์ เป็นหนังสือที่นิยามและสื่อความหมายได้อย่างน่าสนใจยิ่ง สำหรับใครที่สนใจในปรัชญาทางธรรมโดยไม่อิงกับความเชื่อ แต่ใช้ปัญญานำทางความเชื่อ หนังสือเล่มนี้คงเป็นคำตอบ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้เขียนอธิบายประเด็นไว้อย่างน่าสนใจ และรวบรวมออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์เป็นผู้ให้ภาพประกอบ อีกทั้งจัดทำเป็นหนังสือปกแข็งเพื่อให้เก็บรักษาได้นาน รูปเล่มสวย ในราคาย่อมเยา เนื้อหาภายในเล่มท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหนพุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไรลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวงอำนาจของความยึดติด (อุปาทาน)ขั้นของการปฏิบัติศาสนา (ไตรสิกขา)คนเราติดอะไร (เบญจขันธ์)การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลกสรุปความ สิ่งที่ประทับใจและได้เรียนรู้ในมุมมองของครีเอเตอร์ ได้เรียนรู้และปรับใช้หลักการดับทุกข์ คือ อริยสัจจ์ 4 ประกอบด้วย1.สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์ แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์จึงมีความอยากได้ในสิ่งเหล่านั้น2.ความอยากด้วยอวิชชานั้นเป็นต้นเหตุของความทุกข์ (สมุทัย) ความอยากคือต้นเหตุของความทุกข์ใจ โดยไม่รู้ว่าความอยากด้วยอวิชชาคืออะไร3.นิโรธหรือนิพพานคือการดับความอยากโดยสิ้นเชิง เป็นความไม่มีทุกข์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักและก็ทำให้ไม่ปรารถนาในนิพพาน คือ สภาวะที่ไร้ทุกข์ด้วย เพราะดูเหมือนไกลเกินความเข้าใจในวิสัยปุถุชน4.มรรค วิธีดับความอยากนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นอริยมรรค 8 ประการที่ใช้ดับความอยากนั้น ได้เรียนรู้นิยามคำว่า กุศล หมายถึงความฉลาด ความรู้ที่ถูกต้องที่สุด โดยเฉพาะรู้ว่าอะไรเป็นความทุกข์ อะไรเป็นวิธีให้ถึงความไม่มีทุกข์ ได้เรียนรู้หลักสำคัญของไตรลักษณ์ มีหัวข้อสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นการประกาศความจริงว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ได้เรียนรู้หลักโอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้เต็มที่ และทำจิตใจให้สะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง ถือเป็นหลักสำคัญสำหรับปฏิบัติ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความอยาก มีอยู่ 3 อย่าง1.กามตัณหา อยากในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ จะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส2.ภวตัณหา คือความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ ตามที่ตนอยากจะเป็น3.วิภวตัณหา คือความอยากไม่ให้มีอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้เมื่อมีความอยากก็มีความร้อนใจตามมา แม้ได้ตามความอยากมาแล้ว ก็มีความอยากในเรื่องต่อไปไม่รู้จบ แม้การทำความดีอย่างเดียวยังไม่พอที่จะพ้นจากความทุกข์ แต่ต้องทำจิตให้หลุดพ้นไปจากการเป็นทาสของความอยากทุกชนิด ได้เรียนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกนี้รวมอยู่ในคำว่า เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละส่วนเป็นมายาไร้ตัวตน แต่ก็มีอำนาจของเวทนาล่อให้เกิดการยึดถือ จนคนทั่วไปอยากมีอยากเป็น อยากไม่ให้เป็น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดทุกข์ ไม่อย่างเปิดเผยก็อย่างเร้นลับทุกคนจึงต้องอาศัยข้อปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ถอนความหลงผิดในเบญจขันธ์ให้สิ้นเชิง จึงจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของขันธ์ทั้งห้า และก็จะไม่มีความทุกข์ โลกจะอยู่ในลักษณะที่อำนวยความผาสุกใจให้แก่ผู้นั้น ไม่ต้องร้อนใจเพราะสิ่งใดๆ เป็นผู้มีจิตใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงตลอดชีวิต ถ้าไม่ให้เอา (กิเลส) ถ้าไม่ให้เป็นอะไรๆแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นอาชีพในฝันหรือเป็นคนรวย) จะให้อยู่กันอย่างไร ก็ทำให้ได้เรียนรู้ว่า การเอา การเป็นด้วยกิเลสตัณหาอย่างจริงจังจะทำให้หนักใจ ร้อนใจ เจ็บใจได้ เมื่อความจริงข้อนี้แล้ว ก็จะมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตไม่ให้เป็นทาสด้วยความมีความเป็นด้วยอำนาจความยึดติด แต่ถ้าไม่สามารถถอนตัวออกจากความมีความเป็นได้ เราก็จำต้องมีสติรู้ตัวให้พอเหมาะสม จะได้ไม่เดือดร้อนใจมากเกินไปนัก ได้เรียนรู้ว่าถ้าไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็น ก็จะไม่มีใครประกอบการงานอะไรๆ หรือไม่สามารถรักษาทรัพย์สมบัติสิ่งของที่ตนมีอยู่ได้นั้น ประเด็นนี้อาจเข้าใจผิด เพราะความจริงแล้วเราสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆด้วยสติปัญญา อย่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน มันจะมีผลคนละอย่างกันเลยทีเดียว ได้เรียนรู้ว่านิพพาน แปลว่าไม่มีเครื่องทิ่มแทง ดับไม่มีเหลือสำหรับจะเกิดมาเป็นความทุกข์อีกต่อไป หรือปราศจากความผูกพันร้อยรัดต่างๆทุกประการ เป็นภาวะปราศจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เรียนรู้คำว่าภูมิ หมายถึงสถานะหรือระดับแห่งจิตใจของผู้นั้น ภพ หมายถึงภาวะเป็นอยู่ที่เหมาะสมแก่ผู้ที่มีภูมิแห่งจิตใจเช่นนั้น ทุกคนย่อมปรารถนาความสุข...แต่อะไรคือความสุข สุดท้ายปลายทางแห่งความสุขที่ควรปรารถนาและไปให้ถึงคืออะไร ควรเริ่มต้นและปฏิบัติตนต่อไปอย่างไรเพื่อไปให้ถึงจุดหมายนั้น ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาในปัจจุบันทำให้คนรุ่นใหม่สับสน มีแต่ความเชื่อ พิธีกรรมมากมาย อวดอ้างในเรื่องผลบุญกุศลจนทำให้ประจักษ์แก่ใจตนว่ามันไม่ได้ส่งผลเถรตรงแบบนั้น พุทธแท้จึงไม่ได้เน้นเรื่องของการบำรุงกิเลสหรือความสำเร็จทางโลก แต่เน้นการอยู่กับทุกข์ที่เกิดขึ้นและหาทางดับทุกข์ไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ความเป็นอยู่ในทางโลกเป็นปกติสุข ไม่ทุกข์กับเรื่องที่ไม่สมปรารถนามากจนเกินไป อีกทั้งการมีจิตวิญญาณที่ได้รับการฝึกฝนอย่างมีสติจะช่วยให้ประสบความสำเร็จทั้งเรื่องทางโลกและทางธรรมได้ในที่สุด เครดิตภาพภาพปก โดย upklyak จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย rawpixel.com จาก freepik.com ภาพที่ 4 โดย sarayut_w32 จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นรีวิวหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น 2รีวิวหนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเองพุทธพจน์ กับความก้าวหน้าของชีวิตรีวิวหนังสือ อัจฉริยะ 100 หน้า พระพุทธศาสนา7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์