สวัสดีครับ เราเป็น Dek66 ที่อยากเข้านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาก ๆๆๆๆๆ หลงรักในหลักสูตรการเรียนการสอน สังคม กิจกรรมของคณะ วิทยาเขตที่น่าเดินเล่นสุด ๆ แต่ก็ต้องผิดหวังไปเพราะเราไม่ติดสัมภาษณ์ของโควตาสาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ (Journalism, Information and New media) ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า JN ถึงเราจะไม่ติดสัมภาษณ์ ไม่มีโอกาสได้เรียนนิเทศฯ จุฬาฯ ในปีนี้ แต่เราก็ยังมีใจรัก และยังชอบการเขียนอยู่ดี วันนี้เราเลยจะมารีวิวข้อสอบโควตานี้ เป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่โควตาสาขานี้ไปในตัว เผื่อคนรุ่นถัด ๆ ไปจะได้มาอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบกัน บอกเลยว่าปีนี้ข้อสอบมีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่แบบสับ ทำเอาเราก็ไม่คาดคิดว่าจะเปลี่ยนมาแนวนี้ เล่าซะเล่นใหญ่เวอร์วังอลังการงานสร้างมาก แต่มันก็เปลี่ยนแค่ข้อเดียวนะครับ 55555555ทำความรู้จักกับโควตาสาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ เราขอเรียกสั้น ๆ ว่า 'โควตา JN' นะ เท่าที่เราทราบมา โควตา JN มีการเปิดรับสมัครในรอบโควตามานานแล้ว ตั้งแต่สมัยยังเป็น สาขาวิชาวารสารสนเทศ เรียนสื่อเก่าหนัก ๆ มัน ๆ รูปแบบข้อสอบก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบัน มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ดูทันสมัยขึ้น เท่าทันโลกและแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น จนกลายมาเป็นสาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ ที่มีรูปแบบการเรียนแบบเลือก Track หรือสาขาย่อยได้ มีทั้งสื่อเก่า และสื่อใหม่ให้เลือกเรียน ถึงแต่ละ Track จะมีวิชาบังคับ แต่ก็สามารถเรียนวิชาเลือกแบบข้าม Track กันได้ แต่ปีนี้นิเทศฯ จุฬาฯ รุ่น 59 เป็นต้นไป จะได้เรียนหลักสูตรที่มีการปรับปรุงใหม่ เราขอพูดถึงแค่ JN นะ เพราะว่าถ้าพูดโดยรวมหรือทั้งหมดเลยมันจะยาวเกินไป 5555555 เนื้อหา รายวิชาการเรียนสาขานี้ กลายเป็นวารสารสนเทศยุคใหม่ ไม่มีการเรียนแบบเลือก Track วิชาบังคับมากขึ้น วิชาเลือกน้อยลง มีการเพิ่มวิชาใหม่ ๆ เข้ามาบ้างหน่อย เสียดายมากที่ไม่ติดรุ่นแรกที่จะได้เรียนหลักสูตรใหม่ อาจจะเรียกชื่อสาขาย่อ ๆ JRN ก็เป็นได้! ที่สำคัญมาก ๆ คนที่เข้ามาเรียนด้วยโควตานี้ จะไม่สามารถเปลี่ยนสาขาหรือวิชาเอกได้ตอนปี 2 เหมือนกับรอบ Portfolio นะ !พอเปลี่ยนวิชาเอกไม่ได้ คนที่จะเข้ามาด้วยรอบนี้จะต้องมีใจรักจริง ๆ ไม่เสียใจภายหลังที่เข้ามา ทั้งรอบ Portfolio และโควตาเลย แบบว่า คณะที่ชอบ คือนรกที่ใช่ มันก็อาจจะจริง เพราะว่านิเทศฯ ที่ไหนมันก็ไม่ได้เรียนง่ายเลย แต่ถ้าเรียนแล้ว Suffer แบบไม่น่าเข้ามาเลยจริง ๆ ก็ต้องมีใจรักพอสมควรแหละ หรือจะถือเป็นประสบการณ์ชีวิตก็อยู่ที่ตัวเราคิดแล้วเราจะไม่ลงรายละเอียดอะไรมาก โควตานี้มีหลายด่านให้ลุ้นพอสมควร- ผู้สมัครจะต้องมีเกรดเฉลี่ย 5 เทอม 3.25- มีคะแนน TGAT- มีผลงานทางวารสารสนเทศและสื่อใหม่ ไม่เกิน 5 ผลงาน ซึ่งต้องทำ Portfolio ด้วย- มีรางวัลหรือไม่มีก็ส่งไปได้ อย่างเราไม่มีรางวัลสักผลงานเลย ในไฟล์ระเบียบการบอกค่อนข้างละเอียดเลยนะครับว่า ผลงานประเภทไหนใช้ได้บ้าง ซึ่งในบางประเภทจะมีกำกับท้ายไว้ว่า รูปแบบอื่น ๆ รูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ ไรงี้บ้าง เราอาจจะ assume เอาเองก็ได้ว่าผลงานชิ้นนี้ของเรามันไม่ได้เขียนในระเบียบการ แต่เราคิดว่ามันเข้ากับสาขา มันได้ ก็ส่งเข้าไปเลย เพราะสาขานี้เปิดกว้างการรับผลงานมาก ๆ ขนาดงานพิธีกรยังส่งไปได้ผลงานที่เรายื่นไปมีครบ 5 ผลงานเลยTikTok ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2565กิจกรรมรายงานข่าวบันเทิง 'Dreamcatcher 1st win'บทความออนไลน์ 'เด็กฝึก Happyface Entertainment ที่ไปแข่งรายการ Produce 101 ตอนนี้อยู่ที่ไหน'E-Book สารคดีท่องเที่ยว 'ดวงใจเมืองดอกบัว'นิยายออนไลน์ ผ่านจอยลดา ( อุ๊บอิ๊บ ชื่อนิยายไว้)จะเห็นได้ว่าผลงานของเราส่วนใหญ่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ มีทั้งงานวิดิทัศน์ สื่อดิจิทัล ลงพื้นที่สัมภาษณ์ฝึกทักษะความเป็นนักข่าว งานเขียนหลาย ๆ รูปแบบ และกิจกรรมในชั้นเรียนก็เอามาใส่ได้ แต่ก็ต้องพิจารณาผลงานตัวเองดี ๆ ด้วยนะว่าผลงานเรามันตรงกับสาขาไหม เพราะมันมีเคสที่ผลงานไม่ตรงแล้วไม่มีสิทธิ์สอบวิชาความถนัดเลยทำ Portfolio รอไว้เลยนะครับ เกณฑ์บอกละเอียด มาก อ่านและทำความเข้าใจกับเกณฑ์ ระเบียบการดี ๆ เพราะต้องส่ง Portfolio ในรูปแบบไฟล์ pdf ภายในวันสมัครที่กำหนดการที่เราจะได้ไปสอบวิชาความถนัดทางวารสารสนเทศและสื่อใหม่นะครับ เราจะมีการเขียน สรุปผลงานโดยนำเสนอรายละเอียดผลงานที่คิดว่าเด่นที่สุดไม่เกิน 5 ผลงาน ความยาวไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4ทางสาขาจะมีไฟล์แนบมาให้ในระบบนะครับ ฟอร์มก็จะมีหน้าอธิบาย หน้าตารางที่บอกชื่อผลงาน การบอกประเภทของผลงาน(หลายประเภทในงานเดียวก็ลงได้) หน้าที่บอกหน่วยงานที่ให้รางวัล(ถ้าไม่มีก็ว่างเหมือนเราได้เลย) และก็หน้าสรุปผลงานการเขียนสรุปผลงานสามารถทำได้ทั้งพิมพ์ใส่ word ทั้งปรินต์มาเขียนปากกา หรือเขียนผ่านปากกาดิจิทัล แท็บเล็ต ไอแพด Apple Pencil ก็ย่อมได้ ส่วนตัวเราเลือกพิมพ์ใส่ word เพราะรู้สึกว่ามันโอเคกว่าลายมือตัวเอง และไม่รกด้วยการเขียนสรุปผลงานมันก็ไม่มีวิธีการเขียนที่ตายตัวนะครับ รูปแบบการเขียนของคนเรามันหลากหลายความคิดมาก ๆ ใครจะเล่าเรื่อง ใครจะใช้การเล่นค่ำเพื่อให้เนื้อหาของตัวเองมีลูกเล่นก็แล้วแต่เลย แต่ก็ได้ไปอ่านรีวิวของรุ่นพี่และถามรุ่นพี่มาบ้าง หลัก ๆ ควรจะมี ชื่อผลงาน เราทำหน้าที่อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา กระบวนการทำผลงาน ผลงานชิ้นนี้มันมีผลกระทบต่อสังคมหรือคนอื่น ๆ ยังไงเราจะขึ้นย่อหน้าใหม่เพื่อแยกหรือแบ่งผลงานให้ชัดเจนนะครับ กรรมการจะได้ไม่สับสน เราแอบรู้มาอีกว่า กรรมการชอบงานเขียนแบบเอาเนื้อ ไม่เอาน้ำ ส่วนตัวเราชอบใช้คำเปลือง คำฟุ่มเฟือย ก็ต้องตัดออกเลย ;-; ประหยัดพื้นที่ขึ้นมาอีกสุด ๆ ภาษาที่เราใช้เขียนก็ค่อนข้างวิชาการและทางการหน่อย แต่สรรพนามเราใช้ผม ไม่ถึงกับใช้กระผมนะ 555555555 ฟอร์มสรุปผลงานตัวนี้เขียนเสร็จ เราเอาไปแปะไว้หลังไฟล์ Portfolio เลยวันที่ 8 มีนาคม 2566 เป็นการตรวจสอบสถานะเอกสาร ของเราขึ้นผ่านหมดเลย แต่มีเพื่อนคนนึงในกลุ่ม Open Chat เป็นเคสตัวอย่างที่ผลงานไม่ตรงกับสาขา แล้วไม่มีสิทธิ์แก้ไขเลย ทำให้ไม่สามารถผ่านเข้าไปสอบวิชาความถนัดได้อีกคนเอกสารมีปัญหาที่ไม่ได้ส่งไฟล์สรุปผลงานไปด้วย แต่ก็ยังมีโอกาสได้แก้ไขอยู่วันที่ 20 มีนาคม 2566 จะขึ้นสถานะมีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก ก็คือได้ไปสอบวิชาความถนัดทางวารสารสนเทศและสื่อใหม่ที่ จุฬาฯ นั่นเอง หลักจากที่เราสอบวิชาความถนัดไปเมื่อ 26 มีนาคม 2566 ไปนะครับ สถานที่สอบคือ อาคาร อ.ป.ร. อยู่ทางฝั่งแพทย์จุฬาฯ จากที่พักก็แอบไกลหน่อย นักเดินทางสุด ๆ // กด muvmi ไปส่ง ราคาย่อมเยาว์ปีหน้าลุ้นเอานะว่าจะได้อาคารไหนบรรยากาศหน้าตึกสอบก็คือคนเยอะมาก เพราะไม่ได้มีแค่สาขานี้จัดสอบยังมีคณะสาขาอื่น ๆ ในรอบโควตามาสอบด้วย ตึกสอบโครงสร้างแบบงงนิดนึง เราสอบชั้น 3 แต่ชั้น 3 จะต้องขึ้นลิฟต์ แต่เรากับเพื่อนหาทางขึ้นลิฟต์ไม่เจอ ก็ถามเจ้าหน้าที่ชั้น 2 เอา จนได้คำตอบ สอบ 8.30 น. จะต้องเข้าห้องสอบก่อน 15 นาทีด้วย เจ้าหน้าที่เคร่งสุด ๆสิ่งที่ต้องเตรียมไปคือ บัตรประชาชน บัตรเข้าห้อง (บางปีใช้ แต่ปีเราไม่ใช่นะ)ดินสอ ปากกา ยางลบ ถุงซิปล็อคทางศูนย์ทดสอบมีให้ ต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน ชุดนิสิต ชุดนักศึกษา ไม่มีชุดสุภาพ อะไรทั้งนั้น แต่สีผมเหมือนจะไม่เคร่งนะมีนาฬิกาฉายให้จอใหญ่มาก ๆ เหมือน CU-TEP เลย เป็นโต๊ะเก้าอี้เลคเชอร์ คนถนัดซ้ายแบบเราก็ต้องทำใจ และแอร์หนาวมากครับ ทำข้อสอบไม่เป็นสุขเลย เราบอกไว้ข้างบนแล้วนะครับว่า ปีนี้ข้อสอบมีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่แบบสับ แต่แค่ข้อเดียวเท่านั้น จากปีก่อน ๆ จะเห็นว่า ใช้เวลาสอบทั้งหมด 1 ชั่วโมง 30 นาที 50 ข้อ แต่ปีนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง !!! เราแบบตกใจมาก นานขนาดนี้ ไม่ใช่ข่าว 100 ข้อเลยเหรอวะ สรุปความจริงทั้งหมดก็คือข้อสอบปีนี้ มีทั้งหมด 2 ตอน มีอัตนัยและปรนัยตอนที่ 1 ข้อสอบอัตนัย 10 คะแนน เป็นการเขียนเรียงความ ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ มีหัวข้อให้เลือก 1 หัวข้อ จาก 2 หัวข้อบทบาทสื่อในการสร้างและพัฒนา Soft power ในสังคมไทย (เราเขียนเรื่องนี้)บทบาทสื่อในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยมีเกณฑ์บอกไว้ด้วยว่า จะต้องมีการเขียนด้วยอะไรแบบไหน ลูกเล่นการใช้คำ การนำเสนอ การกล่าวถึงสื่อ การมีเหตุผลมาสนับสนุนหรือรองรับความคิด แบบ โห ขนาดนี้เลยนะตอนที่ 2 ข้อสอบปรนัย มีทั้งหมด 4 ส่วน ความรู้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน 10 ข้อ เป็นข่าวแบบทั่วโลกมาก ระดับความยากแบบกลาง ๆ พอเดาได้ บางเรื่องไม่รู้คือไม่รู้ไปเลย เช่นรางวัลศรีบูรพา สงครามยูเครนรัสเซีย อะไรแบบนี้ ออกแบบจับฉ่ายมาก ๆความรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ 10 ข้อ จะยกตัวอย่างสถานการณ์เกี่ยวกับสื่อสารสนเทศ วิเคราะห์ยากกว่าข้อสอบไทย สังคมมาก ๆๆๆๆ เพราะตัดชอยส์ทีก็เหลือ 2 ชอยส์ตลอดเลย จะชอบถามแบบสถานการณ์นี้แบบไหนดี แบบไหนไม่ดี ควรแก้ไขปัญหาอย่างไร ฯลฯ ความสนใจสื่อใหม่/สื่อดิจิทัล 15 ข้อ เป็นแนวเกี่ยวกับสื่อใหม่ ความเทคโนโลยีใด ๆ อย่าง Immersive Metaverse มีถามใครเป็นเจ้าของ Bitkub พวกธุรกิจการเงินดิจิทัลก็มาแรง อ่าน ๆ ไว้ก็ดีนะ ยังมี TikTok ทำให้เพลงทรงอย่างแบดดังได้ยังไง แล้วชอยส์ไม่ใช่ง่าย ๆ ด้วยความสนใจวารสารสนเทศ 15 ข้อ ขอบเขตแบบสายข่าวเวอร์ ๆ เช่น พาดหัวข่าวไหนอ่านแล้วดูเงื่อนงำ ส่วนไหนคือส่วนประกอบของข่าว อ่านพวกหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์ นิตยสารไว้ก็โอเค แถมยังมี 2 บทความยาว ๆ ให้วิเคราะห์ด้วย เปิดพลิกไปพลิกมาสุด ๆ ต้องตั้งใจอ่าน โฟกัสกับมันมาก ๆ ไม่งั้นหลุด กลับไปอ่านใหม่บทความที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับตะวัน-แบมอดอาหารและน้ำ จาก The matterบทความที่ 2 เป็นเรื่องเวทีเสวนา สำรวจภูมิทัศน์การเมืองภาคประชาชนไทยร่วมสมัย ทิศทางการเคลื่อนไหวที่ต้องทบทวน โดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จาก Way magazine ซึ่งทั้ง 2 บทความโจทย์ก็จะมาแนว ปัญหาเกิดจากอะไร มีวิธีการแก้ไขปัญหายังไง ส่วนไหนคือปัญหาจริง ๆ ของเรื่องนี้ เราเองก็แอบจำไม่ได้แล้ว ฮรือ TTทั้งหมด 3 ชั่วโมง เราเลือกได้นะว่าจะทำตอนไหนก่อน อยู่ที่เราจะบริหารเวลาได้เลย 3 ชั่วโมงเราว่าก็คุ้มดี เราทำปรนัยก่อนค่อยทำอัตนัย เราดูเวลาตลอดบอกเลยว่า 50 ข้อ 1 ชั่วโมง 30 นาที เราทำไม่ทัน พอมี 3 ชั่วโมงก็ช่วยได้เยอะเลย ตอนอัตนัยเราก็ทำเสร็จก่อนประมาณ 15 นาที แต่ 4 นาทีสุดท้ายก็มาแก้ไขคำใหม่ให้มันอ่านออกมาแล้วดูดีขึ้นกว่าเดิมวิธีเตรียมตัว เราลิสต์ข่าวไว้ก่อนว่ามีข่าวอะไรดัง ๆ บ้าง ทั้งในไทย ต่างประเทศ ข่าวเทคโนโลยี ข่าวดิจิทัล หาดูคลิปย้อนข่าวพวกนี้ในยูทูบ อ่านตามมติชน The Standard, BBC, CNN อ่านข่าวแล้วก็มาเขียนสรุปข่าวลงสมุดตามความเข้าใจ นอกจากข่าวดังแล้วก็ลองหาข่าวเฉพาะกลุ่ม ที่หานำเสนอยากหรือคนรู้จักน้อย ดีไม่มีดี อาจจะมาออกสอบแบบงง ๆ ส่วนเรียงความลองหัดเขียนดูนะครับ ลองเลือกประเด็นทางสังคมสักเรื่องมาเขียน ฝึกความเคยชิน การใช้คำเชื่อมที่ดูเหมาะสมกับบริบท ใช้แบบไม่มากไม่น้อยจนเกินไปหลังสอบเสร็จเราเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์แบบนานมาก ใช้เวลากับสิ่งนี้นานสุด ๆ เตรียมตัวทุกวัน โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ไหม ถามรุ่นพี่มาเยอะมาก รบกวนรุ่นพี่สุด ๆจนมาถึงวันที่ 26 เมษายน 2566 เป็นวันประกาศผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ นานมากกกกก กว่าจะประกาศ รอตั้งหลายวัน สรุปเราก็ไม่ติดสัมภาษณ์ ขึ้นมาหน้าแบบนี้เลย ตอนเปิดหน้านี้คือความรู้สึกแรกแบบว่า อ้างว้าง แล้วเหมือนโดนลากไปตบหน้ากลางสี่แยก เสียดายเหมือนกันครับที่ไม่ติด อยากมีโอกาสได้พูดได้คุยกับอาจารย์กับเขาบ้าง หนทางที่เราจะเข้านิเทศฯ จุฬาฯ ได้จบละครับ รอบ 3 คะแนนภาษาที่สามไม่ถึงขั้นต่ำ อดยื่นเลย แต่ชีวิตก็ต้องเดินหน้าต่อไป เราทักไปบอกข่าวร้ายและขอบคุณรุ่นพี่สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ ทั้ง JR JN มันแบบ ไม่คิดว่าจะต้องมาบอกข่าวร้ายแบบนี้กับรุ่นพี่ทั้งหลาย แต่รุ่นพี่ JN ท่านหนึ่งก็ได้บอกไว้ว่า เราเป็นเหมือนกับ The late bloomer เบ่งบานเสมอ แค่รอเวลา(ที่จะได้ผลิบานในแบบของเรา)ก็จบแล้วนะครับสำหรับการรีวิวข้อสอบวิชาความถนัดทางวารสารสนเทศและสื่อใหม่ ฉบับคนมีประสบการณ์สอบแต่ไม่ติดสัมภาษณ์มารีวิวเองงงงง ชีวิตแบบมีใจรักในการทำ Content และ Fact เพราะ JN ไม่ใช่แค่ข่าว แต่มันคือ Content และ Fact หวังว่ากระทู้นี้ของเราจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ เขียนวนบ้าง เขียนไปเรื่อยพร่ำเพรื่อบ้าง แต่อันนี้เป็นกระทู้แรกในเด็กดีของเราเลย โชคดีนะครับ น้อง ๆ 67 และรุ่นถัด ๆ ไปที่สนใจในโควตาสาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย#แอบได้ยินมาว่ารอบสอบสัมภาษณ์โหดมาก แต่ความโหดมันแฝงไปด้วยความสนุก ท้าทายและเป็นตัวเอง ! ภาพปก โดยผู้เขียน ภาพที่ 1-8 โดยผู้เขียน เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !