รีเซต

ทำความรู้จัก 6 ผู้สร้างชิปสำหรับสมาร์ตโฟน ทั้งจากสหรัฐฯ และเอเชีย

ทำความรู้จัก 6 ผู้สร้างชิปสำหรับสมาร์ตโฟน ทั้งจากสหรัฐฯ และเอเชีย
TNN ช่อง16
13 สิงหาคม 2565 ( 15:14 )
127
ทำความรู้จัก 6 ผู้สร้างชิปสำหรับสมาร์ตโฟน ทั้งจากสหรัฐฯ และเอเชีย

โทรศัพท์มือถือทั่วโลกมีจำนวนกว่า 16,000 ล้านเครื่อง และในปี 2025 คาดการณ์กันว่ายอดตัวเลขจะพุ่งขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 18,000 ล้านเครื่อง ด้วยเหตุนี้ ชิป (Chip) ซึ่งเป็นหัวใจของมือถือ โดยเฉพาะสมาร์ตโฟนจึงมีความต้องการโตตามยอดจำหน่ายไปด้วยกัน และเมื่อเจาะลึกลงไปก็จะพบว่า ในโลกนี้มีผู้เล่นหลักที่ป้อนชิปให้กับมือถือและสมาร์ตโฟนเพียง 6 ราย เท่านั้น


แอปเปิล (Apple) เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของทีเอสเอ็มซี (TSMC) จากการเลือกออกแบบชิปแล้วส่งต่อให้ทีเอสเอ็มซี (TSMC) ผลิตเป็นส่วนใหญ่ โดยชิปของแอปเปิลเป็นชิปแบบฝังระบบปฏิบัติการภายในตัว (System on Chip: SoC) โดยใช้ชื่อรุ่นเอ (A Series) สำหรับสมาร์ตโฟนในสายการผลิตปัจจุบัน เช่น เอ 15 ไบออนิก (A15 Bionic) ชิปรุ่นแรงสุดที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) บนไอโฟน (iPhone) 


ควอลคอมม์ (Qualcomm) เป็นผู้ผลิตชิปสำหรับสมาร์ตโฟนที่ใหญ่ที่สุดจากสหรัฐฯ ที่อยู่ในสมาร์ตโฟนแทบทุกยี่ห้อของโลก เช่น เลอโนโว (Lenovo) ซัมซุง (Samsung) ออปโป้ (Oppo) โดยปีนี้บริษัทได้เปิดตัวชิปรุ่นสแนปดราก้อน 8 เจน 1 (Snapdragon 8 Gen 1) และสแนปดราก้อน 8 พลัส เจน 1 (Snapdragon 8+ Gen 1) ที่แรงใกล้เคียงกับเอ 15 ไบออนิก (A15 Bionic) ของแอปเปิล (Apple) อีกด้วย


มีเดียเทค (MediaTek) เป็นคู่แข่งจากไต้หวันที่ขับเคี่ยวคู่กันมากับควอลคอมม์ (Qualcomm) และเป็นที่จับตามากขึ้นจากการเปิดตัวไดเมนสิตี้ 9000 พลัส (Dimensity 9000+) ที่แรงเป็นอันดับ 2 รองจากชิปของแอปเปิล (Apple) แรงกว่าชิปจากควอลคอมม์ (Qualcomm) หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีภาพลักษณ์เป็นชิปตัวรอง แต่บริษัทยังคงจุดขายด้านความคุ้มค่าเหนือราคาต่อไปเช่นกัน


ซัมซุง (Samsung) นอกจากจะเป็นผู้ผลิตสมาร์ตโฟนแล้วก็ยังเป็นผู้ผลิตชิปให้กับสมาร์ตโฟนตัวเองเช่นกัน โดยใช้ชื่อรุ่นว่าเอ็กซ์ซีนอส (Exynos) อย่างรุ่นเอ็กซ์ซีนอส 2100 (Exynos 2100) แต่อย่างไรก็ตามก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าชิปจากบริษัทยังคงตามหลังชิปจากสหรัฐฯ อย่างควอลคอมม์ (Qualcomm) อยู่ในตอนนี้


นอกจากเกาหลีใต้ก็มีแบรนด์จีนอย่างหัวเว่ย (Huawei) ที่ถูกบีบให้ต้องผลิตชิปด้วยตัวเองจากพิษความขัดแยังทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ บริษัทจึงต้องสร้างนิเวศ (Ecosystem) ของตัวเองขึ้นมาทั้งหมด รวมถึงชิปในชื่อรุ่นคิริน (Kirin) อย่างเช่น รุ่น Kirin 9000 


ยูนิซ็อก (Unisoc) หรือสเปรดตรัม คอมมูนิเคชัน (Spreadtrum Communications) เป็นผู้ผลิตชิป (Chip) จากจีนที่วางตัวเองอยู่ในตลาดระดับกลางไปจนถึงระดับเริ่มต้น (Entry Level) ในตลาดสมาร์ตโฟน โดยมีรุ่นโดดเด่นเช่นรุ่น T770 Tanggula ปัจจุบันบริษัทอยู่ใต้ร่มเงาของชิงหวา ยูนิกรุ๊ป (Tsinghua Unigroup) ที่ถือหุ้นโดยมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) ของรัฐบาลจีน


บริษัทผู้ผลิตชิปสำหรับสมาร์ตโฟนในปัจจุบันมีทั้งการผลิตชิ้นส่วนชิปด้วยตัวเองทั้งหมด กับออกแบบด้วยตัวเองแต่จ้างบริษัทภายนอกผลิต โดยเฉพาะบริษัททีเอสเอ็มซี (TSMC: Taiwan Semiconductor Manufacturing Coporation)

ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่เป็นสารกึ่งตัวนำสำหรับทำชิปจากไต้หวันนั้นได้รับความไว้วางใจจากยักษ์ใหญ่ของโลกถึง 3 บริษัท ได้แก่ แอปเปิล (Apple) ควอลคอมม์ (Qualcomm) และมีเดียเทค (MediaTek)



ที่มาข้อมูล Statista, Techgeek360, Wikipedia

ที่มารูปภาพ Pixabay


ข่าวที่เกี่ยวข้อง