..." สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่านวันนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของการพูด ซึ่งการพูดเป็นทักษะที่สำคัญมากๆในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการศึกษา การทำงาน และการเข้าสังคม อีกด้วย การที่เราพูดเร็วเกินไปอาจทำให้คนที่ฟังเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด หรืออาจจะฟังคำพูดของเราไม่ทันและไม่ค่อยชัดเจนก็เป็นได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการฝึกซ้อมเพื่อควบคุมความเร่งและจังหวะในการพูด และนี่คือวิธีที่สามารถช่วยให้เราพูดช้าลงและพูดเข้าใจได้ง่ายขึ้น เรามาลองฝึกไปพร้อมๆกันเลยค่ะ "...1. ฝึกการหายใจ...การควบคุมเรื่องการหายใจจะช่วยให้เรามีจังหวะในการพูดและช่วยลดระดับความเร่งในการพูดลงได้ เราต้องฝึกการหายใจเข้าลึกๆ และหายใจออกช้าๆ ให้ฝึกการหายใจควบคู่ไปกับการพูด เพื่อฝึกให้มีการหายใจอย่างเหมาะสมและตรงกับการพูดของเรา การฝึกควบคุมความเร่งในการพูดให้ช้าลง จะช่วยให้คำพูดของเราชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการหายใจเข้าลึกๆและหายใจออกช้าๆ จะช่วยลดความตึงเครียดและช่วยให้เราสามารถควบคุมเสียงในการพูดได้ทำให้เรามีจังหวะในการพูด ไม่พูดเร็วจนเกินไป และไม่พูดรัวจนเกินไปค่ะ...2. ฝึกพูดคุยกับตัวเอง...การฝึกพูดคุยกับตัวเองเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้นในเรื่องของความเร็วและจังหวะของประโยคที่พูด หรือความชัดเจนของคำที่เราพูดออกมา ตัวอย่างเช่น เราฝึกพูดกับกระจกเพื่อให้ดูตัวเองว่าในขณะที่พูดเรามีบุคลิก การแสดงอารมณ์สีหน้าอย่างไรในเรื่องที่พูดเพราะบางทีอารมณ์ก็มีส่วนทำให้เราพูดเร็วและพูดรัวได้เช่นกัน อย่างเวลาเรารู้สึกตื่นเต้นหรือโกธรเรามักจะพูดเร็วและรัวใช่มั้ยค่ะ ดังนั้นเราลองสังเกตตัวเองดูว่าเราพูดเร็วและพูดรัวหรือไม่เมื่อเราอยู่ในห้วงอารมณ์เหล่านั้น แล้วเราก็ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆหายใจออกช้าๆเพื่อควบคุมอารมณ์ก่อนแล้วค่อยๆพูดนะคะ หรือว่าจะเป็นการพูดคุยกับตัวเองด้วยการบันทึกเสียงวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้รู้น้ำเสียงและระดับความเร็วในการพูดชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเราฟังเสียงที่เราได้บันทึกไว้ แล้วให้เราวิเคราะห์ว่าเราฟังแล้วเข้าใจในสิ่งที่เราพูดหรือไม่ ประโยคพูดชัดเจนหรือไม่ ระดับความเร็วอยู่ในระดับไหน ถ้าเราเห็นว่าเราพูดเร็วเกินไปก็ให้พยายามฝึกพูดช้าลงอย่าเร่งรีบพูดจนเกินไป ค่อยๆพูดนะคะ วิธีนี้ก็ช่วยได้ค่ะลองฝึกกันดูน๊าทุกคน...3. ฝึกออกเสียงแต่ละคำให้ชัดเจน...การที่เราพูดเร็วนั้นบางครั้งอาจทำให้คำที่พูดไม่ชัดเจนส่งผลให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่เราพูดได้ยาก ดังนั้นเราควรฝึกพูดให้ช้าลงและให้ความสำคัญในการออกเสียงแต่ละคำให้ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะคะ เราลองฝึกพูดช้าๆ พยายามออกเสียงให้ชัดเจนทุกสระและพยัญชนะเพื่อให้ความคิดและปากมีเวลาในการประมวลผลก่อนเริ่มคำถัดไป ดังนั้นถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับการออกเสียงแต่ละคำให้ชัดเจน ก็จะทำให้เราไม่ใส่ใจในคำพูดของเราเสมือนเรารีบพูดให้ประโยคนั้นจบๆไป ซึ่งเป็นการพูดเร็วและพูดรัวๆอาจจะทำให้เราไม่รู้ว่าเราพูดอะไรออกไปบ้างก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นแล้วการใส่ใจทุกคำทุกประโยคที่พูดออกมาและพูดให้ชัดถ้อยชัดคำก็จะช่วยให้เราพูดไม่เร็วจนเกินไปและความเร็วของการพูดจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมได้คือไม่ช้าเกินไปและไม่เร็วเกินไปนะคะ...4. การอ่านและการฟัง...การอ่านออกเสียงหรือการฝึกเปล่งเสียงออกมาวิธีนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้เราได้ฝึกพูดตามประโยคและการเว้นวรรคประโยคคำพูดได้อย่างถูกต้องเข้าใจคำได้ง่าย และอ่านออกเสียงได้อย่างชัดเจน การฟังก็เช่นเดียวกันเป็นการเก็บรวบรวมคำหรือประโยคต่างๆที่เรานำมากลั่นกรองและพูดออกไปทำให้เราได้ภาษาที่สละสลวยตามสื่อที่เราฟัง ผลของการฟังจะย่อมขึ้นอยู่กับสื่อที่เราได้รับ อย่างเช่น เราฟังข่าวเราก็ได้รู้วิธีอ่านข่าวของนักข่าว การเน้นคำการเน้นประโยคหรือน้ำเสียงที่เปล่งออกมาแล้วแต่สถานการณ์ในข่าวนั้นๆ หรือเราฟังรายการวาไรตี้ทอล์กโชว์ต่างๆเราก็จะได้รูปแบบการพูดการสื่อสารอีกแบบหนึ่งซึ่งเราก็จะเห็นได้จากภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้นๆ เพราะฉะนั้นแล้วการอ่านและการฟังสามารถช่วยให้เราไม่พูดเร็วหรือพูดรัวจนเกินไปได้ เพราะเราเข้าใจเรื่องการเว้นวรรคในการพูด ได้ภาษาสามารถรวบรวมคำที่จะพูดได้อย่างเหมาะสมค่ะ...5. ควบคุมอารมณ์...ในเรื่องของอารมณ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้เราพูดเร็วหรือพูดรัวจนฟังไม่รู้เรื่องที่พูด ตัวอย่างเช่น หากเรารู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล หรือรู้สึกโกธร บางครั้งเราจะควบคุมความเร็วในการพูดของเราไม่ได้ เหมือนสมองประมวลความคิดเราเร็วมาก จนทำให้คำที่เราเปล่งออกมาแบบรัวๆเร็วๆ และอาจจะพูดคำที่ไม่ดีออกมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราควรควบคุมให้อารมณ์ของเราสงบนิ่งลงก่อน แล้วค่อยๆพูด ค่อยๆสื่อสารออกไปนะคะ อารมณ์ตื่นเต้นก็เช่นเดียวกันค่ะ ทุกคนเคยเป็นเหมืนกันมั๊ยคะหรืออาจเป็นเฉพาะบางคนที่เวลาเรารู้สึกตื่นเต้นแล้วเราจะเสียบุคลิกที่เหมาะสมหรือที่เรียกกันว่าเก็บอาการไม่อยู่หรือเสียอาการ ซึ่งอาการของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป อาจจะทำให้เสียการควบคุมในการพูดและทำให้เราพูดเร็ว พูดรัว หรือพูดวกไปวนมาก็ได้นะคะ เพราะในสมองของเรามีความคิดมากมายที่อยากจะสื่อสารออกไป จนทำให้คู่สนทนาของเราฟังไม่ทันและไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูดออกไปค่ะ...6. รับฟังความคิดเห็นและคำติชม...การรับฟังความคิดเห็นและคำติชมจากผู้ฟังเมื่อเราได้พูดคุยกันแล้วเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มากที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้นว่าเป็นคนพูดเร็วและพูดรัวจนเกินไป จนทำให้ฟังไม่รู้เรื่องว่าเราพูดอะไร เพราะฉะนั้นแล้วเราพยายามอย่าน้อยใจในคำติของเพื่อนหรือผู้ฟังนะคะ ให้เรานำคำติชมเหล่านั้นมาพัฒนาตัวเองเพื่อประโยชน์ของตัวเราเองค่ะ บางครั้งเราอาจจะมองว่าการพูดของเราไม่ได้พูดเร็วอะไรมากมาย หรือมันก็เป็นเรื่องปกติที่เราพูดแบบนี้ แต่เราจะรู้มั๊ยคะว่า ความคิดเห็นและคำติชมนั้นมีผลต่อการพูดสื่อสารของเรามากค่ะ เพราะถ้าเราไม่ยอมรับในความคิดเห็นและคำติชมจากผู้ฟังของเราแล้ว เราก็จะไม่มีการพัฒนาในการพูดซึ่งอาจจะมีผลเสียต่อการสื่อสารและการเข้าสังคมในการทำงานของเราได้ ดังนั้นการรับฟังความคิดเห็นจะช่วยให้เราเข้าใจเสียงคนอื่นว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่้เราพูดหรือไม่ เพราะเรื่องของความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญในสนทนาและพูดคุยกัน ถ้าเราพูดคุยกันไม่รู้เรื่องซึ่งอาจจะเกิดจากการที่เราพูดเร็วๆรัวๆของเราอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่ยากฟังเมื่อเราพูด และไม่อยากคุยกับเราก็เป็นไปได้นะคะ ดังนั้นเราควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกันในช่วงเวลาที่เราได้พูดคุยกันน๊าทุกคน......" การฝึกพูดช้าและกระชับเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทนนะคะ แต่หากเราฝึกอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มความเป็นธรรมชาติและความมั่นใจในการพูดของเราได้ โดยเริ่มต้นจากการฝึกพูดช้าๆ ในบางส่วนของประโยคก่อน แล้วเพิ่มเติมตามทีละส่วนจนกระทั่งเราพูดช้าลงทั้งประโยค และที่สำคัญก็คือการทำเป็นนิสัยและฝึกให้ได้ในสถานการณ์ประจำวันอย่างต่อเนื่องนะคะ เพียงเท่านี้เราก็จะพูดกับเพื่อนได้อย่างราบรื่นและไม่มีปัญหาในการสื่อสารอีกต่อไปค่ะ สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ พบกันใหม่ในบทความหน้า สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ "... เครดิต1.ภาพหน้าปกและภาพประกอบทั้งหมดโดย ( Masukaza เจ้าของบทความ )2.ภาพหน้าปกและภาพประกอบทั้งหมดโดย Canva7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์