ถามว่ามีของ 2 สิ่งคู่กัน คือ ม้วนเทปคาสเซ็ทกับแท่งดินสอยาวแบบแท่งเหลี่ยม ใครรู้บ้างว่า 2 สิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันยังไง..? ติ๊ด.. ติ๊ด.. ติ๊ด.. หมดเวลา.. ถ้าคุณมีอายุ30ปีขึ้นไปจะร้อง อ๋อ..ทันที ก็เอาไว้กรอม้วนเทปน่ะซี นำแท่งดินสอสอดช่องตลับเทปข้างใดข้างหนึ่งแล้วยกหมุนควง ๆ ๆ ไปในอากาศสักพัก เส้นม้วนเทปก็หมุนไปจนสุดตลับเปิดตู้เย็นเห็นตลับเทปแช่อยู่ นั่นคือเทปยืด อ่า.. คือไรอ่ะ เทปยืดคือเส้นเทปที่ถูกเปิดบ่อย ๆ การดึงไปมาหลาย ๆ ครั้งเส้นเทปบาง ๆ จะยืดหย่อน เปิดทีเสียงหง่าว ๆ โหง่ง ๆ การนำไปแช่เย็นจะทำให้เส้นเทปหดตัวคืนปกติ บางครั้งก็แช่จนลืม ไปเปิดดูแกะออกมาแข็งโป๊ก (เพราะจะแช่ช่องฟรีซ)ต้องมาทำให้ละลาย สุดท้ายเทปเสียกว่าเก่าซะอีก นั่นคือกลิ่นอายของเด็กวินเทจยุคนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี 80's ยุคนั้นสื่อกำเนิดเสียงที่เรียกว่า "คาสเซทเทป" เจริญรุ่งเรืองมาก เรียกว่าเฟื่องฟูสุด ๆ คนยุคนั้นนิยมฟังเพลงตลับเทปคาสเซท และคลื่นวิทยุ หรือไม่ก็ตู้เพลงหยอดเหรียญ ตอนนั้นไม่มีYouTube หรือการดาวน์โหลดเพลงใด ๆ หรอก การเปิดก็ต้องใช้เครื่องเล่นเทป อาจจะเป็นเครื่องวิทยุเล็ก ๆ ที่มีช่องเล่น หรือไม่ก็เป็นเครื่องเสียงชุดใหญ่ที่มี 2 ช่องเล่น ไม่งั้นถ้าอยากฟังติดตามตัวก็ wolkman soundabout เลย เครื่องเล่นพกพาเล็ก ๆ ใช้หูฟัง อินเทรนด์สุด ๆ ยุคนั้น ค่ายยักษ์ใหญ่รายหนึ่งผลิตเครื่องนี้ออกมาจำหน่ายจนโกยเงินวัยรุ่นไปนับไม่ถ้วน"คาสเซทเทป" คือเส้นบาง ๆ ม้วนอยู่ในตลับพลาสติคแข็ง มีรู 2 ช่องเพื่อสอดแกนหมุนไปมาให้เส้นเทปสัมผัสหัวอ่านแม่เหล็กโดยตรง แม้จะไม่ถึงกับเสียงดีที่สุด แต่สาวกคาสเซทก็คลั่งใคล้ที่จะฟังจากสื่อเส้นเสียงนี้ การฟังเพลงที่เลือกแทร็คไม่ได้ ต้องกรอเทป กดไปกดมาไปโดนปุ่มอัดบันทึกทับเพลงโปรดล่ะปวดใจสุด ๆ ดังนั้นตรงสันตลับเทปจึงมีร่องสลักเล็ก ๆ ไว้ให้งัดออกเพื่อกันการบันทึกทับ แต่ถ้าหากต้องการจะบันทึกจริง ๆ ก็เอาสก็อตเทปมาปิดใหม่ได้"เทปคาสเซท " เป็นของหายากในยุคนี้ซะแล้ว นอกเสียจากบ้านไหนยังพอมีเก็บสะสมอยู่ แต่ปัญหาที่เครื่องเล่นจะหายากยิ่งกว่า ใครยังพอมีก็ลองงัดปัดฝุ่นเอามาเปิดดูนะครับ แล้วจะรู้สึกถึงเสน่ห์ของสื่ออนาล็อกยุคต้น ๆ ถ้าเทปมันยืดมีเสียงหง่าว ๆ บ้างก็ทำใจฟังให้ไพเราะ นึกเสียว่าสิ่งแบบนั้นเราหาฟังยุคนี้ไม่ได้อีกแล้ว.. /// Cr.ภาพปกและประกอบทั้งหมดจาก pixabay.com