ปัจจุบันภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนต่อในระดับการศึกษาต่าง ๆ หรือว่าจะเป็นการสมัครเข้าทำงานในบริษัท ทั้งหมดนี้ต่างก็ต้องอาศัยผลสอบวัดระดับภาษาเพื่อประกอบการตัดสินใจรับคนเข้า Test of English for International Communication หรือ TOEIC ก็เป็นหนึ่งในการสอบวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้คนนิยมสอบเช่นกัน ขอบอกตามตรงว่าตัวผมเองไม่เคยสอบ TOEIC มาก่อน แต่ก็เคยสอบวัดระดับภาษาอังกฤษแบบอื่น และได้ฟังเทคนิครวมถึงประสบการณ์จากคนรุ่นราวคราวเดียวกันมามาก ฉะนั้นผมจึงได้มั่นใจว่าผมสามารถให้คำแนะนำกับน้องรุ่นหลังที่ต้องการจะสอบได้แน่นอนแต่ก่อนที่จะมาเข้าเรื่องการเตรียมตัวสอบ ผมว่าพวกเรามาทำความรู้จักกับรูปแบบการสอบก่อนดีกว่า ข้อสอบ TOEIC ในปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น การวัดทักษะการฟังและอ่าน กับ การวัดทักษะการพูดและเขียน เพราะฉะนั้นก่อนสอบเราควรจะดูก่อนนะครับว่า เกณฑ์การพิจารณารับผู้เข้าสมัครของสถานศึกษาหรือบริษัทนั้น ๆ ต้องการให้เราสอบในรูปแบบไหน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมาพวกเขาจะต้องการวัดทักษะการฟังและอ่านของผู้เข้าสมัครมากกว่าผมทราบดีว่าการเตรียมตัวสอบของแต่ละคนคงจะไม่ได้เหมือนกันไปเสียทั้งหมด ในบทความนี้ผมจึงจะมาแชร์วิธีการเตรียมตัวสอบในแบบของผมเอง (แทรกด้วยวิธีของเพื่อน ๆ ที่ผมเคยได้ไปฟังมา) เพื่อให้ผู้อ่านนำไปเป็นแนวทางในการเตรียมสอบต่อไป โดยเฉพาะคนที่ต้องการจะอ่านหนังสือสอบด้วยตนเอง ซึ่งจะแบ่งช่วงการเตรียมสอบออกเป็นสามช่วงนะครับ ได้แก่ ช่วงปูพื้นฐาน ช่วงการทำข้อสอบจำลอง และสุดท้ายก็คือช่วงเก็บตกก่อนการสอบจริง หวังว่าเทคนิคที่ผมจะแชร์นั้นจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ1) ช่วงปูพื้นฐานก่อนที่จะลองไปทำข้อสอบแบบเสมือนจริงได้นั้น ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องมีพื้นฐานในเรื่องที่จะสอบเสียก่อน ในที่นี้ผมก็หมายถึงคลังคำศัพท์ที่มีในหัวของเรา รวมไปถึงความรู้ด้านไวยกรณ์ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบที่พอจะมีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษอยู่บ้างอาจจะไม่ต้องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นล้านคำและไม่ต้องท่องจำไวยกรณ์ได้ทุกรูปแบบ แต่สิ่งที่ควรจะมีเลยก็คือความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้อันจำกัดที่เรามีมาใช้ในการสอบ ตัวอย่างเช่น เมื่อเจอคำที่ไม่รู้จักให้ลองนึกดูว่าคำนี้มาจากคำไหนประกอบกันได้บ้าง คำจำพวก prefix หรือ suffix สำคัญกับการใช้เทคนิคนี้มากเลยล่ะครับระหว่างที่ฝึกเรื่องการเดาคำ ก็ให้ลองปรับให้สมองเข้ากับภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น เช่น ฟังเพลงภาษาอังกฤษพร้อมกับลองแปลเนื้อเพลงไปด้วย, อ่านบทความภาษาอังกฤษแล้วจับใจความ หรือว่าจะหาอะไรทำสนุก ๆ อย่างการเล่น Social Media ฝั่งของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักดู เนื่องจากช่องทางเหล่านี้จะทำให้เราได้เห็นถึงหลักการใช้ภาษาในแบบของเจ้าของภาษาจริง ๆ อาจจะได้เจอสำนวน หรือคำแสลงดี ๆ ที่ใช้ในห้องสอบได้ก็ได้นะ แล้วคุณจะตกใจ เมื่อเวลาผ่านไปคุณรู้สึกตัวว่าตนเองสามารถใช้ภาษาได้คล่องมากขึ้นเองครับ2) ช่วงการทำข้อสอบจำลองถึงจะคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษมาบ้างแล้ว แต่คุณก็ไม่ควรจะวางใจไม่อ่านทบทวนต่อ เนื่องจากการสอบวัดระดับภาษายังต้องอาศัยเทคนิคระหว่างการทำข้อสอบด้วย เพราะอย่างนั้นเอง ผมจึงอยากจะแนะนำให้ทุกคนลองทำข้อสอบจำลองอย่างน้อยห้าถึงสิบชุดก่อนการทำข้อสอบจริงครับ ในช่วงนี้การจะมีหนังสือเตรียมสอบ TOEIC ซักเล่มก็ไม่เสียหาย เพราะหนังสือเตรียมสอบพวกนี้จะมีการทำแนวข้อสอบให้ผู้ซื้อลองทำข้อสอบกันอยู่แล้ว ข้อควรระวังในการทำข้อสอบจำลองด้วยตัวเองก็คือ เราจำเป็นต้องเตือนตัวเองทุกครั้งไม่ให้เปิดดูเฉลยก่อน ต้องจับเวลาในการสอบ ไม่มีการหยุดเวลาเพื่อพักผ่อน ไม่มีการพลิกหน้ากระดาษไปดูส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการสอบจำลองรอบนั้น เมื่อทำได้ตามนี้ คุณก็จะมีผลสอบตามความเป็นจริงที่สุดแล้ว หากคะแนนที่ทำเป็นที่น่าพอใจก็แล้วไป แต่หากคะแนนต่ำกว่าที่คุณคาดหวังไว้ก็มาเริ่มขั้นตอนการฝึกต่อไปครับ Part Listening ส่วนใหญ่จะเน้นการฟังทั้งโจทย์ทั้งคำถาม ผู้เข้าสอบจะต้องฟังให้ทัน จับใจความให้ได้ โดยที่ไม่มีโอกาสซ้ำสอง บางข้อก็ยังมีการหลอกด้วยการใส่ Keyword จากทุกตัวเลือกเข้าไปอีก สิ่งที่สามารถฝึกได้คือการลองเข้าไปฟัง Podcast ภาษาอังกฤษที่หลากหลายเพื่อให้ชินกับหลายสำเนียง ระหว่างฟังก็ลองเขียนใจความสำคัญลงบนกระดาษ ถ้า Podcast นั้นทำ subtitle ด้วยจะดีมาก เพราะหลังจากฟังเสร็จในครั้งแรก ก็สามารถกลับมาฟังพร้อมอ่าน subtitle ในรอบที่สอบเพื่อตรวจสอบว่าเราสรุปถูกมั้ย มีใจความใดที่พลาดไปหรือไม่Part Reading ไม่มีเทคนิคไหนจะดีไปกว่าการอ่านบทความภาษาอังกฤษให้เยอะเท่าที่จะทำได้แล้วครับ โดยระหว่างที่อ่านก็อยากให้คุณขีดเส้นใต้หรือไม่ก็ไฮไลต์ข้อความสำคัญจากแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าละประโยคสองประโยค การอ่านบทความภาษาอังกฤษเหล่านี้ก็จะช่วยขัดเกลาทักษะไวยกรณ์ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการยิงปืนได้นกสองตัวเลยนะครับการฝึก Part Speaking สามารถฝึกไปควบคู่กับ Part listening ได้ กล่าวคือ เมื่อเราได้เรียนรู้สำนวนจากการฟัง Podcast แล้ว ให้ลองนำสำนวนนั้นมาแต่งประโยคเป็นของตนเองโดยการแต่งประโยคจากหนึ่งสำนวนควรปรับระดับความยากขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่น เมื่อเรียนสำนวนหนึ่งได้ ก็ให้ลองแต่งเป็นประโยคที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับบทพูดใน Podcast จากนั้นเพิ่มระดับไปพูดคล้ายบทสนทนาที่มีสำนวนนี้แทรกเข้าไป สุดท้ายก็ให้ลองอธิบายสิ่งรอบตัว หรือคิดคำถามแล้วตอบด้วยสำนวนนั้นประมาณห้าถึงหกประโยค ข้อดีของการทำแบบนี้คือคุณสามารถทำเมื่อไหร่ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมีกระดาษหรืออุปกรณ์ให้ยุ่งยาก เพียงแค่พูดออกมาก็เท่านั้น (ย้ำว่าต้องพูดออกมานะครับ ไม่ควรคิดอยู่ในใจ) ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คุณพูดคล่องแน่ครับส่วน Part Writing นั้น พูดตามตรงว่าผมก็ไม่ถนัดเท่าไหร่นัก แนะนำได้แค่ว่าในช่วงที่ฝึกการเขียนอยู่นั้น หากเขียนแบบอื่นที่ไม่ใช่เขียนลงบนกระดาษ ก็ควรจะปิดฟีเจอร์แก้ไขคำอัตโนมัติเสียก่อน ไม่งั้นมันก็ไม่ถือว่าเป็นการสอบจริงไหมล่ะครับ3) ช่วงเก็บตกก่อนสอบจริงช่วงนี้จะเป็นทั้งจุดอิ่มตัวของใครหลาย ๆ คน ไม่รู้ว่าควรจะทบทวนอะไรดี ไม่รู้ว่าควรจะอ่านต่อดีไหม หรือควรจะทำข้อสอบต่อดี คนอีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในจุดที่ต้องเร่งรีบอ่าน เร่งทบทวนให้ทัน ผมขอแนะนำตรงนี้เลยว่าวันสองวันก่อนการสอบ คุณควรทำใจให้สบาย ไม่เครียดมากเกินไป แต่ก็ไม่ปล่อยวางมากไปจนกลับไปเล่นเกม ในช่วงนี้ให้คุณกลับไปดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเองว่าสิ่งที่คุณทำนั้นคืบหน้าไปได้มากแค่ไหน แล้วในวันสอบก็ให้จดจำการฝึกฝนเหล่านี้ไว้ให้ดีสุดท้ายแล้ว เทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองด้วย ว่าคุณนั้นเหมาะกับการฝึกฝนลักษณะเดียวกับผมหรือไม่ หากผู้อ่านมีวิธีการทบทวนข้อสอบในแบบอื่นก็สามารถเข้ามาแชร์กันได้นะครับ ขอให้โชคดีกับการสอบครับเครดิตภาพภาพปกและภาพประกอบที่ 4 ถ่ายโดยผู้เขียนภาพประกอบที่ 1 : Freepik by Jannoon028ภาพประกอบที่ 2 : Freepik by freepik ภาพประกอบที่ 3 : Freepik by freepik 7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์