ภาพประกอบปกบทความโดย Daniel Reche จาก Pexelsเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมคำศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำถึงมีขีด “- ” คั่นกลางระหว่างคำสองคำด้วย ทำไมไม่เขียนยาวต่อเนื่องกันไปทั้งประโยคเลยล่ะ ?จริง ๆ แล้วการที่คำศัพท์สองคำนั้นจำเป็นจะต้องมีเครื่องหมายขีดคั่นกลางก็มีที่มาที่ไปอยู่นะคะ ไม่ได้ขีดเล่น ๆ หรือขีดเพื่อความสวยงามเวลาข้อความตกบรรทัด แต่ขีดที่คั่นกลางอยู่ระหว่างคำสองคำนั้นมีไว้เพื่อบอกว่า สองคำนี้ถูกรวมเป็นคำคำเดียวกันและกำลังทำหน้าที่ขยายคำที่อยู่ถัดไปในประโยคค่ะเราเรียกคำสองคำที่มีขีดคั่นกลางว่า “Compound Adjective” นั่นเอง ซึ่งเราก็ไม่จำเป็นต้องไปจำหรอกค่ะว่ามันเรียกว่าอะไร เพียงแต่สิ่งสำคัญก็คือเราจะต้องทราบว่าเมื่อไหร่ที่เราจะต้องเขียนขีดคั่นกลางระหว่างคำสองคำนี้ไว้ จะขอยกตัวอย่างประโยคง่าย ๆ ดังนี้ค่ะภาพถ่ายโดย Life Of Pix จาก Pexels“Can you do a dairy-free version of the breakfast ?” คุณสามารถทำอาหารเช้าแบบ dairy-free ได้หรือไม่ ?จะเห็นได้ว่าคำว่า Dairy กับคำว่า Free นั้นโดยปกติจะเป็นคำที่มีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ในประโยคนี้มีการนำทั้งสองคำมารวมกันเพื่อสุดท้ายแล้วต้องการที่จะไปขยายคำว่า Breakfast ดังนั้น จึงต้องมีการขีดขั้นกลางระหว่างคำว่า Dairy กับคำว่า Free เอาไว้เพื่อให้รู้ว่าในประโยคนี้ คำว่า Dairy-free เป็นคำคำเดียวกันและกำลังขยายคำอีกคำหนึ่งในประโยคอยู่ ซึ่งในประโยคนี้ Dairy-free Breakfast จะหมายถึงอาหารเช้าที่ไม่มีนมหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากนมผสมอยู่นั่นเองค่ะมาดูตัวอย่างอีกประโยคหนึ่งกันดีกว่าภาพถ่ายโดย Daria Shevtsova จาก Pexels“Is there a low-calorie section on your menu ?” มีอาหารแคลอรี่ต่ำอยู่ตรงส่วนไหนของรายการอาหารไหมคะ ?สังเกตเห็นกันแล้วไหมคะว่า คำว่า Low และคำว่า Calorie มีขีดกลางคั่นอยู่ ซึ่งผู้ถามก็กำลังมองหารายการอาหารแคลอรี่ต่ำอยู่นั่นเอง และก็ใช้หลักการเดิมเลยก็คือ คำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกัน หากจะนำมารวมกันเป็นคำคำเดียวกันจะต้องมีการขีดคั่นกลางเอาไว้ด้วย จึงกลายเป็นคำว่า Low-calorie นั่นเองค่ะถ้าเริ่มเข้าใจ Compound Adjective กันขึ้นมาบ้างแล้ว ลองมาดูประโยคนี้กันบ้างค่ะ“Our entire menu is gluten free.” รายการอาหารของเราทั้งหมดนี้ปราศจากกลูเตนนะคะมาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะสงสัยขึ้นมาว่า เอ.. คำว่า Gluten free นั้นกำลังขยายคำว่า Menu อยู่ไม่ใช่เหรอ ทำไมถึงไม่มีขีดคั่นกลางเหมือนสองประโยคก่อนหน้าล่ะ นั่นเป็นเพราะว่าคำประเภท Compound Adjective จะมีการขีดคั่นกลางระหว่างคำสองคำก็ต่อเมื่อคำนั้นอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าคำนามที่ต้องการขยายเท่านั้น เช่น “We don’t have any gluten-free dishes” แต่ถ้า Compound Adjective ถูกวางไว้หลังคำนามหรือวางไว้ท้ายสุดของประโยคเมื่อไหร่ ก็ไม่จำเป็นต้องขีดคั่นแต่อย่างใดค่ะภาพถ่ายโดย Malidate Van จาก Pexelsขอยกตัวอย่างอีกประโยคหนึ่งนะคะ“All of our meat is locally sourced.” เนื้อของเราทั้งหมดนี้ได้จากแหล่งในท้องถิ่นในประโยคนี้ คำว่า Locally sourced ก็จัดเป็น Compound Adjective เช่นเดียวกัน แต่ที่ไม่มีขีดคั่นกลางนั่นเป็นเพราะว่าคำคำนี้ถูกวางไว้หลังคำนามหรือท้ายประโยคนั่นเองเป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเข้าใจคำประเภท Compound Adjective กันมากขึ้นหรือเปล่าเอ่ย ไม่ยากเลยใช่ไหมละคะ ทริคง่าย ๆ ก็คือเราจะขีดขั้นคำศัพท์ Compound Adjective ก็ต่อเมื่อมันถูกวางไว้หน้าคำนามเท่านั้น ถ้าวางไว้หลังคำนามหรือท้ายประโยคก็ให้เขียนตามปกติได้เลย และก่อนจะจบบทความกันไปก็ขอฝากคำศัพท์ประเภท Compound Adjective ให้ลองไปฝึกเขียนแต่งประโยคกันค่ะSmoke-free, Good-looking, Old-fashioned, Well-known, Duty-free, Second-hand, High-qualityแล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะบ๊ายบาย :D