ถ้าพูดถึงเรื่องภาษาที่สอง ใคร ๆ ก็คงอยากเก่งในภาษาต่างประเทศด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากสมัยนี้การที่คุณอ่าน เขียน พูด ได้ในภาษาที่สอง สาม สี่ เป็นเรื่องที่ดีส่งเสริมให้คุณได้เปรียบใครหลายคนที่ยังอ่อนในด้านภาษาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน หรือการทำงาน ล้วนแต่ต้องใช้ทักษะทางด้านภาษาด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีที่ช่วยให้เพื่อน ๆ หรือผู้ที่กำลังมีปัญหาเรื่องการจำคำศัพท์ให้จำคำศัพท์ได้มากขึ้นค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ1. จดคำศัพท์ภาพโดย StartupStockPhotosการจดคำศัพท์ถือเป็นการทวนคำศัพท์ไปในตัวอีกครั้ง หลังจากที่เราได้อ่านไปแล้วหนึ่งรอบ อีกทั้งการจดคำศัพท์ยังสามารถกลับมาอ่านทวนได้ตลอดจนกว่าเราจะจำได้ วิธีที่ทำให้จำได้อีกครั้งหลังจากจดนั้น ควรเขียนทวนคำศัพท์นั้น ๆ ซ้ำและอ่านออกเสียงตลอดเวลาที่เขียนคำศัพท์ลงไป จะยิ่งทำให้เราจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ2. อ่านคำศัพท์ตามป้ายต่าง ๆ ภาพโดย Free-Photosการที่เราเจอคำศัพท์ตามป้ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแสดงว่าคำศัพท์พวกนี้มีโอกาสได้ใช้ในชีวิตประจำวันแน่นอนค่ะ การที่เราอ่านคำศัพท์ตามป้ายบอกทางระหว่างทางที่คุณไปทำงานหรือไปเรียนเป็นประจำทุกวันจะทำให้คุณจำคำศัพท์พวกนั้นได้โดยอัตโนมัติ เป็นวิธีที่ทำให้เราคุ้นชินกับคำศัพท์และจำได้ง่ายขึ้นนั้นเองค่ะ3. Flash cardภาพถ่ายโดย Miguel Constantin Montesการทำ flash card เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยจำคำศัพท์ได้ดี เป็นเกมส์คำศัพท์ที่ช่วยให้เราได้จำคำศัพท์ไปพร้อม ๆ กับการเล่นเกมส์ ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อต่อการจำคำศัพท์นั้น ๆ และยังช่วยเสริมสร้างทักษะในการจำแถมยังช่วยให้มีสมาธิมากยิ่งขึ้นอีกด้วย flash card จะทำให้เรื่องจำคำศัพท์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป4. คุยกับเจ้าของภาษาภาพโดย StockSnapการที่เราได้คุยกับเจ้าของภาษาเราจะได้ทั้งสำเนียง รูปประโยค และคำศัพท์ต่าง ๆ ที่บางทีเราอาจจะยังไม่รู้คำศัพท์เหล่านั้นเลยก็ได้ การได้คุยกับเจ้าของภาษาจะช่วยให้เรากล้าที่จะพูดมากขึ้น เนื่องจากคนบางคนตื่นเต้นจนพูดหรือเรียบเรียงประโยคไม่ถูก การที่เราได้ลองคุยกับเพื่อนต่างชาติ อาจช่วยให้คุณคุ้นเคยกับการคุยกับเจ้าของภาษามากขึ้น ทำให้ตื่นเต้นน้อยลง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะลองหาเพื่อนต่างชาติคุยดูนะคะ5. ตกหลุกรักภาพโดย Linus Schütz การตกหลุมรักอะไรสักอย่างเราจะมีความรู้สึกรัก คิดถึงและอยากเจอตลอดเวลา การเรียนก็เหมือนกันค่ะ เราต้องเรียนเหมือนเราตกหลุมรักมันไปแล้ว เราจะได้รู้สึกอยากเจอคำศัพท์ คิดถึงคำศัพท์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนมากขึ้น และเมื่อเรามีความรู้สึกแบบนั้น เราก็จะเก่งคำศัพท์ได้โดยไม่ลำบาก อย่างไรก็ตามการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ต้องควบคู่กับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขยัน อดทน มีวินัย สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณมีความพยายามมากแค่ไหน แล้วสักวันคุณก็จะเก่งขึ้นได้ด้วยความพยายามของคุณเองภาพโดย Free-Photos