รีวิวคณะ “บัญชี จุฬาฯ”วันนี้จะมาขอรีวิวคณะที่ผู้เขียนได้เคยสำเร็จการศึกษามา (อย่าถามว่ากี่ปีแล้ว) นั่นก็คือคณะบัญชี ที่จุฬาฯ หรือจะเรียกเต็ม ๆ ว่า “คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งในปัจจุบันได้ใช้อีกชื่อหนึ่งเพื่อให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นนั่นก็คือ Chulalongkorn Business School หรือตัวย่อว่า CBS นั่นเอง โดยที่ CBS นั้นเป็นสถานศึกษาบริหารธุรกิจแห่งแรกของโลกที่ได้รับรองมาตรฐาน AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) (อ้างอิงจาก https://www.chula.ac.th/academic/faculty-of-commerce-and-accountancy/)โครงสร้างคณะและหลักสูตรคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีการศึกษาทั้งในระดับปริญญาโท ปริญญาตรี และปริญญาเอก แต่เนื่องจากผู้เขียนนั้นจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จึงขออธิบายโครงสร้างคณะและหลักสูตรของปริญญาตรีตามความถนัด ซึ่งแบ่งได้ดังต่อไปนี้1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีหนึ่งสาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชีเท่านั้น เป็นการเรียนบัญชีอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ขั้นต้น ไปจนขั้นสูง บัญชีบริหาร บัญชีต้นทุน วิชาสอบบัญชี ภาษีอากร จากมุมมองของผู้เขียนเองที่จบจากหลักสูตรนี้มองว่าจุดมุ่งหมายหลักของเรียนการสอนในสาขานี้ คือการผลิต “ผู้ตรวจสอบบัญชี” ออกสู่โลกของการทำงาน โดยร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการตรวจสอบบัญชีอย่าง Big 4 นอกจากนี้ผู้ที่สำเร็จการศึกษายังสามารถเป็นนักบัญชี หรือพนักงานแผนกบัญชีในบริษัทต่าง ๆ ได้(รูปภาพจากเจ้าของบทความ)2. หลักสูตรบริหารธุรกิจ หลักสูตรนี้จะประกอบด้วย2.1 ภาควิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ หรือที่เรียกกันติดบอกว่าภาค Entre ที่ย่อมาจาก Entrepreneur แปลว่าผู้ประกอบการ2.2 ภาควิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ หรือ Management Information Systems (MIS) เป็นการนำเทคโนโลยี โปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำธุรกิจ2.3 ภาควิชาการธนาคารและการเงิน เป็นภาควิชาที่สอนในด้านเครื่องมือทางการเงิน เงินต้น ดอกเบี้ย สกุลเงินต่าง ๆ ตราสารต่าง ๆ เช่น ตราสารหุ้น และการลงทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด2.4 ภาควิชาการตลาด จะเน้นเกี่ยวกับการทำ Marketing แบบครบวงจร ตั้งแต่หลักการตลาด การตั้งราคา การหาช่องทางจัดจำหน่าย การวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ตลาด และอื่น ๆ2.5 ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ จะเน้นเรื่องของการจัดการด้านการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ภาคพื้นดิน เรือ และอากาศ นอกจากนี้ได้เรียนรู้วิธีการวางแผนและบริหารสินค้าในคลังอีกด้วย และยังมีการเรียนการสอนอื่น ๆ อีกมากมาย เกี่ยวกับการขนส่งและสินค้า เพื่อให้ลดต้นทุน เพิ่มกำไร และสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ3. ภาควิชาสถิติ เป็นการเรียนการสอนในการเก็บข้อมูลเชิงสถิติโดยละเอียด ซึ่งมีทั้งสถิตประยุกต์ สถิติคณิตศาสตร์ ประกันภัย ฯลฯ เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบคณิตศาสตร์และสถิติ และสนใจที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไปวิเคราะห์และหาแนวโน้มส่วนภาควิชาอินเตอร์ หรือที่เรียกว่า BBA นั้นจะมีหลักสูตรของการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และการบัญชีขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/photos/accounting-report-credit-card-761599/จุดเด่นของคณะ1. เมื่อเข้ามาแล้วจะได้รุ่นที่นำหน้าด้วยคำว่า Shi และตามด้วยเลขรุ่นของเรา อย่างเช่นเจ้าของบทความเป็นนิสิตในคณะบัญชีรุ่นที่ 73 ก็จะเรียกว่า Shi732. ในช่วงรับน้องมีการแบ่งกรุ๊ป โดยสุ่ม และคละภาควิชากัน (ยกเว้นสถิติจะแยกเป็นกรุ๊ป Stat) บัญชี บริหาร BBA จะมาอยู่ร่วมกัน แล้วแต่ว่าเราจะได้อยู่กรุ๊ปไหน ข้อดีของการแบ่งกรุ๊ปคือจะทำให้เรารู้จักเพื่อนต่างภาควิชาที่หลากหลายมากขึ้น สนิทกับเพื่อนเร็วขึ้น และถือเป็นจุดเด่นของคณะเลยก็ว่าได้ เพราะเวลาเพื่อนต่างคณะรู้ว่าตัวเราเรียนอยู่คณะนี้ เขาก็จะถามว่า “อยู่กรุ๊ปอะไร”ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/person-writing-on-notebook-669615/ของอร่อยประจำคณะโรงอาหารของคณะจะมีหลัก ๆ อยู่ 2 ที่ นั่นก็คือโรงอาหารที่ใต้ตึกมหิตลาธิเบศร (เป็นตึกที่ส่วนใหญ่จะใช้เรียนร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์) โดยที่มีเมนูอร่อยหลายอย่าง อย่างเช่นร้านอาหารอีสาน ที่ขายส้มตำ และไก่ย่างเป็นชิ้นใหญ่ ๆ สามารถสั่งแบบทานกับข้าวสวยได้ น้ำจิ้มอร่อย ตักผักได้ไม่อั้นอีกที่หนึ่งก็คือซุ้มอาหารด้านนอก จะเป็นโซน Outdoor บริเวณกรุ๊ปที่รับน้อง เมนูที่ฮิตที่สุดจนต้องต่อคิวกันยาวเหยียดก็คือร้านก๋วยเตี๋ยว ที่ผู้เขียนเองก็ชอบสั่งบะหมี่ยำหมูกรอบ และเส้นเล็กยำปลาสด ส่วนเครื่องดื่มขอยกให้น้ำโรมิโอ เป็นน้ำแดงผสมน้ำสมบวกมะนาวเข้าไป เปรี้ยวจี๊ด สดชื่น หายง่วงเลยทีเดียว และมีน้ำเขียวที่ชื่อจูเลียตด้วยหรือถ้าใครอยากกินหรู ๆ แอร์เย็น ๆ ก็มีห้างจามจุรีสแควร์ และน้องใหม่ล่าสุดอย่างสามย่านมิตรทาวน์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/person-holding-paper-in-left-hand-and-pen-on-right-hand-sitting-beside-desk-2058132/การสอบเข้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันใช้ระบบ TCAS ในการสอบเข้า เหมือนกับหลาย ๆ คณะในมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง ซึ่งทุกท่านสามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ (มีความแตกต่างจากปีที่ผู้เขียนสอบเข้าอยู่มากพอสมควร)หากใครสนใจคณะที่เกี่ยวกับด้านการทำธุรกิจ "บัญชีจุฬาฯ" หรือ "Chula Business School" อาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับคุณได้โอ้