ไวรัสไม่ว่าชนิดไหน เมื่อเวลาผ่านไปโครงสร้างของไวรัสแต่ละชนิดก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และถ้าโครงสร้างของไวรัสเปลี่ยนไปมากพอก็จะกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ต่างจากสายพันธุ์เดิม การกลายพันธ์ุนี้อาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงขี้น แพร่กระจายได้ง่ายขึ้น หรืออาจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่วัคซีนสร้างขึ้นมา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีระดับของความรุนแรงต่างกันเพื่อให้สามารถรับมือกับการระบาดของไวรัสได้ องค์การอนามัยโลกจึงได้จัดระดับความรุนแรงของไวรัสแต่ละสายพันธุ์ขึ้นเพื่อให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรการรับมือกับสายพันธุ์ที่แต่ละชนิดกันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งระดับสายพันธ์ุแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่ สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) สายพันธุ์ที่ต้องได้รับความสนใจ (variant of interest) และสายพันธุ์ที่ต้องติดตาม (Variants Under Monitoring)สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern) สายพันธุ์ที่น่ากังวลเป็นสายพันธุ์ที่มีข้อมูลและหลักฐานชัดเจนที่ระบุว่าทำให้มีอัตราการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้น อาการของโรครุนแรงขึ้น เช่น ผู้ป่วยหนักที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลหรือผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นระหว่างการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีนลดลงปัจจุบันองค์การอนามัยโลกประกาศให้มีสายพันธุ์ที่น่ากังวลทั้งหมด 5 สายพันธุ์ได้แก่ Alpha พบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ, Beta พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ , Gamma พบครั้งแรกที่ประเทศบราซิล , Delta พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย , Omicron พบครั้งแรกในกลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้สายพันธุ์ที่ต้องได้รับความสนใจ (variant of interest)สายพันธุ์ที่ต้องได้รับความสนใจเป็นสายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของไวรัสจนมีโอกาสที่จะทำให้มีอัตราการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้น อาการของโรครุนแรงขึ้น เช่น ผู้ป่วยหนักที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลหรือผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นระหว่างการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีนลดลงปัจจุบันองค์การอนามัยโลกประกาศให้มีสายพันธุ์ที่ต้องได้รับความสนใจทั้งหมด 2 สายพันธุ์ได้แก่ Lambda พบครั้งแรกที่ประเทศเปรู , Mu พบครั้งแรกที่ประเทศโคลัมเบียสายพันธุ์ที่ต้องติดตาม (Variants Under Monitoring)สายพันธุ์ที่ต้องติดตามเป็นสายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของไวรัสที่อาจจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดหรืออาจทำให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต แต่หลักฐานหรือข้อมูลทางระบาดวิทยายังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มขึ้นและการประเมินอีกครั้งโดยรอหลักฐานใหม่ในอนาคตนอกจากนี้ทาง CDC ยังเพิ่มระดับความรุนแรงของสายพันธุ์ไว้อีกหนึ่งระดับคือ สายพันธุ์ที่อยู่เหนือการควบคุม (Variant of High Consequence) เป็นสายพันธุ์ที่สามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโรครุนแรง ดื้อยารักษา หลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีน แต่เรายังโชคดีที่ขณะนี้ยังไม่มีสายพันธุ์ไหนอยู่ในระดับสายพันธุ์ที่อยู่เหนือการควบคุมหลายคนอาจจะกังวลว่าสายพันธุ์ Omicron อาจจะทำให้เกิดการระบาดใหญ่อีกครั้ง แต่เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บริษัทที่ผลิตวัคซีนหลายแห่งก็ได้ประกาศออกมาแล้วว่าสามารถผลิตวัคซีนที่สามารถจัดการกับสายพันธุ์ Omicron ได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า และสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือการเฝ้าระวังตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเองไว้ก่อนข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก และ CDCภาพปกจาก canva /ภาพประกอบจาก Unsplash / Fusion Medical Animation ภาพที่ 1 / Martin Sanchez ภาพที่ 2 / Viki Mohamad ภาพที่ 3 / Matteo Jorjoson ภาพที่ 4 / visuals ภาพที่ 5อัปเดตข่าว ดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี!