สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์ในการเก็บเงินของเราเอง มนุษย์เงินเดือนหมื่นห้า ตอนแรกเราประสบปัญหาอยากเก็บเงินแต่พอสิ้นเดือนไม่รู้เงินมันไปไหนหมด ไม่เหลือเก็บเลย พอไปหาวิธีเก็บในอากู๋ google. ก็มีหลายวิธีมากวิธีที่เราเอามาประยุกต์ใช้คือแบ่งเงินเป็นกองแล้วใช้ตามงบที่ตั้งไว้ เงินเดือนเข้าวันไหนก็ให้แบ่งวันนั้นเลย ให้เราเก็บก่อนใช้เสมอเราแบ่งเงินเป็น 4 กองจำเป็น 60% = ค่าใช้จ่ายทุกเดือน พวกค่าบ้าน ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตแพ็คเกจมือถือ ค่าอาหาร ค่ารถโดยสาร ค่าของใช้ในบ้าน ค่าบัตรเครดิต เป็นต้นใช้จ่ายระยะยาว 20% = พวกค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายปีละครั้ง พวกค่าส่วนกลางโครงการบ้าน, ค่าประกันอัคคีภัยบ้าน, ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ค่าเทอมลูก เป็นต้น หรือเก็บตามเป้าหมาย เช่น ดาวน์รถ ดาวน์บ้าน ค่าซ่อมบ้าน เป็นต้นเงินฉุกเฉิน 15% = เราเก็บ 6 เท่าของเงินเดือน ย้ำของเงินเดือนนะไม่ใช่ของรายจ่ายต่อเดือน เรามีมันไว้เพื่อใช้ตอนฉุกเฉินจะได้ไม่กระทบกับเงินลงทุน (ถ้าเก็บครบ 6 เดือนแล้ว เดือนถัดไปก็เอาไปใส่ส่วนของลงทุนให้หมดเป็น 20% แต่ถ้าเราใช้เงินฉุกเฉินส่วนนี้ไป ก็ต้องเอามาเติมให้ครบ 6 เท่าของเงินเดือนเหมือนเดิมนะ)ลงทุน 5% = ในความหมายเราคือ เก็บไว้ใช้ตอนแก่ ควรเก็บเกิน 5 ปี เราซื้อกองทุนรวม กับ ฉลากออมสิน เพราะซื้อด้วยจำนวนเงินน้อยๆ ได้กฎเหล็กเพื่อเป้าหมายเราจะไม่เอาเงินเก็บสำหรับฉุกเฉินมาใช้ถ้าไม่จำเป็น กรณีฉุกเฉิน เช่น ตกงาน เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเร่งด่วน เป็นต้นไม่ฉุกเฉินอย่าเอาออกมาใช้เราจะไม่เอาเงินเก็บที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายปลายปีมาใช้ก่อนเด็ดขาด อย่างเช่น “เสื้อตัวนี้สวยจังเลย แต่งบที่จะซื้อไม่มีแล้ว เอาเงินที่จะจ่ายค่าประกันปลายปีมาจ่ายก่อนแล้วกัน ของมันต้องมีอ่ะ” แบบนี้ไม่ได้นะ ความมีวินัยจำเป็นมาก และจำไว้เสมอว่าอย่าคาดหวังกับโบนัสที่จะได้ปลายปีจากบริษัท เราเคยประสบปัญหานี้แล้ว ไม่ได้ตามที่หวังไว้ คราวนี้งานงอกเลย หาเงินหมุนแทบไม่ทันเงินลงทุนต้องเก็บอย่างน้อยเกิน 5 ปี ใช้เงินตามงบที่ตั้งไว้ ห้ามเกินงบพออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนต้องมีคำถามในใจแน่ว่า มันจะเป็นไปได้หรอ! ทำได้จริงมั้ยเราจะบอกว่ามันทำได้จริง เพราะเราทำมาแล้ว ขอแค่มีวินัยและทำตามกฎเหล็กที่เราตั้งไว้อย่างเคร่งครัด ถ้าคุณเห็นว่ามันดี อยากทำตามเรา แต่ค่าใช้จ่ายมันเยอะเกินไป ตึงมือเกินไป ลองปรับสัดส่วนเงินให้เข้ากับตัวเองก่อน แต่แนะนำให้เก็บเงินฉุกเฉินไว้ซัก 10% ก่อนยังไม่ต้องเอาเงินไปลงทุนก็ได้ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงร่วมด้วย แต่ถ้าลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ซักอย่างเลย เราแนะนำให้หาอาชีพเสริม หรือไม่ก็หาทางอัปเงินเดือน ถ้าเราลดรายจ่ายไม่ได้ ก็ต้องไปเพิ่มรายรับแทน เป็นกำลังใจให้มนุษย์เงินเดือนทุกคนที่อยากมีเงินเก็บคร้าที่มารูปภาพรูปปกและรูปภาพที่ 1 pixabay โดย PixTreatsรูปภาพที่ 2 pexels โดย Karolina Grabowskaรูปภาพที่ 3 pexels โดย Karolina Grabowskaรูปภาพที่ 4 pexels โดย cottonbro studio เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !