คณะสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค ถือเป็นคณะสายสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เป็นจำนวนมากต่อปี หากแต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก คนทั่วไปอาจจะสงสัยว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร? จบไปทำงานแบบไหน? เราจึงขอหยิบยกเรื่องน่ารู้ 5 หัวข้อเพื่อที่จะทำให้คุณผู้อ่านโดยเฉพาะน้องๆมอปลายรู้จักเกี่ยวกับคณะนี้มากขึ้น เผื่อจะเป็นทางเลือกเพื่อการตัดสินใจในอนาคตค่ะ1. รังสีเทคนิคคืออะไร? พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่4) พ.ศ.2556 ได้ให้ความหมายไว้ว่า รังสีเทคนิคคือ การกระทำใดๆต่อมนุษย์โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉันโรคหรือการวิจัย ด้วยวิธีการทางรังสีวิทยาหรือการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างอื่นที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา2. คณะสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิคคืออะไร?ชื่อเต็มๆคือหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค หรือ Bachelor of science program in radiological teachnology โดยเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพร่วมผลิตระหว่างคณะสหเวชศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์3. เรียนกี่ปี?มีหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ 4 ปี4. การประกอบวิชาชีพต้องมีใบอนุญาตอะไรไหม?การประกอบวิชาชีพจำเป็นจะต้องดำรงตำแหน่ง ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค (Registered radiologic technologists) หมายถึง ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือเมื่อเรียนจบแล้วต้องสอบใบประกอบวิชาชีพก่อนถึงจะทำงานได้นั่นเองค่ะ5. จบรังสีเทคนิคแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?หมวดวิชาชีพของรังสีเทคนิค แบ่งหลักๆออกเป็น รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา รังสีฟิสิกส์รังสีวินิจฉัย จะทำงานเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยรังสีของกายวิภาคมนุษย์เพื่อการวินิจฉัย ร่วมรักษา และการรักษาโรค ตัวอย่างเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับบุคลากรในสาขานี้ก็ได้แก่ Computed tomography (CT) ,General x-ray machine (X-ray) เป็นต้นรังสีรักษา คือการทำงานเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยรังสี เช่น การทำคีโมเพื่อยับยั้งการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง เป็นต้นตัวอย่างเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับบุคลากรในสาขานี้ก็ได้แก่ Intensity-modulated radiation therapy (IMRT) ,Volumetric-arc radiation therapy (VMAT)รังสีเทคนิคสาขารังสีฟิสิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อที่มีฟังก์ชันการทำงานผิดปกติก่อนที่จะแสดงออกมาทางกายภาพ เช่น การตรวจมะเร็งในระยะแรกเริ่มตัวอย่างเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับบุคลากรในสาขานี้ก็ได้แก่ Positron Emission Tomography (PET) , Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT)นอกจากนี้ด้วยการที่มีความรู้ด้านเครื่องมือแพทย์เป็นอย่างดีทำให้สามารถผันตัวไปเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขายยอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าเป็นสาขาที่มีอาชีพรองรับที่หลากหลายมาก โดยเฉพาะการทำงานเป็นนักรังสีในโรงพยาบาลซึ่งยังคงขาดแคลนในปัจจุบันขอบคุณภาพประกอบภาพปก โดย คุณ Bokskapet, ภาพที่1 โดย คุณ mufidpwt, ภาพที่2 โดย คุณ Mitrey , ภาพที่3 โดย คุณ Mitrey , ภาพที่4 โดย คุณ Mitrey จาก Pixabay*STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"* ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565