สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้พิมพ์ใจจะมาแชร์ประสบการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ส่วนตัวได้จากการเขียนบทความของโครงการ True ID In-trend นะคะ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจแต่ยังลังเลอยู่ว่าจะเขียนดีไหม จะเขียนได้หรือเปล่า มาดูกันค่ะ (บทความยาวมากแต่อยากให้อ่าน...) ขอเล่าก่อนนะคะว่า เริ่มแรกเลยพิมพ์ใจเพิ่งเรียนจบค่ะ ไม่มีความรู้ด้านการเขียน ต้องการหารายได้แต่อยากทำงานที่บ้าน ก็หาข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนไปเจอว่ามีการเปิดให้เขียนบทความ เป็นของ True ID มีค่าตอบแทนด้วย ก็เสิร์จหาข้อมูลจนตัดสินใจสมัครเป็นนักเขียนค่ะ เริ่มจากศูนย์เลย เขียนบทความแรกวันที่ 15 มกราคม เขียนทิ้งไว้เรื่อย ๆ รออนุมัติอยู่ประมาณ 20 ค่ะ พอผ่านก็เริ่มมีกำลังใจเขียนต่อไป (เล่าคร่าว ๆ แค่นี้เนอะ)รูปภาพโดย พิมพ์ใจ ผู้เขียน เรามาเข้าประเด็นกันเลยดีกว่าว่า หลังจากที่มาทำงานเขียนจริง ๆ ขอเรียกว่าเป็นนักเขียน(มือใหม่) ของ True ID In-Trend ละกันนะคะ พิมพ์ใจได้อะไรจากโครงการนี้ ไปดูกันค่ะ1. สร้างรายได้สร้างอาชีพ รูปภาพโดย Pexels อย่างแรกที่ได้แน่ ๆ คือค่าตอบแทนค่ะ โดยบทความแรกเลยจะได้ 300 บาท (แบ่งเป็นเงินโบนัสของบทความแรก 200 บาท แล้วก็ค่าบทความอีก 100 ใครที่ทำภารกิจด้วยก็บวกเพิ่มอีก 50 บาท) รวม ๆ บทความแรกก็อยู่ที่ 300-350 บาท ประมาณนี้ค่ะ พอเราผ่านบทความแรกแล้วเนอะ บทความต่อไปเราจะได้ค่าบทความอยู่แล้วแน่ ๆ คือ 100 บาท โดยทาง True ID In-Trend ก็จะมีภารกิจเพิ่มเติมให้เราทำในทุก ๆ วัน หมุนเวียนกันไป หากเราทำก็จะได้ค่าภารกิจเพิ่มอีก 50 บาท โดยจะโอนเขา True Money สมมตินะคะ วันนี้ได้ภารกิจสุขภาพ โดยถ้าเขียนตามภารกิจแล้วเนื้อหาผ่าน ก็จะได้ 150 บาท/บทความ แต่ในทางกลับกันถ้าไม่เขียนหมวดสุขภาพแต่เปลี่ยนไปเขียนหมวดอาหารแทนแล้วกดส่ง ถ้าผ่านก็จะได้ 100 บาท/บทความ จะเขียนกี่บทความก็ได้ใน 1 วัน ไม่จำกัดถ้าเขียนไหว ซึ่งหมวดหมู่ในการเขียนบทความก็หลายหลายกันออกไปค่ะ เลือกได้ตามความถนัดของเราเลย ซึ่งก็ทำให้มีรายได้ แถมไม่มีข้อจำกัดด้วย จะยังเป็นวัยนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หากคุณมีความสามารถด้านงานเขียนคุณก็สามารถเขียนได้ ซึ่งจากที่ดูในกลุ่มแล้วก็มีเพื่อนนักเขียนอยู่หลากหลายช่วงอายุเลยค่ะ ตอนนี้ก็ทำเป็นอาชีพหลักเลยค่ะ ไม่ได้ทำงานประจำ2. ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆรูปภาพโดย Pexels อย่างที่บอกไปว่าไม่มีความรู้ด้านการเขียนมาก่อนเลย ไม่รู้ว่าการเขียนสามารถสร้างอาชีพได้หรือมีอาชีพนี้อยู่ อย่างที่พอรู้บ้างก็คือรู้ว่ามีอาชีพนักเขียน แต่เข้าใจว่านักเขียนเจาะจงแค่เฉพาะวงการการเขียนหนังสือ วารสาร นิตยสารต่าง ๆ แค่นั้น ไม่รู้ว่าการเขียนบทความ การสร้างคอนเทนท์แบบนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพ ซึ่งพอได้มาคลุกคลีเรียนรู้และทำมันจริง ๆ ทำให้รู้สึกว่า มันสนุก ท้าทายและก็สร้างประโยชน์ได้ไปในตัวและต่อยอดไปได้ ในมุมมองของคนอ่านคือหลัก ๆ ได้ความรู้ ทริคดี ๆ จากตัวผู้เขียน แต่ในมุมมองส่วนตัวที่ได้เป็นผู้เขียนคือมันได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ สิ่งที่ไม่มีอยู่ในหัวว่าอยากทำ ไม่คิดว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ ก็จนทำมันออกมาได้ในที่สุด ผลงานอาจจะไมได้ดีมาก มีผิดมีแก้แต่อย่างน้อยเราก็ได้ก้าวผ่านความกลัวในใจสู่ประสบการณ์ใหม่ที่ท้าทาย ส่วนตัวงานเขียนหรือบทความมันคือการเรียนรู้ค่ะ มันคือห้องเรียนห้องนึงที่ถ้ามีโอกาสก็อยากให้ทุกคนมาเรียนด้วยกัน3. เปิดโลกและเปลี่ยนมุมมองความคิดรูปภาพโดย Pexels การเขียนบทความส่วนตัวคือมันใหม่มาก ๆ ใหม่จริง ๆ ค่ะ ไม่เคยเขียนบทความมาก่อน มากสุดก็แค่เรียงความค่ะ และไม่ชอบงานเขียนเอาเสียเลย แต่พอได้มาเขียนได้ทำมันจริง ๆ คือเปิดโลกของตัวเองเลย ทั้งความคิด จินตนาการ ทัศนคติและความสามารถของเรา ยกตัวอย่างคือ...ก่อนที่บทความจะเผยแพร่ ต้องผ่านการตรวจสอบจากทีมบรรณาธิการ (บก.) ก่อน ก็มีทั้งผ่าน ไม่ผ่านและที่ต้องแก้ไข แรก ๆ ที่ได้รับคอมเม้น คำแนะนำและเทคนิคต่าง ๆ จากทีมบก.ก็แอบนอยด์ ท้อ จนไม่อยากเขียนต่อ แต่พอได้แชร์ข้อมูลเรื่องราวกับเพื่อนนักเขียนท่านอื่น ๆ ก็มีกำลังใจมากขึ้น ฮึ้บสู้อีกครั้ง นำความรู้ คำแนะนำ กำลังใจที่ได้รับมาปรับมุมมองความคิดใหม่ คิดทบทวนเปิดใจให้กว้าง จนเข้าใจว่าทีมบก.อยากให้บทความออกมาดีและเพอร์เฟคที่สุด ต้องยอมรับคำติคำวิจารณ์ให้ได้แล้วปรับปรุงแก้ไข บางบทความที่ไม่ผ่านอาจจะยังไม่น่าสนใจและไม่โดดเด่นจริง ๆ ด้วยเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่าน ข้อมูลก็ต้องอัพเดทหรือใช้เทคนิคของเราเล่าผ่านมุมมองของตัวเอง ซึ่งพอคิดดูมันก็เป็นผลดีต่อตัวเราและผลงานเราด้วย ใจเย็นรับฟังและเข้าใจอะไร ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตด้านอื่น ๆ ให้ดีขึ้นตามไปด้วย แถมได้คอนเทนท์ใหม่ ๆ จากปัญหาที่เจอด้วยน๊า ในวิกฤติมักมีโอกาสเสมอ 4. ตื่นตัวและช่างสังเกตรูปภาพโดย Pexels ส่วนตัวตื่นตัวตั้งแต่บทความแรก หลังจากที่ตัดสินใจว่าจะเขียนบทความ สิ่งแรกคือเสิร์จใน Google เลย การเขียนบทความคืออะไร เข้าไปอ่านความหมายของบทความ ดูรีวิวจากผู้ที่เขียนไปแล้วว่าสามารถเขียนอะไรได้บ้าง ซึ่งก็จะมีทั้งบทความวิชาการ การเขียนหนังสือ กระทู้ แคปชั่น(คอนเทนท์) โปรโมทสินค้าหรืออะไรต่าง ๆ ทำให้ถึงบางอ้อ!! เลยค่ะ ทุกอย่างที่เป็นตัวหนังสือเขาเรียกการเขียนทั้งหมด สายงานเขียนคือกว้างมาก หากจริงจังและต่อยอดพัฒนาตัวเองก็อาจจะสามารถสร้างรายได้ได้และเป็นนักเขียนชื่อดังได้เลย พอเข้าใจความหมายและประเภทงานเขียนต่าง ๆ เราจะเริ่มเกิดความคิดไอเดียใหม่ ๆ เห้ย!! อันนี้น่าสนใจว่ะ อันนี้สามารถเอาไปเขียนได้ไหม จะเริ่มสงสัย แรก ๆ คอนเทนท์ที่ได้จะมาจากเรื่องที่เราสงสัยไม่ก็เรื่องที่เราคุ้นชิน นำพาไปสู่การค้นคว้าและแชร์ต่อ พอเขียนไปเรื่อย ๆ เราจะสวมวิญญาณการเป็นนักสืบ นักค้นคว้าไปเองอัตโนมัติ เริ่มเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ในทุกวันที่ต้องทำเมื่อตื่นลืมตามาก็คือเข้าดูภารกิจรายวัน สายตาก็จะกว้างไกลหน่อย มีอะไรใหม่ ๆ มาหยิบมาแชร์ต่อ ก็เป็นการฝึกฝนและพัฒนาตัวเองไปพร้อม ๆ กันค่ะ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี 5. ได้เติมความรู้ใหม่ ๆรูปภาพโดย Pexels การเขียนบทความจะทำให้เรากลายเป็นคนหมั่นหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งออนไลน์และออฟไลน์(อ่านหนังสือ) อ่านตัวอย่างบทความของคนอื่น แนวคิดทัศนคติ ภาษาในการเล่าเรื่อง ทำให้รักการอ่านมากยิ่งขึ้นด้วย ความรู้ด้านการถ่ายรูปหากบทความนั้นเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องถ่ายรูปเอง เช่น บทความท่องเที่ยว รีวิวร้านอาหาร คาเฟ่ นั่นนี่ต่าง ๆ มุมไหนสวยอะไรยังไง ซึ่งบทความแต่ละประเภทก็ใช้มุมถ่ายรูปแตกต่างกันออกไป สำหรับนักเขียนมือใหม่บางครั้งก็จำเป็นต้องเข้าไปดูตัวอย่าง ท่องเที่ยวรูปถ่ายประมาณไหน ร้านอาหารต้องถ่ายรูปยังไง งานเขียนมันไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นการรวมศาสตร์หลาย ๆ แขนงไว้ด้วยกัน ซึ่งมันท้าทายและสนุกมาก ๆ มันเป็นการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ มันไม่เพียงแค่การเขียน ก็เป็นการเติมความรู้ให้ตัวเองในทุกวัน รวมถึงการเรียนรู้ตัวเอง ค้นพบและเข้าใจตัวเองมากขึ้น เพราะการเขียนบทความทำให้เราได้อยู่กับตัวเองจริง ๆ อยู่แบบจริงจังเลย ต้องใช้สมาธิ จัดการความคิดในหัว เมื่อเราได้อยู่กับตัวเองอยู่กับการเขียน ก็จะทำให้เรารู้ตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบทำอะไร ถนัดด้านไหน ส่วนตัวจากที่เขียนมาตลอดระยะเวลา 2 เดือนก็ค้นพบว่างานเขียนเป็นสิ่งหนึ่งที่ชื่นชอบ ^^รูปภาพโดย พิมพ์ใจ ผู้เขียน จริง ๆ อีกเยอะแยะเลยที่ได้จากการเขียนบทความ ขอบคุณทาง True ID In-Trend และทีมบรรณาธิการทุกท่านที่เปิดโอกาสให้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ความรู้คำแนะนำและกำลังใจ แถมยังเป็นช่องทางในการสร้างรายได้สร้างอาชีพ บางคนก็คือมีเงินซ่ออแซทบ้าน ซื้อนั่นนี่สิ่งของที่จำเป็นรวมถึงใช้จ่ายในชีวิตประจำ และขอบคุณมิตรภาพจากเพื่อน ๆ นักเขียนทุกคน อยากให้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ค่ะปล. เพียงแค่เราเชื่อมั่นว่าเราทำมันได้ เราก็จะทำได้แค่นั้นเอง อย่าให้ความกลัวในใจมาปิดกั้นศักยภาพในตัวเรา ผิดพลาดยังไงทีมบรรณาธิการพร้อมให้ความรู้และคำแนะนำอย่างเต็มที่แน่นอนค่ะ รูปภาพหน้าปกโดย Pexels