วิธีทำโมเดล "Freemium" ให้เห็นผล ฟรีและดีเก็บเงินก็ยอมจ่าย ว่าด้วยเรื่องการทำธุรกิจในยุคดิจิตอลนั้น มีเทคนิคกลยุทธ์หลากหลายแขนงให้เราได้ศึกษาและเก็บเกี่ยวนำมาใช้กับธุรกิจของเราแทบนับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นถ้าเป็นสาย tech หรือ สายเทคโนโลยีจะต้องเคยได้ยินคำว่า Freemium แปลง่าย ๆ ตรงตัวคือมาจากคำว่า Free กับ Premium นั่นเอง หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นมาอีกเล็กน้อย ลองนึกถึง แอป JOOX ที่เราสามารถโหลดมาใช้ฟังเพลงได้ฟรี แต่ถ้าหากไม่อยากมีโฆษณาคั่น หรืออยากฟังบางเพลงที่เป็น VIP ก็ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม หรือเช่นเดียวกับ YOUTUBE ที่เพิ่งเปิดการให้บริการแบบพรีเมี่ยมที่นอกจะไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างคลิปแล้ว เราสามารถฟังเพลงจาก YOUTUBE ในมือถือแบบปิดหน้าจอหรือล็อคจอได้ด้วย สิ่งเหล่านี้แหละที่เขาเรียกกันว่า Freemium คือการมีฟีเจอร์ที่สามารถใช้บริการได้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากอยากตัดบางอย่างออก หรือทำบางอย่างเพิ่มได้แบบ VIP คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเอง ยิ่งเข้าสู่ยุค NEW NORMAL หลังวิกฤตโควิดนี้แล้ว ลองสังเกตธุรกิจหรือแบรนด์ รวมไปถึง Product ของคุณเองหน่อยว่าสามารถนำโมเดลธุรกิจนี้ไปประยุกษ์ใช้เพื่อสร้างให้เกิดยอดขาย หรือการเติบโตได้บ้างหรือเปล่า ซึ่งวันนี้เราจะมาแชร์ว่าทำอย่างไร ถึงจะสามารถใช้โมเดล Freemium ให้ได้ผลดีกันบ้าง ต้องรู้จักพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกจาก ข้อนี้สำคัญมาก ดูตัวอย่างจาก YOUTUBE เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้บริการฟรีมายาวนาน จนมีข้อมูลการใช้ของ user ที่ค่อนข้างชัดเจนเมื่อตัวฟรี เป็นที่ต้องการแบบปฎิเสธไม่ได้ของ user และมีการสร้างความเคยชินในการใช้งานจนสามารถสร้าง โมเดล YOUTUBE Premium ทำให้ user ปฎิเสธไม่ได้ที่จะยอมเสียเงินเพิ่มเพื่อแลกกับการไม่มีโฆษณาคั่น หรือข้อด้อยบ้างอย่างสามาถนำมาปรับให้เป็นฟีเจอร์โดดเด่นได้เช่น เมื่อล็อคจอก็ยังสามารถฟังเพลงจาก YOUTUBE ได้ เหล่านี้มาจากข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าในเชิงการเก็บ สำรวจและวิจัยในเชิงลึกมาก่อน ต้องมีประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า ควรค่าที่จะใช้ ข้อนี้สำคัญมาก เราต้องพิจารณาธุรกิจของเราอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนว่า เหมาะสมกับการใช้ โมเดล Freemium หรือไม่ เพราะบางธุรกิจอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถมีฟีเจอร์ทั้งฟรี และพรีเมี่ยมได้ วิเคราะห์เริ่มต้นจาก ถ้าหากกำหนดฟีเจอร์ที่โดดเด่นขึ้นมาแล้ว แม้จะเป็นตัวฟรี ก็ยังต้องให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ หากตัดออกจะต้องไม่ส่งผลจนเป็นการบังคับให้ใช้ จนเกินไป ที่ฟรีต้องดีจริง อันนี้เป็นเรื่องความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นการเปิดอก เทใจให้กับลูกค้า ถ้าธุรกิจของเราจำเป็นและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมาแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเราจะเพิ่มการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการใช้โมเดล Freemium ทั้งนี้ลูกค้าต้องไว้ใจและมั่นใจในตัว Product และบริการของคุณก่อน จนสามารถบอกต่อได้นั่นแหละ เรียกว่าถึงเส้นชัยแล้ว ฟีเจอร์ Premium ต้องโดนใจจนเกิดการยอมซื้อ เมื่อวิเคราะห์ข้อต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปจนหมด หากปัจจัยทุกด้านพร้อมแล้ว คราวนี้ก็มาถึงตัวพรีเมี่ยม ที่เราจะนำเสนอให้กับลูกค้า เพื่อที่จะให้เขาจ่ายค่าบริการเพิ่มเติม หากมีฟีเจอร์ที่โดนใจ เช่น หากมีฟีเจอร์นี้แล้วจะทำให้ใช้ง่ายง่ายเพิ่มขึ้น (ไม่ต้องโดนรบกวนจากสิ่งอื่น ๆ ) หรือจะมีความพิเศษที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม อาจจะเป็นคอนเทนต์เฉพาะ ช่วงเวลาที่ได้ดูหรือฟังเร็วกว่า คนทั่วไป เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น การเก็บค่าบริการเพิ่มเป็นเรื่องที่ต้องมองให้ขาด ถ้าสามารถนำจุดด้อยออกมาเป็นจุดเสริม และเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้ ลูกค้าก็จะยอมจ่ายทันที ภาพปกและภาพประกอบที่ (3 / 4 / 5/ 6 ) จาก photo free for https://www.canva.com/ข้อมูลและภาพประกอบที่ 1 จาก https://www.youtube.com/premiumข้อมูลและภาพประกอบที่ 2 จาก https://www.joox.com/th/vip