ห๊ะ อะไรนะ !!! เศรษฐศาสตร์นะหรอ ไม่ค่อยสนิทเท่าไหร่นะ อย่าถามแยะ ผมว่าเรื่องราวทาง เศรษฐศาสตร์ มักจะเป็นยาขม สำหรับคนทั่วไป รวมทั้งผมด้วย หลายคนมักจะเคยได้ยินไม่ว่าจะเป็นคำพูด คำกล่าวทั้ง อุปสงค์ อุปทาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงหนักหน่อยถ้าเราทำธุรกิจ มันก็จะมีทั้ง ค่าเสียโอกาส ต้นทุนจม ดุลยภาพของตลาด เป็นต้น มันเหมือนเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ มันเป็นสิ่งใกล้ตัวเรามากขนาดนั้นเลยหรอ จึงเกิดคำถามว่า เราต้องทำความรู้จักและคุ้นเคยกับมันให้ได้ใช่ไหม ถ้าคำตอบคือ ใช่ ผมมีวิธีที่จะทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้น ผ่านหนังสือเล่มนี้ครับหนังสือ Cartoonomics เศรษฐศาสตร์ฉบับการ์ตูน เขียนโดย ดร. เต็มยศ ปาลเดชพงศ์, ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ และ ดร. สมภพ พัฒนอริยางกูล ที่ทั้งสามจบมาทางด้านเศรษฐศาสตร์โดยตรงและยังมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทำให้ในเรื่องทฏษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่ต้องพูดถึงมาเต็มอย่างแน่นอน และสิ่งที่สำคัญที่คนเขียนทั้งสาม ยังเข้าใจจุดเจ็บ (Pain Point) ของคนเราส่วนใหญ่ต่อเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ มักเป็นเรื่องราวที่เข้าใจยากมาก เนื้อหาในหนังสือจึงหยิบยกเอาเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์ที่เรามักจะพบเห็นทั่วไป อย่างที่ยกตัวอย่างในข้างต้น มาอธิบาย แต่สิ่งที่ทำให้เล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทฏษฏีเศรษฐศาสตร์เล่มอื่น คือ ภาพการ์ตูน ที่ใช้ประกอบคำอธิบายทำให้เรื่องยากๆ ที่ผ่านมาดูง่ายและสนุกขึ้น โดยเนื้อหาหลักภายในเล่ม ก็จะอธิบายถึง พื้นฐานเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ไอ้จำพวกอุปสงค์ อุปทานที่เราเคยได้ยินกัน, ประเภทและข้อจำกัดของตลาดในเชิงเศรษฐศาสตร์ เช่น ตลาดผูกขาดโดยผู้ขาย ทำไมข้าวผัดหน้าบ้าน กับข้าวผัดบนเกาะ จึงมีราคาต่างกัน, ดัชนีชี้วัดและความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์เช่น อะไรคือ GDP หนี้สาธารณธะ (แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา) , บทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ Great Depression จนถึงวิกฤตยุโรบสิ่งที่ผมชอบในหนังสือเล่มนี้ ไม่ต้องบอกคงเป็นเรื่องของแนวคิดที่ทำออกมาเป็น การ์ตูน ให้เราทำความเข้าใจง่ายๆ ในเรื่องทฤษฎีผมก็ว่าส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนที่ทำให้หนังสือเล่มนี้สมบูรณ์คือการนำเสนอได้ตอบโจทย์และต้องชื่นชมคนทำจริงๆ ครับที่พยายามเปลี่ยนเรื่องยากให้ง่าย และง่ายในที่นี่คือ การทำออกมาเป็น รูปวาด ยิ่งต้องคิดให้ตกผลึกมากๆ เลยครับ สำหรับ หนังสือ Cartoonomics เศรษฐศาสตร์ฉบับการ์ตูน เชื่อเถอะว่า มันจะทำให้คุณได้เพลิดเพลินและทำความคุ้นเคยกับโลก เศรษฐศาสตร์ ได้เปิดใจมากขึ้น ใครสนใจที่จะทำความรู้จักแบบใกล้ชิดมากกว่านี้ คลิกเลย !!!ตามไปอ่านรีวิวหนังสือเล่มอื่นๆ ได้ที่ > > iYom BookViews เครดิตรูปทั้งหมดรูปที 1 (รูปภาพโดยผู้เขียน)รูปที่ 2 (รูปภาพโดยผู้เขียน)รูปที่ 3 (Photo by Markus Spiske from Pexels)รูปที่ 4 (รูปภาพโดยผู้เขียน)