มีใครยังไม่เคยไปท้องฟ้าจำลองบ้างคะ? ถ้าตั้งคำถามนี้ขึ้นมา เราเชื่อว่าต้องมีอย่างน้อย 1 คน ตอบว่าไม่เคย ในช่วงวัยเด็กหลายๆ คนอาจจะเคยไปทัศนศึกษาที่ท้องฟ้าจำลองกันมาแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่เคยมาเยี่ยมชมท้องฟ้าจำลองเลยสักครั้งตั้งแต่เด็กจนโต เราก็เช่นกันเพิ่งได้ไปเที่ยวท้องฟ้าจำลองครั้งแรกก็ตอนโตแล้วนี่ละค่ะ และเราสามารถไปดูดาวที่ท้องฟ้าจำลองซ้ำ ๆ ได้หลายรอบโดยไม่เบื่อเลยค่ะ เพราะเราชอบดูดาวในท้องฟ้าจำลอง ชอบเก้าอี้ที่นั่ง ชอบบรรยากาศ และชอบที่แอร์เย็น 555ที่ท้องฟ้าจำลอง ไม่ได้มีแค่ดาวให้ดูนะคะ เพราะชื่อจริง ๆ ของท้องฟ้าจำลองมีชื่อว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (Science Center for Education) แต่ที่นิยมเรียกกันว่า ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium) เพราะเรียกกันตามชื่อสถานที่ค่ะนอกจากส่วนของโดมท้องฟ้าจำลอง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (Science Center for Education) แล้ว ยังมีส่วนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกันอย่างส่วนของแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ และแหล่งเรียนรู้ทางทะเลอีกด้วยนะคะวันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับส่วนต่าง ๆ ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (Science Center for Education) กันค่ะ แล้วทุกคนจะได้รู้ว่าท้องฟ้าจำลองที่เรารู้จักกันนั้นมีอะไรให้เล่นบ้าง?อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นอาคารที่จัดแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ พอเราเดินเข้าไปบริเวณโถงชั้น 1 เราจะถูกต้อนรับด้วย ธีออส ดวงตาของชาติ หรือดาวเทียมธีออส (THEOS:Thailand Earth Observation Satellite) นั่นเองค่ะ เป็นบริเวณภาพถ่ายดาวเทียมขนาดใหญ่ที่จะทำให้เราเห็นพื้นที่ต่าง ๆ ไหน ไหน ลองมาหากันดูสิว่าเจอบ้านตัวเองไหม อยู่ตรงไหนของแผนที่กันนะต่อไปเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ดินแดนแห่งแร่ ค่ะ เป็นที่ที่รวบรวมเรื่องราวของเป็นมาของหินชนิดต่าง ๆ และแร่ธาตุที่เราเคยพบเห็นแต่อาจจะไม่รู้จักประวัติความเป็นมา และที่น่าอัศจรรย์คือมีหินและแร่ธาตุบางชนิดที่เราไม่เคยพบเห็น เป็นอีกหนึ่งโซนที่น่าเรียนรู้และน่าค้นหาความมหัศจรรย์ของโลกนอกจากนนี้ยังมีความรู้และเรื่องราวน่าสนุกที่มีสาระอีกมากมายที่รอให้ทุกคนได้ไปพิสูจน์ ไม่ว่าจะเป็นโซนพลังวิทย์พิชิตยาเสพติด โซนคณิตศาสตร์แสนสนุก ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ เรียนรู้ดาวเคราะห์สีฟ้า ความลับของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งมีมุมเครื่องเล่นทางวิทยาศาสตร์ เช่น มุมวิทยาศาสตร์แสนสนุก สัมผัสอวกาศ ลูกกลมกลิ้ง อันนี้แนะนำเลยค่ะเครื่องเล่นทางวิทยาศาสตร์ของที่นี่น่าเล่นหลายอย่างเลย ทั้งสนุกและได้ความรู้ด้วยค่ะอาคารโลกใต้น้ำ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราชอบมาก โดยส่วนตัวเราชอบเข้าพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอยู่แล้วค่ะ ชอบดูปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ดูเพลินเลยค่ะ ในอาคารนี้ก็เช่นกันมีการจัดแสดงนิทรรศการ "มหัศจรรย์ชีวิตในสายน้ำ" ผ่านกลุ่มปลาหายาก ปลาใกล้สูญพันธ์ ปลาเศรษฐกิจ ปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็ม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เป็นอีกหนึ่งอาคารที่เราแนะนำให้มาเยี่ยมชมค่ะ เพราะทุกคนจะได้รู้จักกับโลกใต้น้ำมากขึ้นอาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม ภายในตัวอาหารบอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณต่าง ๆ ตั้งแต่ในสมัยโลกดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์ ขุมทรัพย์โลกสีเขียว โลกของแมลง เมืองเด็ก ชีวิตพิศวง และมรดกธรรมชาติ แค่ฟังชื่อแต่ละโซนในอาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เรียกได้ว่าน่าค้นหามาก ๆ เราอยากขอเชิญชวนทุกคนมาค้นหาและตื่นเต้นกับเรื่องราวของธรรมชาติไปด้วยกันค่ะอาคารความตระหนักรู้ด้านพลังงาน ตามชื่ออาคาร แน่นอนว่าที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวของพลังงานและความสัมพันธ์ของพลังงานกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างที่เรารู้ ๆ กันดีนะคะ การที่เราจะดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ พลังงานเป็นส่วนสำคัญมาก ที่อาคารแห่งนี้ก็จะเป็นเเหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพลังงาน ให้เราได้รู้ถึงประโยชน์ของพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Inter Active เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วยนะคะ เป็นอีกหนึ่งอาคารที่น่าสนใจมาก ๆ ค่ะอาคารท้องฟ้าจำลอง จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย สำหรับอาคารไฮไลท์อย่าง ท้องฟ้าจำลอง ภายในตัวอาคารตรงกลางจะเป็นโดมที่จำลองท้องฟ้าในยามค่ำคืนให้เราได้ดูดวงดาวกันนั่นเอง โดยการจัดการแสดงท้องฟ้าจำลองจะใช้เวลารอบละ 1 ชั่วโมง มีการบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์ในช่วงแรก และจัดฉายภาพยนตร์เต็มโดมในช่วงท้าย และไม่ต้องกลัวว่าไปดูกี่ครั้ง ๆ ก็จะเหมือนเดิมไปซะหมดนะคะ เพราะที่นี่มีการเปลี่ยนหัวข้อการแสดงทุก ๆ เดือน นอกจากการฉายดาวในโดมท้องฟ้าจำลองแล้ว ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการด้านดาราศาสตร์และอวกาศบริเวณรอบนอกโดมอีกด้วยค่ะขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://www.sciplanet.org/เห็นไหมคะ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (Bangkok Planetarium) หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (Science Center for Education) มีอะไรให้น่าเล่นตั้งเยอะเลยค่ะ เพื่อน ๆ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากไปเล่นกันหรือยังคะ? เดี๋ยวเราจะบอกที่ตั้ง วิธีการเดินทาง และรายละเอียต่าง ๆ ให้นะคะสถานที่ตั้ง : เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110โทรศัพท์ : 0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773เว็บไซต์ : http://www.sciplanet.org/วันและเวลาทำการ : วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.30 น. ปิดบริการ : วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่าเข้าชม- บัตรชมท้องฟ้าจำลอง(รอบภาษาไทย) : เด็ก 20 บาท / ผู้ใหญ่ 30 บาท- บัตรชมท้องฟ้าจำลอง(รอบภาษาอังกฤษ) : เด็ก 30 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท *รอบภาษาอังกฤษ เปิดบริการเฉพาะรอบ 10.00 น. ของวันอังคาร เท่านั้น*- บัตรชมนิทรรศการ : เด็ก 20 บาท / ผู้ใหญ่ 30 บาทการเดินทาง 1. รถโดยสารประจำทางสาย 2, 25, 38, 40, 48, 72, 501, 511, 513, 5082. รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีเอกมัย ทางออก 2 (เมื่อเดินลงบันไดมาแล้ว ให้เดินไปทางสถานีขนส่งเอกมัย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อยู่ถัดจากสถานีขนส่งเอกมัย)