เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.) เมื่อครั้งเมื่อพระพุทธองค์จะปรินิพพานพระอานนท์ได้ทูลถามว่า “หากเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว ใครอื่นใดเล่าจักเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธองค์” พระพุทธองค์ตรัสว่า “ อานนท์เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรม และวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา” (ประโยคเบื้องต้นผู้เขียนได้สรุปความมาจาก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320) สวัสดีครับท่านผู้อ่านทั้งหลาย...สงสัยไหมครับว่าผู้เขียนกำลังจะสื่อถึงอะไรมามะมาดูกัน ๆ เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.) วันนี้ผู้เขียนจะนำเสนอหนังสือเล่มหนึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากครับ ชื่อว่า “พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2555 โดย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ห้ามจำหน่าย) เนื้อหาในเล่มจะแบ่งอออกโดยเริ่มจากพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ เริ่มด้วย เรื่องของศีลเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่ ไปจึงถึงเล่มที่ 33 ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 2 พุทธวังสะ จริยาปิฎก เป็นประวัติพระมหาเถระ เช่น มหากัจจายนเถราปทาน (ประวัติพระมหากัจจายน์), ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน (ประวัติพระทัพพมัลลบุตรเถระ) เป็นต้น เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.) ข้อคิดที่ได้หรือที่ผู้เขียน/ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ คือ สามารถเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น (พระไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ได้แก่ พระสูตรตันตปิฎก พระวินัยปิฎก พระอภิธรรมปิฎก โดยพระไตรปิฎกจะมีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์) เช่น ในเล่มที่ 9 ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ กล่าวในเรื่อง ของฤกษ์งามยามดี ดังมีถ้อยความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตกาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เช้าวันนั้น ย่อมเป็นเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลากลางวัน กลางวันนั้นย่อมเป็นกลางวันที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เย็นวันนั้นย่อมเป็นเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น...” เป็นไงครับลึกซึ้ง ตรงไปตรงมา และเป็นความจริงที่สุดหรือในเรื่องของ ผู้ที่มัจจุราชมองไม่เห็น ที่ว่า “บุคคลรู้กายนี้เป็นเสมือนฟองน้ำ (คือ แตกทำลายง่าย) รู้กายนี้ว่ามีธรรมดาเหมือนพยับแดด (คือ มีลักษณะลวงตา) ตัดพวงดอกไม้ของพญามาร (คือ ความวนเวียนในภูมิทั้งสาม) พึงบรรลุสภาพที่พญามัจจุราชมองไม่เห็น...” เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.) สำหรับหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนอ่านแล้วถ้าตั้งคะแนน 1,000 คะแนนผู้เขียนให้ไปเลยครับเต็ม 1,000 คะแนน เลยลองดูนะครับลองหามาอ่านกันดูผู้เขียนรับรองเลยว่าสิ่งที่ท่านจะได้คือ สิ่งที่เป็นสัจธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..ที่เป็นอมตะวาจะแม้กาลล่วงมาแล้วกว่า 2,500 ปี วันนี้เท่านี้นะครับ..ด้วยจิตคาราวะ...ธรรมะสวัสดีครับ