สวัสดีครับ วันนี้เราจะขอเสนอตามหัวข้อข้างต้นนั้นก็คือ “เริ่มต้นที่ตัวคุณเอง” ซึ่งผู้เขียนก็ได้เริ่มฝึกพิมพ์ให้เร็วด้วยตนเองเช่นกัน เป็นการฝึกฝน จนเราสามารถที่จะพิมพ์ได้เร็วและดีขึ้นในระดับหนึ่ง ก่อนอื่นอยากจะแชร์ประสบการณ์ในช่วงฝึกให้ได้รับฟังกันนะครับ ในช่วงแรกที่เริ่มฝึก เป็นช่วงเมื่อ 1 - 2 ปีที่ผ่านมา ตัวผมได้เริ่มสนใจที่จะฝึกพิมพ์ให้เร็วขึ้นเพราะว่า งานหลายๆชิ้น มักต้องทำในคอมเป็นหลักและเกิดจากความชอบส่วนตัวของผม ในตอนแรกก็เริ่มฝึกกับโน๊ตบุ๊ค โดยใช้เว็บไซต์ที่ฝึกพิมพ์ที่มีชื่อว่า 10fastfingers ในตอนแรกที่ผมเริ่มพิมพ์ ผมไม่มีเทคนิคอะไรเลย ถ้าคุณผู้อ่านในช่วงแรกกำลังมีลักษณะในการพิมพ์สิ่งนี้และกำลังอยากพัฒนา ลองมองข้อสังเกตตามที่ผมให้ดูข้างต้นเป็นพื้นฐานก่อนนะครับ คือใช้แค่นิ้วชี้ในการกดแป้นพิมพ์หรือพิมพ์โดยใช้นิ้วไม่ครบทั้ง 10 นิ้วเวลาพิมพ์จะมีจังหวะที่รู้สึกหาตัวอักษรไม่เจอใช้แรงกดแป้นพิมพ์มากๆเวลาพิมพ์ผิดจะใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางในการกด backspace (ปุ่มกดลบตัวอักษร) ซึ่งจะเป็นมากเวลาใช้มือเดียวพิมพ์มือจะของคุณจะไม่ได้วางบนตัวอักษร F J ซึ่งมันจะมีปุ่มนุ่นอยู่เป็นยังไงบ้างครับมีข้อไหนที่ตรงกับคุณผู้อ่านบ้าง เพราะบ่อยครั้งที่เราจะเผลอตัวทำ 5 ข้อนี้อยู่บ่อยๆ แต่ว่าสำหรับคนที่พิมพ์ได้ในระดับที่ดีแล้ว ก็อาจจะไม่ได้สนใจมากมายนัก แต่สำหรับคนที่อยากจะฝึกพิมพ์เร็วมากขึ้นนั้น มาลองดูกันต่อไปเลยครับผมในช่วงแรก ผมอยากบอกว่าผมมองแป้นในการพิมพ์และลองพิมพ์ดูว่าได้เต็มที่คือเท่าไรซึ่งในตอนนั้นผมได้แค่ 10 WPM กว่าๆครับ ซึ่งผมได้ประเมินตนเองก่อนว่าสูงสุดของเราคือเท่าไร จากนั้นผมจึงเริ่มศึกษาการวางนิ้วในแป้นพิมพ์ โดยผมข้อย้ำเลยว่า อย่ากังวลกับการวางนิ้วมากจนเกินไป!! เพราะสิ่งที่เราควรเริ่มคือ การจดจำ ผมจะขอแนะว่าให้คุณเริ่มจำแถว กลางก่อน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ซ้าย กลาง ขวา โดยซ้ายคือ a s d f กลางคือ g h และขวาคือ J K L โดยผมจะเริ่มวางนิ้วชี้ที่ F และ J ซึ่งคุณจะเห็นว่านิ้วจะเรียงกันจนสุดที่นิ้วก้อยที่วางที่ a และ ; จากนั้นเริ่มไปฝึกเลยครับผม ไม่ๆคุณไปฝึกเลยครับ จนกว่าจะจำได้ตัวอักษรแถวกลางจนชินได้ (ยิ่งฝึกมาก นิ้วก็จะจดสัมผัสได้มาก) เมื่อคุณเริ่มจดจำได้ดี ให้คุณพยายามไต่ระดับตัวเอง เช่น สูงสุดคุณได้ 11 WPM คุณก็อาจจะตั้งเป้าเป็น 12 WPM ไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรีบร้อนมากนักครับ ค่อยๆทำไป แต่ขอให้พยายามฝึกทุกวันครับในช่วงที่สอง คุณต้องเริ่มไม่มองแป้นแล้วครับและคุณจะต้องเริ่มจำตัวอักษรแถวบน ค่อยๆจำครับ โดยเริ่มจาก แถวซ้ายสุดบน (Q) ก่อนก็ได้ครับแล้วก็ไล่ไปจน (P) โดยตัว P กดค่อนข้างยากเลยในช่วงแรกเพราะจะสลับกับตัว (O) บ่อยๆครับ ตอนนี้ละครับ เริ่มพยายามไม่มองแป้นครับผม อาจจะสงสัยว่า แล้วแถวล่างเอาไงดี ? ยังไม่ได้จำแถวล่างเลย ? คำตอบก็คือ พอมีตัวอักษรที่คุณลืมชั่วขณะ ลองเดาก่อนครับ ถ้าคุณกดผิด คุณค่อยมองแป้นพิมพ์ และสิ่งสำคัญนะครับ คือถ้าพิมพ์ผิดคุณต้องลบและเขียนใหม่ อย่าสักแต่กดผิดแล้วปล่อยผ่านครับ กด space bar เลยอะไรประมาณนี้ เพราะไม่งั้นมันจะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวของคุณได้ จากนั้นคุณต้องคอยสังเกตนิ้วว่า คุณไม่ได้ใช้แค่นิ้วชี้อย่างเดียวใช่ไหม? และคุณจะเริ่มเห็นการพิมพ์ที่ราบรื่นขึ้น เช่น เวลาคุณวางนิ้วที่ F คุณจะเลื่อนนิ้วชี้ไปที่ T หรือ Y ได้ง่ายขึ้น อีกข้างหนึ่งก็จะเป็นเช่นกัน เมื่อคุณได้ฝึกพิมพ์ไปหลายชั่วโมงแล้ว เพราะหนึ่งรอบ คือ 1 นาที ตัวผมอยากบอกว่าเมื่อผมทำแล้ว เราก็จะทำใหม่และทำใหม่ จนสามารถที่จะจดจำได้ละเอียดขึ้น และต่อไปคุณก็เริ่มจำแถวล่าง โดยตัวอักษรที่ควรจำตัวสุดท้ายคือ Z และ X เพราะนิ้วก้อยของเราในช่วงแรกจะไม่ค่อยแม่นในการกดสักเท่าไร (ซึ่งทั้งสองช่วงนี้คุณยังมองแป้นได้อยู่บ้าง) โดยผมจะสรุปทริคให้เล็กน้อยนะครับ คือสำหรับคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษอย่างผมในช่วงที่ฝึก ช่วงแรกให้คุณมองเป็นตัวอักษรทีละตัวไปเลย พอเวลาเขาให้คำคุณมา ให้ในหัวคุณมีตัวอักษรไหลไปทีละตัวในหัวคุณลองมองความสัมพันธ์ของตัวอักษรในแป้น ที่ผมได้สังเกตมาก็จะมีตัว E R คุณจะเห็นภาษาอังกฤษที่ลงเสียงด้วย -er อยู่บ่อยๆตัว N M จะเรียงเป็นการท่อง A-Z Backspace Shift อักษร Q และ P จะใช้นิ้วก้อยในการพิมพ์เป็นหลักซึ่งตอนนี้เองคุณก็จะทำได้ไหลรื่นมากขึ้นครับ ต่อจากนี้ไปละครับคือสิ่งที่เราต้องใช้ “ ความอดทน ”ช่วงที่สาม คุณจะต้องไม่มองแป้นแล้วครับ เพราะนี่คือการฝึกฝนอย่างจริงจัง คุณจะต้องทำไปเรื่อยๆและคุณ จะเริ่มรู้สึกตันแล้วครับ ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในช่วง 20 – 38 WPM คุณจะต้องค่อยๆไต่ระดับไปทีละนิดครับ เพิ่มทีละ1-2 ถือเป็นความก้าวหน้าที่ดีครับ สิ่งที่สำคัญคือความใจเย็น เพราะว่าตอนนี้คุณอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อเลขสูงขึ้นเรื่อยๆ คุณจะพบว่าความใจเย็นไปสิ่งสำคัญมากครับ และเมื่อคุณลองสังเกตตัวเองคุณจะพบว่าเมื่อคุณพิมพ์ใน 1 รอบ ค่าต่ำสุดของคุณจะเริ่มขึ้นอย่างคงที่ครับ เช่น คุณจะพิมพ์อย่างตั้งใจ น้อยที่สุดที่คุณได้ จะไม่ต่ำกว่า 10 WPM เป็นต้น และเมื่อคุณฝึกมากขึ้นเรื่อยๆ คุณจะเห็นว่าค่าต่ำสุดและสูงสุดของคุณมันจะค่อนข้างใกล้กันมากขึ้น เช่น ตอนแรกเป็น 14 – 32 อาจกลายเป็น 20 – 32 เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีครับเพราะมันบ่งบอกว่าความเร็วต่ำสุดของคุณค่อนข้างจะคงที่และสม่ำเสมอช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่คุณเริ่มอยู่ในช่วง 40 WPM ตอนนี้ละครับ ความใจเย็นจะเริ่มสำคัญมากขึ้น เพราะเวลาคุณฝึก คุณอาจจะต้องฝึกเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเลย แถมพอทำไปนิ้วของเรากดผิดตำแหน่งบ่อยๆ เราโคตรจะรู้สึกหงุดหงิดภายในใจจิตและอารมณ์เสียเป็นอย่างมาก เมื่อถึงเวลานั้นก็ขอให้คุณรู้ว่าเวลานั้นละ คือช่วงที่คุณจะต้องใจเย็นและอดทน เพราะว่าถ้าคุณหยุดพิมพ์หมายความว่า คุณกำลังยอมแพ้กับตัวของคุณเอง คุณยอมรับให้อารมณ์มาครอบงำตัวคุณ แล้วก็พาลโทษนู่นโทษนี่ แต่คุณจะไม่โทษตัวเอง แต่เมื่อคุณรู้ว่าคุณเริ่มรู้สึกแบบนั้น คุณลองใจเย็นและเริ่มใส่สมาธิไปตอนที่พิมพ์ คุณจะพบว่ามันเร็วขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ เพราะคุณได้ใส่อารมณ์ลงไปในการฝึกฝนอย่างแท้จริง คุณโกรธที่ตัวเองทำไม่ได้ คุณจะรู้สึกว่าเวลามันนานขึ้น เมื่อคุณพิมพ์จนเสร็จและผลก็คือคุณเพิ่มมันได้ 1 – 2 WPM ความรู้สึกโล่งใจอย่างบอกไม่ถูกมันจะทำให้คุณอยากที่จะทำต่อไป แต่ถ้าคุณทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียใจครับขอแค่พยายามต่อไปต้องทำได้แน่นอน!! ผมจะยกตัวอย่างกรณีของผมคือในตอนแรกผมตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 50 WPM เมื่อผมผ่านขั้นที่สามมาได้ คือผมทำได้ 39 WPM ผมก็เริ่มฝึกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขั้นที่สี่ ซึ่งเป็นช่วงที่อารมณ์หัวอุ่นๆเลยครับ แต่พอทำได้แล้วเราก็อยากที่จะทำมากขึ้นครับ จนในที่สุดผมก็ผ่าน 50 WPM มาได้ครับช่วงที่ห้า ตัวผมเมื่อผ่านมาได้แล้วผมจึงตั้งเป้าหมายไว้ที่ 70 WPM ครับ แต่ว่าสิ่งที่ผมทำก็มีเพียงแต่อดทนและอดทนเท่านั้นครับ ผมไม่มีเทคนิคที่ดีพอจะให้ แต่ขอแค่เราเชื่อมั่นในตัวเองครับแล้วตั้งใจฝึกฝนก็จะสามารถพิมพ์ได้เร็วและถูกวิธีขึ้น และจากการที่ผมได้ลองศึกษาเพิ่มเติมเมื่อผมผ่านช่วง 70 WPM และใครอยากเอาไปต่อยอดนะครับ เราต้องลองพิมพ์แบบกดเป็นคำ เวลากดก็จะกดเป็นคำๆไปเลยไม่ใช่ทีละตัวอักษร เช่น คำว่า and ก็กดตัว a n d พร้อมกันเลยเพราะว่าผมบังเอิญและกดพร้อมกันตอนพิมพ์ เลยรู้สึกว่ามันน่าจะช่วยได้และช่วง WPM ที่สูงขึ้น การปล่อยคำที่เขียนผิดไปอาจจะเริ่มทำได้แล้ว เพราะว่าการกดลบคำผิดนั้นค่อนข้างเสียเวลามาก แต่ถ้าคุณพิมพ์งานส่งอาจารย์หรือหัวหน้างานก็ห้ามปล่อยผ่านไปละ!!นี่เป็นช่วงฝึกฝนก่อนที่ผมจะทำถึงเป้าหมายครับและของวันนี้ครับผม (หลังจากไม่ได้ฝึกมานาน แต่เพราะฝึกแล้วจึงคงที่และใช้ได้นาน) 1/11/2565...เป็นอย่างไรบ้างครับคุณผู้อ่าน บางครั้งการที่เราลงมือทำในสิ่งที่ตัวเราเองต้องการ แม้ว่าจะต้องใช้เวลาและการเคี่ยวเข็ญ แต่ขอให้คุณจดจำไว้ว่า ความอดทนเป็นบทพิสูจน์ของความตั้งใจ และความตั้งใจมันจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณเริ่มลงมือทำ..ขอขอบคุณ canva.com ในการทำปกองค์ประกอบแบบฟรี / 10fastfingers.com ในการฝึกฝน / ภาพจากผู้เขียนทั้งหมด 7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์