รีเซต

"โอมิครอน BF.7" ระบาดเร็ว-หลบภูมิเก่ง! เปิด 5 อาการที่พบบ่อย

"โอมิครอน BF.7" ระบาดเร็ว-หลบภูมิเก่ง! เปิด 5 อาการที่พบบ่อย
TNN ช่อง16
30 พฤศจิกายน 2565 ( 13:46 )
57
"โอมิครอน BF.7" ระบาดเร็ว-หลบภูมิเก่ง! เปิด 5 อาการที่พบบ่อย

ศูนย์จีโนมฯ เผยข้อมูล "โอมิครอน BF.7" ที่ระบาดในจีน 5 อาการที่พบบ่อยคือ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย และน้ำมูกไหล 


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 โดยระบุว่า


โอมิครอน BF.7 (หนึ่งในบรรดาลูกของ BA.5) ขณะนี้ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักที่กรุงปักกิ่งประเทศจีน เกิน 1,000 รายต่อวันโดยไม่มีทีท่าว่าจะสงบลง ในประเทศไทยจากข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด(GISAID)” พบ BF.7 แล้ว 3 ราย (29/11/2565) ปรับปรุง  30/11/2565 เวลา 7:11


ไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดใหญ่ในนครปักกิ่งขณะนี้มี 3 สายพันธุ์คือ BF.7, BA.5.2, และ BA.5.1.7 ซึ่งคาดว่าแพร่มาจากแถบมองโกเลีย ในประเทศจีน โดยมี BF.7 เป็นสายพันธุ์หลัก มี 5 อาการที่พบบ่อยคือ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย และน้ำมูกไหล


มีรายงานพบโอมิครอน BF.7 ในเบลเยียม จีน มองโกเลีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา รวมทั้งไทย


เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.1, BA.2, BA.5 นั้น BF.7 จะแพร่เชื้อได้ดีกว่ามากด้วยศักยภาพในการหลบเลี่ยงของภูมิคุ้มกันที่แรงกว่า ระยะฟักตัวที่สั้นกว่า(2-3 วัน) และความเร็วในการแพร่เชื้อใกล้เคียงกับ BA.2.75 แต่ยังเป็นรอง XBB และ BQ.1 ในสหรัฐอเมริกาพบมากเป็นอันดับที่ 4 ประมาณ 7% (ภาพA)


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 



มีการประเมินว่าอัตราการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ "เดลต้า" อยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 6 ซึ่งหมายความว่าผู้ติดเชื้อจะแพร่เชื้อไปยังคนอื่นโดยเฉลี่ย 5 หรือ 6 คนโดยที่ไม่มีมาตรการควบคุม (ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่มีการเว้นระยะห่างทางกายภาพ และไม่ฉีดวัคซีน)  โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BF.7 มีค่า R0 เท่ากับ 10 ถึง 18.6 ซึ่งทำให้สายพันธุ์นี้เป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แพร่เชื้อได้มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในตระกูลโอมิครอน ทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด (ภาพB) 


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 



จากการนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมของโอมิครอนแต่ละสายพันธุ์ในช่วงเวลา 6 เดือนของการระบาดมาคำนวณพบว่า โอมิครอน BF.7  ซึ่งเป็นรุ่นลูกของ BA.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5.2, BA.5.1.7 ประมาณ 22% ทำให้เกิดระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในกรุงปักกิ่งได้ (ภาพ1) อย่างไรก็ตาม


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 



ภาพจาก Center for Medical Genomics

 


- โอมิครอน BA.2.75  มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 11% (ภาพ2)

- โอมิครอน BN.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 97% (ภาพ2)

-โอมิครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 90% (ภาพ3)

- โอมิครอน  XBB.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 139% (ภาพ3)

- โอมิครอน BQ.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 111% (ภาพ4)

- โอมิครอน BQ.1.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7 ประมาณ 147% (ภาพ4)


ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่โอมิครอน BF.7 ที่พบในไทยจะเกิดระบาดแซงหน้าสายพันธุ์อื่นกลายเป็นสายพันธุ์หลักเหมือนที่กรุงปักกิ่ง เนื่องจากประเทศไทยมีโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75, BN.1,XBB,XBB.1,BQ.1,BQ.1.1, และ CH.1.1 ครองพื้นที่อยู่ก่อนแล้วซึ่งล้วนแล้วมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BF.7  ทั้งสิ้น (ภาพ5) 


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 


แม้แต่โอมิครอน BF.7 ที่พบในปักกิ่งเอง ผู้เชี่ยวชาญก็เชื่อว่าไม่ช้าจะถูกแทนที่ด้วย  BQ.1 (หลานของ BA.5) และ CH.1.1 (เหลนของ BA.2) ที่แพร่มาจากฝากฮ่องกง


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 


ภาพจาก Center for Medical Genomics

 





ที่มา ศูนย์จีโนมฯ

ภาพจาก รอยเตอร์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง