เรากำลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมกำลังขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้วิถีชีวิตของเราต้องปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย หากลองสังเกต คนรุ่นพ่อแม่เรายังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร พ่อแม่หลายท่านติดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากกว่าพวกเราเสียด้วยซ้ำ นั่นเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเขา แต่สำหรับคนรุ่นหลังโดยเฉพาะคนเจนวาย (Generation Y) และคนเจนแซด (Genaration Z) มีเรื่องใหม่ที่ต้องเตรียมปรับตัว นั่นคือ การอยู่อาศัยในบ้านหลังเล็ก (Tiny House)รูปภาพโดย Hendrik Will : Unsplashการใช้ชีวิตตามระเบียบแบบแผนเหมือนสมัยก่อน ไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามอีกต่อไป หากเป็นเมื่อก่อน สเต็ปชีวิตของคนทั่วไปคือเข้าสู่ระบบการศึกษาจนจบชั้นปริญญา จากนั้นจึงประกอบอาชีพ หาคู่ครอง แต่งงาน แล้วใช้ชีวิตครอบครัวจนถึงวาระสุดท้าย ผิดกับยุคนี้ที่คนแต่งงานช้า หลายคนไม่แต่งงานเลยด้วยซ้ำ นั่นทำให้วิถีชีวิตของเราเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนเมือง เมื่อตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตอยู่คนเดียว การเลือกเช่าซื้อที่อยู่อาศัยสักหลัง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกบ้านหลังใหญ่โตที่มีหลายห้องนอนอย่างสมัยก่อนไม่แปลกที่คอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครจะผุดขึ้นทุกวัน ยิ่งมีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมที่สามารถเชื่อมถึงกันได้ ทุกแนวรถไฟฟ้าจึงเป็นพื้นที่ของการสร้างคอนโดมิเนียมไปโดยปริยาย นิยามของคอนโดมิเนียมยุคนี้ไม่ใช่ห้องพัก แต่หมายถึงการเป็นบ้านหลังเล็กของใครหลายคน ด้วยขนาดห้องไม่กี่ตารางวา แต่สามารถจัดวางข้าวของเครื่องใช้ได้ครบครัน อยู่อาศัยได้สะดวกสบายไม่ต่างจากบ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮาส์ตามหมู่บ้านจัดสรรรูปภาพโดย Ragnar Vorel : Unsplashอย่างหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ ผังเมืองกรุงเทพมหานครมีความสะเปะสะปะมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หากเราเทียบกับปารีสหรือบาร์เซโลนา ที่วางผังเมืองได้เป็นระบบระเบียบ ในเมืองที่คับแคบและแออัดไปด้วยประชากรที่หลั่งไหลกันเข้ามาแสวงหาโอกาสในการทำงาน การสร้างบ้านหลังเล็กจึงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิตของคนเมืองในยุคนี้ ศูนย์การค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ต่างออกมาโฆษณากันโครม ๆ ถึงการแต่งบ้านแนวใหม่ เน้นการใช้ประโยชน์อย่างครบครันในพื้นที่คับแคบรูปภาพโดย Elijah Macleod : Unsplashการสร้างบ้านหลังเล็กเพื่อคนเมือง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบ้านเราเพียงที่เดียว แต่แนวคิดนี้เริ่มต้นที่เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา เรื่องนี้ผู้เขียนได้มาจากการดูสารคดีของสถานีโทรทัศน์ FOX พูดถึงการสร้างบ้านหลังเล็กเพื่อแก้ปัญหาคนไร้บ้านในซีแอตเทิล มีองค์กรที่รับผิดชอบนั่นคือ Low Income Housing Institute (LIHI) ระยะแรกองค์กรนี้จัดหาทุนจากการรับบริจาค เพื่อซื้อที่ดินในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งประกอบไปด้วยห้องพักขนาด 10-15 ตารางเมตร มีครัวส่วนกลาง และพื้นที่ไว้สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน คนไร้บ้านสามารถเช่าห้องพักได้ในราคาหลักสิบเหรียญเท่านั้นโครงการของ LIHI ประสบความสำเร็จมาก ซีแอตเทิลกลายเป็นเมืองที่มีอาคารประเภทนี้อยู่จำนวนมาก แนวคิดเหล่านี้เป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน นิวยอร์ก ปารีส รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียทั้งไทเป ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทยบ้านเราด้วย เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยตอบสนองความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตคนเดียว และเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งบางครั้งอยู่ในที่ดินที่มีมูลค่าสูง แต่การสร้างห้องให้มีขนาดเล็กแต่ประโยชน์ใช้สอยครบครัน สามารถทำให้ห้องแต่ละห้องมีราคาถูกลงได้รูปภาพโดย Devin Kleu : Unsplashแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป ยุคนี้หนังสือหนังหาสามารถอ่านได้จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ธุรกิจของสะสมที่ซบเซาลงทุกวัน นั่นทำให้เราไม่จำเป็นต้องมีบ้านไว้เก็บของ เราย่อห้องสมุดมาไว้ในอินเทอร์เน็ตได้ การคมนาคมที่เชื่อมต่อถึงกันได้ทำให้เราไม่จำเป็นต้องซื้อรถยนต์ จึงไม่ต้องแปลกใจว่า อนาคตหมู่บ้านจัดสรรอาจหลงเหลืออยู่น้อยมากในเมืองหลวง แถบชานเมืองหรือต่างจังหวัดจะมีคอนโดมิเนียม และที่พักอาศัยขนาดเล็กเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องเริ่มถามตัวเองแล้วว่า พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองกันแล้วหรือยังรูปภาพหน้าปกโดย Sergee Bee : Unsplash