รีเซต

มท.2เปิดแนวรุกแบบบูรณาการแก้ปัญหาน้ำเสียชุมชน

มท.2เปิดแนวรุกแบบบูรณาการแก้ปัญหาน้ำเสียชุมชน
มติชน
14 สิงหาคม 2563 ( 15:21 )
39
มท.2เปิดแนวรุกแบบบูรณาการแก้ปัญหาน้ำเสียชุมชน

นิพนธ์ โชว์วิสัยทัศน์แก้ปัญหาน้ำเสียชุมชน ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือ พร้อมย้ำอนจ. เปิดแนวรุกแบบบูรณาการแก้ปัญหาโดยไว

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า การเนื่องจากปัญหาน้ำเสียชุมชนนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และให้ประสบความสำเร็จในสุด ดังนั้น  กระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสีย หรือ อจน. เป็นหน่วยงานหลักเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยเน้นการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้มาตรการต่าง ๆ เช่น ดำเนินการก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชนอย่างเร่งด่วน

 

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ให้ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเดิม เนื่องจาก อปท.บางแห่ง มีปัญหาระบบท่อรวบรวมน้ำเสียที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดและมีปัญหาท่อรวบรวมน้ำเสียชำรุดเสียหายจากการใช้งาน ซึ่งมีผลทำให้น้ำเสียไหลลงสู่แหล่งรองรับน้ำ จึงต้องมีการก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมให้สามารถใช้งานได้ดี รวมทั้งปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียเดิมให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญอีกประการ คือ การรณรงค์ให้ประชาชน และชมุชนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย นอกจากนี้จะต้องปรับปรุงภาพลักษณ์ ของที่เดิมเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ ให้เข้าถึงชุมชนได้มากขึ้นเช่นขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยปรับให้เป็นพื้นที่ที่ทำประโยชน์อย่างิอื่นได้เช่น สนามฟุตซอล ลานจัดกิจกรรม เป็นต้น

 

“แต่ที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาน้ำเสียประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกคน เช่น การช่วยลดความสกปรกของน้ำเสียจากต้นทาง คือ บ้านเรือน ร้านอาหารด้วยตนเอง เช่น การดูแลถังดักไขมัน การไม่ทิ้งน้ำเสียหรือขยะลงในแม่น้ำ ลำคลองโดยตรง จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ”นายนิพนธ์กล่าว

 

ทั้งนี้ นายนิพนธ์ยังได้มอบนโยบายให้องค์การจัดการน้ำเสียดำเนินการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วได้ตามมาตรฐานกลับมาใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งน้ำสำรอง เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เช่น นำไปใช้ในการการเกษตรกรรม รวมทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ สามารถประหยัดงบประมาณรายจ่าย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำ และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด

 

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่กำกับดูแลการประปานครหลวง (กปน.) ซึ่งดำเนินการผลิตน้ำประปา และกำกับดูแลองค์การจัดการน้ำเสียที่ดูแลการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้มอบนโยบายทั้งสองหน่วยงานต้องร่วมกันในการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันไม่ให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนั้น เสื่อมโทรม ร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้ประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง