รีเซต

kick off ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน จ.บึงกาฬ - เมืองหลวงปลูกยางภาคอีสาน

kick off ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน  จ.บึงกาฬ - เมืองหลวงปลูกยางภาคอีสาน
มติชน
26 กันยายน 2563 ( 14:40 )
29

จ.บึงกาฬ 26 ก.ย.-“คมนาคม” ลุย kick off โครงการยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน เยือนถิ่น จ. บึงกาฬ “นครหลวงแห่งการปลูกยางพาราในภาคอีสาน” มั่นใจกันราคามีเสถียรภาพในระยะยาว

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเช้าวันนี้ นายอนุทินชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Of) พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศุภชัย โพธิสุ รอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมงาน จังหวัดบึงกาฬ

นายศักดิ์สยามระบุว่า การนำโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน ทั้งในส่วนของเครื่องกั้นถนนครอบยางพารา rubber fender berier และหลักนำทางอย่างธรรมชาติ หรือ rubber guide post เริ่ม kick off ที่จังหวัดบึงกาฬในวันนี้ ก็เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นเมืองหลวงของการปลูกยางพาราในภาคอีสาน มีการปลูกยางพารากว่า 1 ล้านไร่ รองลงมาคือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดเลย ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรฯ ก็ได้เดินสายเริ่มต้นkick off โครงการในครั้งนี้

 

โดยการผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นในพื้นที่จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่นอกจากโครงการจะมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการนำยางพารา ซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรมาใช้ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวน ซึ่งหลังจากเริ่มคิกออฟโครงการตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คิดทำโครงการที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสตูลก่อนหน้านี้ รวมทั้งการนำงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก้อนแรก มาใช้ดำเนินโครงการในวงเงิน 2,700 ล้านบาท ก็ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่โครงการจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ในระยะยาว โดยหลังจากการใช้วงเงินดังกล่าวหมดลงในเดือนพฤศจิกายน 2563 กระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็จะมีการขออนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการต่อในวงเงินใกล้เคียงกัน ซึ่งผลของโครงการในขณะนี้ได้ส่งผลดีต่อราคายาง โดยปัจจุบันเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ในส่วนของราคาแผ่นยางดิบธรรมชาติ มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 61 บาท ปรับราคาจาากช่วงก่อนนี้ ที่ราคากิโลกรัมละ 43 บาท หรือราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ส่วนราคายาง”ก้อนถ้วย” ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางในภาคอีสาน ทำเป็นผลผลิตแล้วเอาไปขายนั้น ปัจจุบันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 13 บาท ปรับราคาขึ้นก่อนหน้านี้ ที่กิโลกรัมละ 20 บาท

 

“ยืนยันว่าในระยะยาวนั้น จะขับเคลื่อนการรับซื้อยางพารา ในพื้นที่โดยกลไกของสหกรณ์ในจังหวัด ที่กำกับโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งที่ผ่านมาทราบว่า ราคาที่รับซื้อที่กิโลกรัมละ 21 บาท ชาวสวนยางต้องขาดทุน กิโลกรัมละ 25 บาทชาวสวนยางพออยู่ได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะพยายามผลักดัน ให้มีการรับซื้ออยู่ที่ราคา 28-30 บาทต่อกิโลกรัม รวมถึงการผลักดันโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพออย่างยั่งยืน” นายศักดิ์สยามกล่าว

 

สำหรับปริมาณการใช้ยางพาราในโครงการดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2562 มีปริมาณการใช้น้ำอย่างพาราสดในโครงการของรัฐมากกว่า 129,000 ตัน แต่เมื่อมีโครงการนำร่องการนำยางพารามาผลิตใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนท้องถนนใน3เดือนนี้ พบว่ามีปริมาณการใช้ยางพารากว่า 50,000 ตัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณการใช้ที่เท่ากับปริมาณในปี 2561 ทีเดียว

 

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงการพัฒนาโครงการลงทุนสำคัญในจังหวัดบึงกาฬ โดยเฉพาะการพัฒนาท่าอากาศยาน จ.บึงกาฬ ที่อยู่ในการกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน หรือ ทย.ซึ่งล่าสุด กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ดำเนินการศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับจุดที่ตั้งที่เหมาะสม และรายละเอียดต่างๆ แต่ในเบื้องต้นกระทรวงคมนาคมเห็นถึงความจำเป็น เนื่องจากในอนาคต จังหวัดบึงกาฬจะมีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาวแห่งที่ 5 จ.บึงกาฬ ซึ่งจะเริ่มงานก่อสร้าง ใช้งบประมาณ 2564 และแล้วเสร็จในปี 2566 ดังนั้นการพัฒนาสนามบิน จะช่วยให้เกิดการคมนาคมเชื่อมต่อ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเส้นทางคมนาคม แนวเหนือ-ใต้ ,ตะวันออก- ตะวันตก ที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับการวิเคราะห์โครงการยางพาราในภาคอีสานนี้ กระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันผลักดันโครงการ นอกจากการคิดเอาโครงการในจังหวัดบึงกาฬแล้วในวันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ kick off โครงการในพื้นที่จังหวัดเลย และเมื่อวานที่ผ่านมาก็ได้ kick off โครงการ ที่จังหวัดนครพนมไปแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง