ช่วงโควิด-19 ทำให้เราอยู่บ้านใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น อาจจะเคยได้รู้จัก หรือได้ยินกับภัยร้ายเงียบที่มีมานานแล้ว แต่อาจจะไม่รู้จัก เข้าใจว่าเป็นอย่างไร ภัยร้ายที่ว่านั้นคือ การฟิชชิ่ง ( Phishing ) ความน่ากลัวของมันอาจจะทำให้เราเสียทั้งเงิน ทั้งเวลา แถมเผลอ ๆ จับไม่ได้เสียหายกันไปเป็นล้าน ดังนั้นการทำความเข้าใจกับฟิชชิ่งในยุคไซเบอร์ที่เราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้แถบทุกครั้วเรือนจึงมีความสำคัญมาก ๆ หากจะพูดถึง Phishing นั้น เป็นภัยบนโลกไซเบอร์ ( Cyber Crime ) ที่เราบางคนอาจจะเคยเจอมากับตัว Phishing คล้องเสียงกับคำว่า Fish ที่หมายถึง การกระทำหย่อนเบ็ดลงเพื่อให้ได้ปลา Phishing เป็นการเปลี่ยนเสียงให้คล้องจองเป็นคำใหม่หมายถึง การกระทำหลอกลวงในรูปแบบการดูดข้อมูลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพาสอร์ต ล็อกอิน หรือบัตรเครดิตต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ส่วนตน เปรียบเสมือนการตกเอาข้อมูลเหยื่อที่หลงกลนั่นเองลักษณะของการฟิชชิ่ง พวกแฮกเกอร์เหล่านั้นจะทำอีเมล์ปลอม หรือ เว็บไซต์ปลอมส่งไปโดยเฉพาะเว็บไซต์ธนาคาร เมื่อเราหลงกลกรอกข้อมูลสำคัญลงไปทั้ง Username หรือ Password ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งไปให้แฮกเกอร์ โดยที่เราไม่รู้ตัวว่าได้เป็นเหยื่อเสียแล้ว นอกจากจะมาในรูปแบบอีเมล์ปลอม หรือ เว็บไซต์ปลอม วิธีคลาสสิกอีกแบบคือ การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าธนาคารหรือหน่วยงานโทรมาเพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ ซึ่งธนาคารได้รายงานถึงการใช้วิธีนี้หลอกลูกค้าหลาย ๆ รายบ่อยมากเพราะหลาย ๆ คนไม่ได้มีความรู้เรื่องภัยออนไลน์ผ่านการหลอกข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์นั่นเองนอกเหนือจากนั้นวิธีที่ชาญฉลากอีกอย่างคือ ผ่านแอปพลิเชั่นที่เรามีติดโทรศัพท์ โดยปลอมแอปขึ้นมาเพื่อจะฝังมัลแวร์ที่ทำให้สามารถควบคุมได้เมื่อดาวโหลดลงเครื่องโทรศัพท์เราแล้ว เมื่อเราใส่ข้อมูลสำคัญไป มันก็จะเริ่มการดูดข้อมูลส่งไปยังแฮกเกอร์อีกที เราก็จะเป็นเหยื่อมันแบบชาญฉลาด เว็บไซต์ที่เสี่ยงต่อการถูกฟิชชิ่ง อาจจะมาในรูปแบบการล็อกอินไม่สำเร็จ ส่งหน้าให้เรารีเซ็ต password ใหม่ เว็บไซต์สุ่มเสี่ยง เช่น Facebook InstagramInternet banking Paypalลงทะเบียนเยียวยา 5000ลงทะเบียนเกษตรกรข้อมูลที่ต้องการของเหล่าแฮกเกอร์ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัว บัตรประชาชน เลขบัตร 13 หลัก ข้อมูลบัตรเครดิต หรือ Username/Password เพื่อแฮกเข้าไปยังเว็บไซต์ รวมถึงอาจจะส่งข้อมูลถึงคนอื่นให้โอนเงินให้ก็เป็นไปได้ ดังนั้นเราจะต้องระมัดระวังในการป้อนข้อมูลเหล่านั้น เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพแฮกเกอร์วิธีป้องกันจากการตกเป็นเหยื่อของฟิชชิ่ง ก็มีหลายวิธี คือ เราจะต้องมีสติเมื่อจะกรอกข้อมูลลงยังเว็บไซต์ต่าง ๆ เมื่อได้รับอีเมล์ต่าง ๆ จะต้องอ่านให้ดี ๆ สังเกตุความผิดปกติ เช่น สัญลักษณะต่าง ๆ หน้าตาเว็บไซต์ URL ที่แตกต่างตรวจสอบให้ดีจากเว็บไซต์ที่ชื่อถือ สำหรับใครที่ชอบโหลดใช้โปรแกรมที่โหลดเถื่อน ควรหลีกเลี่ยงให้โหลดจากเว็บไซต์ Official เพราะโปรแกรมเหล่านั้นจะมาพร้อมกับไวรัสที่ฝังมัลแวร์ดูดข้อมูลเราหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลสำคัญลงบนหน้า Facebook ที่เป็นสาธารณะเพราะมิจฉาชีพสามารถดูข้อมูลเราเหล่านั้น และปลอมเป็นเจ้าหน้าที่โทรเข้ามาหลอกเราซึ่งมีให้เห็นมากมายบนข่าว ไม่หลงเชื่ออีเมล์ที่ส่งมาให้รีเซ็ตข้อมูล หากเกิดเหตุดังกล่าว ให้เรารีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดก่อนที่จะตกเป็นเหยื่อ และต้ังรหัสให้ยากไว้เพื่อยากในการเข้ารหัส โดยเฉพาะมีระบบป้องกันสองชั้นหากมีการความเคลื่อนไหวแปลก ๆ โดยจะมีการส่งอีเมล์หาเราเมื่อมีการเข้าระบบจากที่ไม่คุ้นเพื่อให้เรายืนยันตัวว่าเป็นเราหรือไม่ สำหรับ Internet Bangking หมั่นตรวจสอบยอดเข้าออกบ่อย ๆ หากเป็นไปได้ก็เปลี่ยน Password ทุก ๆ สามเดือนหรือหกเดือน หากเกิดอะไรน่าสงสัยติดต่อธนาคารโดยตรง ห้ามโทรคุยให้ข้อมูลส่วนตัวผ่านทางโทรศัพท์เด็ดขาด และสุดท้ายไม่โอนเงิน หรือให้ข้อมูลสำคัญแก่คนที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่โทรมาทางโทรศัพท์ แม้ว่าจะอ้างถึงญาติ หรือ คนในครอบครัวเราจะต้องเช็คให้ดี ๆ แต่! ห้ามโอนเงินก่อนเด็ดขาดโดยไม่มีเช็คให้ดีก่อน เพราะเงินที่โอนไปแล้วยากที่จะตามกลับมาได้ยิ่งช่วงนี้เราอยู่บ้านใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์ แถมโควิด-19 อาจจะทำให้เราไม่คิดถึงภัยเงียบที่ซ่อนตัวอย่ในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเราต้องกรอกข้อมูลสำคัญลงทะเบียนแก่เว็บไซต์ของรัฐบาลเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ เราต้องมั่นใจในเว็บไซต์นั้นค่ะ หลาย ๆ องค์กรเปิดให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์เท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ซึ่งต้องดำเนินเรื่องต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลมาก ๆ ในช่วงนี้ ดังนั้นในการกระทำใด ๆ เราต้องมีสติครบ มิเช่นนั้นผลร้ายจะตามมาแบบคาดไม่ถึงแน่นอนเชิงอรรถhttps://www.kasikornbank.com/th/personal/Digital-banking/KBankCyberRisk/Pages/phishing.htmlhttps://www.csoonline.com/article/2117843/what-is-phishing-how-this-cyber-attack-works-and-how-to-prevent-it.html เครดิตรูปภาพ : หน้าปกโดย pixabay , ภาพที่ 1 pixabay , ภาพที่ 2 flickr , ภาพที่ 3 pixabay , ภาพที่ 4 pixabayบทความน่าสนใจอื่น ๆ :เตือนภัย! ระวังตัวกับ 5 รูปแบบของมิจฉาชีพในปี 2020Twitter แหล่งข่าวที่คนไทยเลือก 📱เรื่องน่ารู้ก่อนซื้อ iPhone SE 2020📱🔥