สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน ^^ใครที่กำลังเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ ก.พ. ผู้เขียนเชื่อว่าร้อยละ 70 มักจะไม่ค่อยอ่านหนังสือในส่วนของวิชาภาษาไทยเพราะถือว่าเป็นภาษาหลักของเรา ข้อสอบน่าจะไม่ยาก แต่เชื่อไหมคะว่าจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนได้สอบ ก.พ. มาทั้งหมด 7 ครั้งนั้น ผู้เขียนพบว่าผู้เข้าสอบส่วนใหญ่มักจะพลาดคะแนนในส่วนของวิชาภาษาไทยเป็นอย่างมาก และมักจะทำข้อสอบวิชาภาษาไทยในเวลาที่เหลืออยู่ไม่ถึง 15 นาที ทำให้หลาย ๆ คนต้องศูนย์เสียคะแนนในวิชาภาษาไทยไปเยอะกันพอสมควร ฉะนั้นผู้เขียนขอเตือนเลยนะคะว่า วิชาภาษาไทย ของข้อสอบ ก.พ. ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นตัวช่วยในการดึงคะแนนของเราให้สูงขึ้น ทำให้โอกาสในการสอบ ก.พ. นั้นมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย !!วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิคและเคล็ด (ไม่) ลับ ในส่วนของวิชาภาษาไทยมาฝากท่านผู้อ่านที่กำลังเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ ก.พ. กันอยู่นะคะว่าเราจะต้องเน้นเรื่องอะไร และเน้นจุดไหนบ้างที่ ก.พ. มักจะออกข้อสอบและที่เราจะต้องเจออยู่บ่อย ๆมาตามอ่านกันได้เลยค่ะ เตรียมหยิบสมุดและปากกามาจดเทคนิคกันไปด้วยนะคะ ^___^1. ประการแรก สิ่งที่ผู้เข้าสอบ ก.พ. จะต้องเน้นในส่วนของวิชาภาษาไทย คือเรื่อง "บทความภาษาไทย"สำหรับพาสบทความภาษาไทยนั้น จะประกอบไปด้วย บทความสั้น และบทความยาวโดยทั้งสองเรื่องนั้น ก็จะเป็นการเน้นเรื่องการตีความ การสรุปความ เป็นส่วนใหญ่เลยนะคะ ฉะนั้นเราจะต้องหา key word ในข้อสอบให้เจอ โดยในข้อสอบจะมีความยาวของโจทย์มาให้ประมาณ 2 - 5 บรรทัด แล้วโจทย์ก็มักจะถามว่า ข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร หรือตีความได้อย่างไร เป็นต้น เทคนิค !! ของการทำข้อสอบในแต่ละเรื่องนะคะ มีดังนี้การตีความให้พยายามหาข้อความที่มีความหมายเหมือนกับข้อความ เมื่อถอดคำออกมา ก็ยังมีความหมายเหมือนกับข้อความในโจทย์ แต่อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นต้องตอบให้ตรงตามอักษรที่มีอยู่ในบทความก็ได้นะคะ ขอแค่ว่าข้อความที่เราถอดออกมานั้น ตรงตามความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของผู้เขียนแล้วหรือไม่นั่นเองค่ะการสรุปความให้สรุปความจากบทความที่มีอยู่ในโจทย์ โดยเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญของข้อความมาตอบ โดยให้เลือกเฉพาะข้อความที่มีอยู่ในโจทย์เพียงเท่านั้นนะคะ ห้ามคิดนอกเหนือไปจากนี้โดยเด็ดขาด นอกจากนี้เมื่อเราสรุปความแล้วจะต้องสื่อความหมายถึงเนื้อหาในบทความทั้งหมดด้วยนะคะ 2. เรื่องถัดมาในส่วนของข้อสอบภาษาไทย คือเรื่อง "การเรียงประโยค" หรือ "การเรียงข้อความ" นั่นเองค่ะ โดยข้อสอบจะให้เราเรียงประโยคหรือเรียงข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษา โดยเราจะต้องเรียงตามลำดับคือ 1 2 3 และ 4 เทคนิค !! ของการทำข้อสอบการเรียงประโยค ส่วนใหญ่ในข้อสอบมักจะถามหาประโยคที่ 1 หรือ 2 ฉะนั้นเราจะต้องหาคำขึ้นต้นให้ได้สำหรับคำขึ้นต้นของประโยคที่ 1 มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า การ, ความ, เนื่องจาก...จึง, ด้วย, ตามที่ เป็นต้นประโยคลำดับที่ 2 มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ที่, ซึ่ง, อัน, เพื่อ, สำหรับ, ของ, จาก, ตาม, ได้แก่, เช่น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างไรก็ดีต้องระวังนิดนึงนะคะ บางครั้งประโยคข้างต้นอาจจะไปอยู่ลำดับที่ 3 ก็ได้ ดังนั้นจะต้องอ่านให้ดี ๆ !ประโยคลำดับที่ 3 มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ทำให้, ส่งผลให้, ดังนั้นประโยคลำดับที่ 4 ให้เราสังเกตคำปิดของท้ายประโยค ซึ่งจะต้องลงท้ายด้วยคำว่า อีกด้วย, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, อย่างยิ่ง, เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะต้องระมัดระวังในส่วนของการเรียงประโยคลำดับที่ 2 และประโยคลำดับที่ 3 ให้ดี ๆ นะคะเพราะว่า ทั้งประโยคที่ 2 และประโยคที่ 3 มักจะมีความคล้ายกันเป็นอย่างมาก สามารถเอามาเชื่อมต่อกับประโยคที่ 1 และประโยคที่ 4 ได้อยู่เสมอ 3. เรื่องสุดท้าย ที่เราจะเจอในข้อสอบวิชาภาษาไทย ซึ่งนั่นก็คือเรื่อง "การใช้ภาษา" ในส่วนของพาสนี้ก็จะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาไทยโดยโจทย์ข้อสอบใน ก.พ. จะมีลักษณะของการให้ประโยคมา แต่จะมีเพียงแค่หนึ่งประโยคเท่านั้น ที่มีการใช้ภาษาบกพร่อง เทคนิค !! ของการทำข้อสอบเรื่องการใช้ภาษา ก็คือให้สังเกตในประโยคว่ามีการใข้ภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนหรือไม่ ให้สังเกตในประโยคว่ามีการใช้ภาษา หรือสำนวนต่างประเทศหรือไม่ มีการใช้คำทับศัพท์โดยการนำเอาคำภาษาอังกฤษมาใช้หรือไม่มีการใช้คำฟุ่มเฟือย ทำให้คำไม่กระชับรัดกุมหรือไม่ จากทั้งหมด 3 หัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น บทความภาษาไทย การเรียงประโยค และการใช้ภาษา ซึ่งจากประสบการณ์สอบในการทำข้อสอบ ก.พ.โดยตรงของผู้เขียนเองนั้นผู้เขียนจะเริ่มทำในส่วนของ บทความภาษาไทย เป็นลำดับแรกก่อนเลยค่ะ เพราะว่าเมื่อเราอ่านโจทย์ยาว ๆเราจะไม่สับสน และผู้เขียนเองก็มักจะอ่านบทความแค่เพียงรอบเท่านั้นค่ะ เพราะถ้าเราอ่านหลาย ๆ รอบจะทำให้เราตีความ หรือสรุปความนอกเหนือไปจากโจทย์ได้ต่อมาก็ค่อยมาวางแผนทำข้อสอบในส่วนของ การเรียงประโยค จะต้องค่อย ๆ ดูคำขึ้นต้น ลงท้าย ให้ดี ๆ และเมื่อเราเรียงประโยคแล้วข้อความที่ได้จะต้องอ่านแล้วไหลลื่น ไม่มีสะดุด สำหรับในส่วนของ การใช้ภาษา ก็จะต้องสังเกตทุกครั้งว่ามีการนำคำต่างประเทศมาผสมปนอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ต้องดูว่าใช้คำได้ถูกต้องตามหลักภาษาหรือไม่นั่นเองค่ะ โดยค่อย ๆ ทยอยตัด Choice ที่ไม่ใช่ออกไปนั่นเองค่ะ !เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเทคนิค เคล็ด (ไม่) ลับ ในการทำข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถนำเอาเทคนิคที่ผู้เขียนได้สรุปไว้เอาไปใช้ได้เลยนะคะ โดยตอนที่ผู้เขียนสอบ ก.พ. นั้น ผู้เขียนก็ได้ใช้วิธีดังกล่าวซึ่งช่วยย่นระยะเวลาในการอ่านหนังสืออีกด้วย และเมื่อเจอข้อสอบ ก็สามารถทำข้อสอบได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วยจนทำให้ผู้เขียนสามารถสอบ ก.พ. ผ่านมาได้จนสำเร็จนั่นเองค่ะ !!สำหรับคราวหน้า ผู้เขียนจะมาแนะนำเทคนิค เคล็ด (ไม่) ลับในส่วนของการข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์กันต่อนะคะอย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ ขอบคุณและบ๊ายบายค่า... ^___^ ขอบคุณรูปภาพทั้งหมดจาก : Pixabay ภาพหน้าปก/ รูปประกอบที่ 1 / รูปประกอบที่ 2 / รูปประกอบที่ 3 / รูปประกอบที่ 4 / รูปประกอบที่ 5