พี่นัทคิดว่าอาชีพนี้ต้องเป็นหนึ่งในอาชีพที่น้อง ๆ ใฝ่ฝันแน่นอน เลยรวบรวมข้อมูลบางส่วนมาฝากน้อง ๆ ว่าถ้าอยากจะทำงานอาชีพนี้ต้องรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูพร้อม ๆ กับพี่นัทเลยจ้า(ภาพถ่ายโดย ELEVATE จาก Pexels) 1. นอกจากใจรักควรเป็นคนช่างสังเกตด้วยข้อนี้ไม่เฉพาะเชฟเท่านั้นนะคะ แต่ไม่ว่าจะเรียนอะไร จะทำงานอะไรก็ต้องมีใจรักด้วยกันทั้งนั้นแหละค่ะ แต่การเป็นเชฟจะเพิ่มมาอีกหนึ่งอย่าง คือ ต้องเป็นคนช่างสังเกตุ ช่างคิด ช่างสงสัย เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การคิดหาวิธีใหม่ ๆ ในการปรุงอาหาร และเกิดเป็นอาหารหน้าตาใหม่ ๆ รสชาติที่ไม่เหมือนใครขึ้นมาเรื่อย ๆ หรือพูดง่าย ๆ คือเราอาจจะเป็นผู้คิดค้นอาหารเมนูนั้นก็เป็นได้(ภาพถ่ายโดย Rene Asmussen จาก Pexels)2. ช่วงมัธยมลองเรียนทำอาหารระยะสั้นดูเป็นการค้นหาตัวเองไปในตัวนะคะว่าชอบจริง ๆ หรือเปล่า? การลงเรียนทำอาหารช่วงสั้น ๆ เพื่อตอบคำถามในใจตัวเองว่าชอบมั้ย ดีกว่าลงเรียนระยะยาวแล้วมารู้ตัวทีหลังว่าไม่ชอบนะคะ ยังไงลองค้ยหาตัวเองให้ได้ก่อนตัดสินใจสมัครเรียนระยะยาวน้าาา3. ส่วนใหญ่มาเรียนทำอาหารเพราะอยากเปิดร้านอืม.. อันนี้พี่นัทว่าน่าสนใจเลยนะ แต่ต้องเรียนคอร์สที่มากกว่า 1 ปีนะคะ จะได้เรียนบริหารร้านไปด้วย ที่จริงพี่นัทว่าถ้าใครมีทุน มีทำเลที่ดีเนี้ย จัดเลยจ้าาา ไม่แน่น้าา ภายใน 2 ปี ร้านคุณอาจเป็นร้านขึ้นชื่อที่คนทั้งประเทศรู้จักก็ได้(ภาพถ่ายโดย Elle Hughes จาก Pexels)4. เรียนเชฟมีทั้งระยะสั้นและปริญญาตรีการเรียนเชฟมันมีหลายหลักสูตรเลยแหละ ทั้งนะยะสั้น ๆ แค่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี อันนี้ จะได้แค่ประกาศนีบัตรนะ และมีหลักสูตรปริญญาตรีที่เรียน 4 ปี อันนี้จะเลือกอันไหนแล้วแต่ความพร้อมของผู้เรียนเลยจ้า แต่ไม่ว่าจะเลือกเรียนอันไหน จบมาเริ่มจากผู้ช่วยเชฟหมดนะคะ ส่วนใครจะได้เป็นเชฟนั้นแล้วแต่ความสามารถขอแต่ละคนนะคะ5. เงินเดือนไม่เยอะมากถ้าอยากได้เยอะไปต่างประเทศอันนี้ต้องทำใจยอมรับนะคะว่าทำงานเชฟฝนไทยเงินเดือนไม่ได้มากมายอะไรนัก ยกเว้นแต่ว่าน้อง ๆ จะได้ทำงานในโรงแรมหรู แต่ถ้าอยากได้ดงินเดือนเยอะ ๆ เนี้ย ทำงานบนเรือสำราญเอย ทำงานในต่างประเทศเอยอันนี้อยากได้เงินเดือนหลักแสนก็ไม่อยากค่ะ(ภาพถ่ายโดย Rene Asmussen จาก Pexels)6. ถ้าอยากแข่งขัน Masterchef ต้องโปรไฟล์ดีและข้อสุดท้ายปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน้อง ๆ ที่เลือกมาเรียนเชฟหลายคนอยากไปแข่งขันรายการนี้ หรือแม้แต่มาเรียนเชฟเพราะดูรายการนี้ก็มี ก่อนอื่นน้อง ๆ ต้องสร้างโปรไฟล์ให้ตัวเองก่อนนะค่ะ เริ่มจากแข่งขันในงานเล็ก ๆ แล้วค่อยยกระดับไปเรื่อย ๆ อันนี้พี่นัทว่าไปแล้วจะมีความมั่นใจ และมีฝีมือมากกว่าเดิ่นดุ่ม ๆ ไปสมัครเพียงเพราะความอยากนะคะ ก่อนจากไปพี่นัทต้องบอกน้อง ๆ ก่อนนะคะว่าเชฟกับกุ๊กไม่เหมือนกันนะ ส่วนใหญ่เลยชอบคิดว่าเชฟคือคนทำอาหาร แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะคะ เชฟมีหน้าที่บริหาร สั่งงานในครัว ส่วนน้อยที่จะได้ลงมือปรุงรสอาหาร ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำอาชีพนี้ต้องศึกษาให้ดีก่อนนะคะสำหรับบทความนี้พี่นัทขอลาไปก่อนพบกันใหม่บทความหน้านะคะน้อง ๆ บ้ายบาย ภาพปกโดย Elle Hughes จาก Pexels