สืบเนื่องมาจากข่าวสารเรื่องไวรัสโคโรนา ที่มีต้นกำเนิดเชื้อมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนในครั้งนี้ ทำให้หลายคนได้อ่านข่าวหรือได้ยินคำว่า “นักวิจัย” โดยจะมีบทความหลากหลายบทความที่ได้พูดถึงนักวิจัยว่าพวกเขาต้องทำหน้าที่ในการพิสูจน์เชื้อและหาแหล่งที่มาของการแพร่กระจายไวรัสว่าแพร่จากสัตว์ชนิดใด หรือแม้กระทั้งคำว่า “นักวิจัยไวรัส” ที่ต้องทดลองหารหัสพันธุกรรมของไวรัสเพื่อที่จะหายารักษา โดนการที่ผู้เขียนตามอ่านข่าวเรื่องไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่องจึงได้อ่านหรือได้ยินคำว่า “นักวิจัย” อยู่บ่อยครั้ง วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับอาชีพนักวิจัยว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นใคร และพวกเขามีหน้าที่อะไรบ้างภาพถ่ายโดย Chokniti Khongchum จาก Pexelsอันดับแรกเราคงต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “ วิจัย” ก่อนตามหลักราชบัณฑิตยสภาบัญญัติไว้ว่า คือ กระบวนการในการหาความรู้อย่างมีระเบียบและหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ซึ่งมีการกำหนดแนวคิดหรือทฤษฎี การใช้ข้อมูล การแปลความหมายและอธิบายข้อมูลเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนรายละเอียดทั่วไปของอาชีพนักวิจัยอาชีพนักวิจัย คือ อาชีพนักทดลอง นักค้นคว้าเรื่องราวตามที่ผู้วิจัยสนใจ เพื่อศึกษาหาความจริงนั้น ๆการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น วิจัยเรื่องยารักษาโรค สัตว์ สิ่งแวดล้อม เชื้อไวรัส ฯลฯการวิจัยทางสังคม เช่น ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ สัตว์ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความต้องการ ฯลฯการวิจัยทางการศึกษา เช่น การทดลองเครื่องมือสำหรับพัฒนาการศึกษา การวิจัยเพื่อการศึกษาข้อมูล ฯลฯการทำงานของนักวิจัยจะเริ่มจากการตั้งสมมติฐานโดยการใช้องค์ความรู้เฉพาะด้านที่ศึกษาตามหัวข้อการวิจัย โดยองค์ความรู้ทางวิทยาศาตร์ทั้งหมดจะถูกนำมาใช้ในงานวิจัย ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือนักวิจัยมีหน้าที่ “เดา” อย่างมีหลักการและองค์ความรู้ขั้นตอนการทำงานของนักวิจัย คือภาพถ่ายโดย Lukas จาก Pexelsกำหนดหัวข้อการวิจัย >> ตั้งสมมติฐาน>>รวบรวมข้อมูล>>ทดลอง>>สรุปผลไปตามลำดับการทดลอง>>การตีพิมพ์คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพต้องมีความรู้ความสามารถตามสาขาวิจัยนั้น ๆมีความระเอียดรอบคอบมีความซื่อสัตย์ สุจริตรักการเรียนรู้ ชอบการค้นคว้ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีความเป็นนักพัฒนามีความมุ่งมัน มีความอดทนภาพถ่ายโดย Public Domain Pictures จาก Pexelsอาชีพนักวิจัยไม่ได้รับความนิยมมากนักในประเทศไทยเพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถมีอภิสิทธิ์ที่จะทำการวิจัยได้ตามใจชอบ เนื่องด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การตั้งโจทย์วิจัยในแต่ละครั้งจึงมีสิ่งจำเป็นที่เรียกว่า “เงินทุน” ในประเทศไทยทุนวิจัยเกิดจากการผลักดันของรัฐบาลส่วนหนึ่ง งานวิจัยส่วนใหญ่จึงเกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้นำและทิศทางอุตสาหกรรมของประเทศซะเป็นส่วนใหญ่ช่องทางติดตามบทความอื่น ๆhttps://www.noozup.me/2263778/https://www.blockdit.com/posts/5de1540c2b674a26cdbbed2aโดยบทความนักเขียนเป็นผู้เขียนเองทั้งหมดตามช่องทางต่าง ๆ นี้