การบรรลุธรรมแท้จริงแล้วมีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นว่าต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิ เท่านั้นแล้วจะบรรลุธรรมเสมอไป ในสมัยพุทธกาลก็มีการปฏิบัติธรรมในรูปแบบที่อยู่ในกิจวัตรประจำวัน แล้วการบรรลุก็เกิดขึ้นระหว่างวัน มันไม่ได้หมายความว่าเราจะละทิ้งการนั่งสมาธิ เดินจงกรมไปเลย แต่เราอาจต้องรู้จักปฏิบัติธรรมระหว่างวันด้วย หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ณัฐพบธรรม (ณัฐพบธรรม ธนันท์เมธาภรณ์) เจ้าของผลงานเขียน Best seller ถ้ารู้ (กู) ทำไปนานแล้ว ที่ทำให้ผู้อ่านสายธรรมะเข้าใจความเป็นไปของกฎแห่งกรรมมากยิ่งขึ้น ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ได้เรียนรู้ว่าในพระไตรปิฎกอธิบายว่าเราจะบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับว่าเรามีอินทรีย์แก่กล้าแค่ไหน หากอินทรีย์เราอ่อนก็บรรลุธรรมได้ช้า หากอินทรีย์แก่กล้าก็บรรลุธรรมได้เร็ว และผู้ที่มีชีวิตส่วนใหญ่หมกมุ่นกิเลสตัณหามาก ทำบาปมาก ย่อมทำให้ชีวิตก่อนจะบรรลุธรรมมีแต่ความยากลำบาก เพราะต้องรับผลของบาปที่ก่อไว้ เช่น เกิดมายากจน โง่เขลา อกหัก คนรอบข้างไม่ช่วยเหลือสนับสนุน ทำให้พบอุปสรรคในการสั่งสมบุญ ได้เรียนรู้ว่าอินทรีย์ หมายถึง ธรรมที่เป็นหลักในการทำหน้าที่ 5 ประการ1.ศรัทธา (สัทธินทรีย์) การเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ทรงรู้แจ้งในพระธรรมที่พระองค์ทรงสอน เป็นการศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าเท่านั้น2.วิริยะ (วิริยินทรีย์) การเป็นผู้มีความเพียรทำบุญ ละบาป พยายามแน่วแน่ที่จะประคองตนบนเส้นทางดังกล่าวตลอดเวลาเพื่อห่างไกลจากกิเลสตัณหา3.ปัญญา (ปัญญินทรีย์) เป็นผู้มีปัญญาเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ตามหลักอริยสัจ 4 รู้ว่าอะไรคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค4.สมาธิ (สมาธินทรีย์) ผู้มีนิพพานเป็นอารมณ์ จิตยึดมั่นกับนิพพาน แล้วเจริญภาวนาจนได้ปฐมฌาน (ฌานที่ 1) จนถึงจตุตถฌาน (ฌานที่ 4)5.สติ (สตินทรีย์) เป็นผู้มีสติรู้ตัวในทุกสิ่งที่ทำในทุกคำที่พูด มีการเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อกำจัดกิเลสตัณหาเรามีหน้าที่พยายามสั่งสมอินทรีย์ให้แก่กล้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องกะเก็งว่าต้องสั่งสมอินทรีย์ด้านไหน แค่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เราทำไว้ เมื่อเราได้ฟังธรรม สาธยายธรรม ตรึกตรองธรรม นั่งสมาธิพิจารณาธรรม เราย่อมบรรลุธรรมได้เองตามครรลองของกรรม ได้เรียนรู้ว่าการปล่อยวางไม่ยึดติด สำหรับคนที่ยังอินทรีย์อ่อน ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในเร็ววัน ก็ต้องมีความยึดติดในระดับหนึ่ง ไม่ควรปล่อยวางไปเสียทุกเรื่อง ต้องทำตามคำสั่งสอนขจองพระพุทธเจ้าให้ได้มากที่สุด คือการปฏิบัติอินทรีย์ 5 หรือมรรค 8 เมื่อสั่งสมอินทรีย์แก่กล้าจึงค่อยปล่อยวางไม่ยึดติดในบุญบาป แล้วบรรลุธรรมไปในที่สุด นอกจากนี้ ความอยากหรือไม่อยาก...ไม่ได้ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ได้ การกระทำต่างหากที่ส่งผล หากเราทำเหตุให้ตรง ย่อมได้ผลตามนั้น ไม่ว่าอยากได้หรือไม่ก็ตาม ได้เรียนรู้ว่าการเจริญภาวนามี 2 รูปแบบ คือ1.การเจริญสมถะ มีอิริยาบถเดียว เพื่อให้จิตนิ่งเป็นสมาธิ2.การเจริญภาวนาแบบวิปัสสนา ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยใช้ฐานทั้ง 4 อย่าง ประกอบด้วย กาย เวทนา (สุข ทุกข์ เฉยๆ) จิต (รัก โลภ โกรธ หลง) และธรรม (พอใจในกามคุณ พยาบาท หดหู่ซึมเซา ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ลังเลสงสัย) เน้นให้จิตรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ได้เรียนรู้ว่าในพระไตรปิฎกอธิบายเกี่ยวกับการมีไตรสรณะว่า การมีพระพุทธเจ้าเป็นที่ยึดเหนี่ยว หมายถึง การมีความเลื่อมใสไม่มีวันสั่นคลอนว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน เป็นผู้ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งในทุกสิ่ง ส่วนการมีพระธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว หมายถึง การเลื่อมใสพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นไม่มีสิ่งใดถูกต้องกว่า และไม่มีคำสั่งสอนใดมาหักล้างได้ โดยไม่มีวันสั่นคลอน มีพระสงฆ์เป็นที่ยึดเหนี่ยว หมายถึง เลื่อมใสอย่างไม่มีวันสั่นคลอนว่าพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม ปฏิบัติในสิ่งที่ดี ที่ควรทำตาม เป็นผู้ที่ควรเคารพ และเป็นเนื้อนาบุญ (แหล่งบุญ) ของเรา ได้เรียนรู้ว่าลักษณะของผู้ที่มีไตรสรณะ ได้แก่1.ศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย แม้ถูกขู่ฆ่าก็พร้อมตายดีกว่าให้ลบหลู่พระรัตนตรัย2.มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีล 5 ได้เคร่งครัด3.เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อสิ่งที่ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้า4.ไม่แสวงหาการทำบุญนอกพระพุทธศาสนา5.ทำบุญในพระพุทธศาสนา ได้เรียนรู้ว่าแม้การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจะทำไม่ได้แล้วในตอนนี้ แต่อีกวิธีหนึ่งที่ทดแทนได้ คือการทำบุญแบบพุทธบูชา คือทำบุญโดยมีจิตน้อมเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการบูชาพระเจดีย์ พระปฏิมา ฯลฯ สัญลักษณ์แทนพระองค์นั้น หากเราทำด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาราวกับได้บูชาพระพุทธเจ้า ก็จะได้บุญราวกับบูชาพระพุทธเจ้าโดยตรง ได้เรียนรู้ว่ากุญแจสำคัญที่ทำให้เราได้บุญมากไม่เกี่ยวว่าเราทำอย่างไร แต่ขึ้นอยู่กับเราทำสิ่งต่างๆด้วยความรู้สึกแบบไหน ถ้าทำด้วยใจที่รู้สึกเคารพบูชาพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ย่อมทำให้เราได้บุญมาก และเป็นการสั่งสมอินทรีย์ที่จะช่วยให้บรรลุธรรมได้ เคารพศรัทธาพระองค์ด้วยมุมมองที่ว่าพระองค์เป็นผู้รู้แจ้งในทุกสิ่ง ตรัสสอนแต่ในสิ่งที่ถูกต้อง บริสุทธิ์จากกิเลสตัณหาทั้งปวง ความรู้สึกเหล่านี้ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ช่วยให้ความเคารพเกิดขึ้นได้คือการมีไตรสรณะอย่างมั่นคง และปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสอนไว้ ได้เรียนรู้ว่าบทสวดมนต์เป็นการกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ถ้าสวดแบบพะวงท่องให้ถูกต้องอย่างเดียว โดยไม่ได้รู้สึกเคารพบูชาพระพุทธเจ้าจากใจจริง ย่อมมีโอกาสได้บุญน้อย นี่ถือเป็นอีกหนึ่งเล่มที่ทำให้ครีเอเตอร์เข้าใจการปฏิบัติธรรมไปอีกระดับหนึ่ง แต่วิธีการดังกล่าวข้างต้นจะต้องมีอินทรีย์ที่สั่งสมและมีความศรัทธาต่อพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ผลบุญจึงจะเกิดขึ้นได้จริง และเป็นผลบุญที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปสู่หนทางที่ดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะมีชีวิตที่ไม่ดี มีแต่ความทุกข์ ไม่มีความสุข ดิ้นรนเรื่องการทำงานและการหาเงิน แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรมแต่อย่างใด สิ่งนี้จะช่วยให้เรามองว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ ไม่น่าเอาไว้ ถือเป็นความรู้ที่ครีเอเตอร์จะต้องลองนำไปปฏิบัติและรอดูผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว เพื่อนๆคนไหนที่สนใจปฏิบัติธรรม ลองนำหนังสือเล่มนี้ไปเป็นแนวทางได้เช่นกันครับ เครดิตภาพภาพปก โดย freepik จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย freepik จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย tawatchai07 จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ ตำนานพระพุทธเจ้ารีวิวหนังสือ อัจฉริยะ 100 หน้า พระพุทธศาสนาพุทธพจน์ กับความก้าวหน้าของชีวิตรีวิวหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นรีวิวหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น 27-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์