6 เคล็ดลับ จำเร็วและแม่นก่อนสอบคุณเคยไหมที่อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ ตอบไม่เคยตรงคำถาม หรือถามไม่ตรงคำตอบ ทำข้อสอบก็รู้สึกว่ายาก มีเวลาน้อยในการเตรียมตัวสอบ ต่อไปนี้จะเป็นเคล็ดลับที่ทำให้จำเร็วและแม่นก่อนสอบ มี 6 วิธี ต่อไปนี้1. รู้ชื่อเรื่องที่ต้องจำ•เปิดอ่านสารบัญ แล้วเขียนออกมาว่าต้องจำกี่ “บท”•ในแต่ละบทมี “เรื่อง” อะไรบ้าง •ในแต่ละเรื่องมี “คีย์เวิร์ด” (key word ) คำสำคัญอะไรบ้างภาพจาก Pixabay2. รู้วัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะจำ หากรู้วัตถุประสงค์เรื่องที่เราเรียน ก็ถือว่าสอบผ่าน 50% แล้ว นี่คือหัวใจสำคัญต้องรู้ว่าแต่ละบทมี วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้อะไร ข้อสอบมักออกตามวัตถุประสงค์นั้น 3. สมองจำข้อมูลได้ไม่เกิน 7 ส่วน แบ่งส่วนเนื้อหาที่ต้องจำ 7 อย่าง แล้วใส่รายละเอียดในแต่ละอย่างไม่เกิน 7 ข้อย่อย เพราะถ้าเราไม่แบ่งแยกเนื้อหาที่ต้องจำ หรือจำยาวเกินไป จะทำให้เราจำอะไรไม่ได้เลย หรือจำได้น้อยมาก เช่น การอ่านเบอร์โทรติดกัน 09134587xx แบบนี้จะจำยากกว่ากับการอ่านแบบแยกส่วน 091-345-87xx อย่างหลังจะทำให้จดจำได้ง่ายกว่า จากนั้นนำชื่อเรื่องในสารบัญมาเขียนย่อให้จำง่าย เหลือเป็น “คำเดียว หรือ สองคำ” ให้สั้น กระชับ และจำง่ายเช่น บทที่ 1 กำเนิดสัตว์โลกบทที่ 2 วงจรชีวิตของสัตว์บทที่ 3 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบทที่ 4 สัตวเลื้อยคลานบทที่ 5 วิวัฒนาการมนุษย์ บทที่ 6 มลภาวะและการเปลี่ยนแปลงโลกบทที่ 7 ธรรมชาติและระบบนิเวศย่อ “โลก/สัตว์/นม/คลาน/มนุษย์/มลภาวะ/นิเวศ”4. เขียนออกมาเป็นภาษาของตัวเองใส่อารมณ์ความรู้สึก หรือจินตนาการการเข้าไปในเนื้อหา นำความรู้ใหม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิม 4.1 การเขียนเชื่อมโยงประโยค นำคำในข้อ 3 มาการแต่งประโยคเชื่อมโยงกัน การใส่ “ประโยคเชื่อมโยงกัน”สำคัญมาก จะช่วยให้การจำมีความเชื่อมโยงและจำเร็ว จำแม่น อย่างแน่นอน เช่น ย่อ “โลก/สัตว์/นม/คลาน/มนุษย์/มลภาวะ/นิเวศ”แต่งประโยคเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หัวข้อที่เราจะจำ โลกมีสัตว์/ นม /คลาน /และมนุษย์ที่สร้างมลภาวะให้กับระบบนิเวศ ทำให้เราจำหัวข้อได้ ทำแบบนี้ต่อไป ในส่วนของ “เรื่อง” ในแต่ละบท และทำต่อไป ใน “key word” สำคัญ ในแต่ละเรื่อง4.2 การเขียน ต้องใช้กระดาษ A4 ไม่มีเส้น และพับครึ่ง เขียนด้วยปากกาดำ สมองจะจดจำได้ดีกว่า เขียนด้วยปากกาสีอื่น ในการเขียนคำภีร์สมัยโบราณก็มักเขียนด้วยลายมือบรรจง และเขียนด้วยสีดำ ตัดกับสีขาว ทำให้มองเห็นชัด ส่งผลให้สมองรับรู้ได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องผ่านการตีความ หรือแปลความหมาย การพับครึ่งกระดาษ ก็เพื่อให้อ่านได้รวดเร็วขึ้น เพราะลานสายตาของคนเรา ถ้ามองจากซ้ายไปขวา กว้างเกินไป ทำให้เมื่อยล้าได้ การมองในระยะครึ่งกระดาษ จึงทำให้ถนอมกล้ามเนื้อสายตา ทำให้อ่านได้มากขึ้น และเร็วขึ้นด้วย ไม่เชื่อต้องลองทดสอบดูนะภาพจาก pixabay.com4.3 เขียนเป็น Mind map หรือ แผนที่ความคิดการเขียนทั้งหมดออกมาเป็นแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ และเหมือนเซลล์ประสาทในสมองทำให้สมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งที่ต้องรู้ และทำให้จำได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นวิธีการเดียวกับที่สมองคิด คือ คิดเป็นภาพและสี วิธีการเขียน mind map ในการจำเร็วจำแม่นก่อนสอบ คือเขียนจากตรงกลางชื่อหนังสือ และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปเป็นชื่อ”บทเรียน” และในแต่ละบทเรียน ก็แตกสาขาเป็น key word ที่เราต้องจำ จากนั้นใส่รายละเอียด ตามความเข้าใจของเราลงไป ถ้าเราเขียน mind map ออกมาได้โดยไม่ต้องเปิดหนังสือ นั่นแปลว่า เราเข้าใจในระดับหนึ่งแล้ว 5. อ่านสิ่งที่เขียนออกมาดัง ๆ ให้ตัวเองได้ยินการอ่านออกเสียง จากสิ่งที่เขียนออกมาแล้วจากความเข้าใจของเรา จะทำให้เราได้ทบทวนอีกครั้ง เหมือนการบันทึกความจำอย่างสั้น กระชับ และเข้าใจง่าย เป็นภาษาของเราเอง บันทึกเสียงที่เราอ่าน แล้วเปิดฟังอีกครั้ง เมื่อต้องการ วิธีนี้จะทำให้ดึงความจำที่เราบันทึกไว้ออกมา ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านหนังสือหลายรอบ 6. การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพภาพจาก pixabay.comการนอนหลับพักผ่อน จะช่วยให้สมองบันทึกข้อมูลระยะสั้นให้เป็นความจำระยะยาวและจะต้องอาศัยการนอนที่มีคุณภาพ การนอนที่มีคุณภาพ คือ หลับลึกและนาน ดังนั้น เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว อย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะได้จำแม่น ไม่ลืม เมื่อเรามองเห็นภาพรวมในเรื่องที่เราต้องจำแล้ว รู้วัตถุประสงค์ รู้คำสำคัญ (key word ) เราก็อ่านรายละเอียด และจดจำรายละเอียดนั้นเป็นภาพ และความรู้สึก เขียนออกมาเป็น mind map นำความรู้ใหม่มาเชื่อมมาโยงกับความรู้เดิมทำให้จำง่ายขึ้น และอ่านออกเสียง บันทึกไว้และเปิดฟังซ้ำ ที่สำคัญอย่าลืมนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอก่อนสอบด้วยนะ ขอบคุณภาพจาก : pixabay.com