เรื่องที่ 4 ละครพูดเรื่อง ลูกสาวเจ้าของบ้าน (ผู้แต่ง ม.ล.ปิ่น มาลากุล) เรื่องนี้เป็นละครพูดที่ฉายอยู่ที่โรงละคร ก่อนเริ่มเรื่องผู้บรรยายได้กล่าวทักทายผู้มีเกียรติทั้งหลายเกริ่นถึงละครที่เคยแสดงไปแล้วและละครที่จะแสดงในวันนี้ ก่อนที่จะทำการแสดงก็ได้กล่าวถึงชีวิตมนุษย์ไม่มีผู้ใดหนีความแก่ ความเจ็บ ความตายไปได้ จึงอยากให้มนุษย์เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันโดยไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนด้วย และกล่าวถึงเรื่อง “ลูกสาวเจ้าของบ้าน” ว่า “เรื่องลูกสาวเจ้าของบ้านที่ท่านจะได้ชมต่อไปนี้เป็นการพบกันของคนใจดีและคนใจชั่ว เนื้อแท้ของเรื่องเป็นเรื่องจริงนะครับ เกิดขึ้นเมื่อสักยี่สิบปีเศษมาแล้ว ณ ท้องที่ชนบทแห่งหนึ่ง…” จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่การแสดงละครเวที โดยมีเนื้อเรื่องคือ ลูกสาวเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า “ลูกสาวเจ้าของบ้าน” ได้ทำงานช่วยพ่อเสมือนเลขานุการ เธอได้รับสายจากโทรศัพท์ที่ดังขึ้นซึ่งน่าจะเป็นตำรวจและน่าจะมีความสัมพันธ์เชิงลึกซึ้งกับลูกสาวเจ้าของบ้านเพราะมีการพูดคุยที่มีการเกี้ยวพาราสีกันด้วย และได้กล่าวถึงงานการกุศลที่ฝ่ายชายได้กล่าวทักขึ้นโดยอ้างถึงผู้กำกับฝ่ายลูกสาวเจ้าของบ้านก็รับปากว่าจะช่วยเหลือให้ครบเพราะพ่อก็ชอบช่วยงานการกุศลอยู่แล้วเพียงแต่พึ่งขยายกิจการ สร้างที่พักให้คนงานและรับคนงานเพิ่มจึงทำให้ค่อนข้างขัดสน ฝ่ายชายชวนฝ่ายหญิงไปดื่มกาแฟที่ตลาด ซึ่งห่างจากบ้านของฝ่ายหญิงยี่สิบกิโลเมตร ฝ่ายหญิงปฏิเสธไม่ใช่เพราะระยะทาง แต่เป็นเพราะว่าเธอติดธุระเนื่องจากพ่อของเธอพบชาวนาที่จะนอนอยู่ใต้ต้นไม้ข้างรั้วหน้าบ้านเกิดสงสารจึงให้มาพักในบ้านและได้ไหว้วานให้ลูกหาสื่อหาหมอนให้ชายทั้งหกเจ็ดคน และต้องตื่นมาทำอาหารให้แขกเหล่านี้ในตอนเช้าด้วย หลังจากคุยโทรศัพท์เสร็จ เธอก็โผล่ดูบิดาของเธอที่กำลังเลี้ยงอาหารและคุยกับชาวนาเหล่านั้น ก่อนนอนเธอได้ฟังข่าวเรื่องโจรจึงปิดประตูลงกลอนก่อนนอนให้เรียบร้อย ย่ำรุ่งเวลา 05.15 น. เธอก็ได้ตื่นขึ้นมาเพื่อหุงหาอาหารตามที่พ่อสั่ง ซึ่งขณะนั้นเธอก็แอบได้ยินชายฉกรรจ์กลุ่มนี้คุยกันจึงทราบว่าทั้งหมดเป็นโจรซึ่งคิดจะมาปล้นรวมถึงทำมิดีมิร้ายก็เธอด้วยแต่แล้วหนึ่งในนั้นก็กล่าวถึงความดีของบ้านนี้ว่าให้การต้อนรับพวกเขาอย่างดี จึงตกลงกันว่าจะปล้นเฉพาะคนไม่ดีเพราะหากปล้นคนดี ๆ แบบนี้ ต่อไปเขาก็จะไม่กล้าต้อนรับใครถ้าหากคนยากคนจนมาขอพึ่งพาจะได้มีที่พึ่ง ทักหมดจึงตัดสินใจย่องเงียบ ๆ ออกจากบ้านก่อนรุ่งเช้า ลูกสาวเจ้าของบ้านจึงโทรไปที่สถานีตำรวจ และฝากผู้รับสายให้บอกรองผู้กำกับว่าตนจะไปกินกาแฟกับปาท่องโก๋ และการแสดงละครเวทีก็จบลง ผู้จัดการแสดงจึงเดินออกมาหน้าเวทีสรุปเรื่องว่า เนื้อแท้ของเรื่องนี้มาจากเรื่อง “มาร้าย ไปดี” ผู้ประพันธ์ประจำคณะไม่อยากให้รู้ว่าจบอย่างไรจึงมาเปลี่ยนชื่อเรื่อง และได้สรุปสาระของเรื่องว่า คนชั่วมาพบคนใจดีเข้าแล้วย่อมเปลี่ยนไปได้และผู้สร้างความดีมีเมตตานั้น คล้ายอัญมณีมีค่า แม้จะตกจมอยู่ในโคลน คุณค่านั้นก็ไม่เสื่อมคลาย โครงเรื่องของเรื่องสั้น “ลูกสาวเจ้าของบ้าน” ใช้เหตุการณ์เปิดเรื่องด้วยการกล่าวต้อนรับผู้มีเกียรติโดยผู้จัดการแสดงและดำเนินเรื่องด้วยละครพูดซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบละครเวลาเนื้อเรื่อง เริ่มต้นด้วยการรับสายโทรศัพท์ของลูกเจ้าของบ้าน การสร้างปมความขัดแย้งนั่นคือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคมและความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับจิตใจตนเองจากเรื่องจะเห็นได้ว่าตัวละครที่เป็นโจรมีความขัดแย้งกับสังคมตรงที่ตนเองเป็นโจรเป็นผู้ร้ายแต่มาอยู่ในสังคมหรือกลุ่มคนที่มีความเมตตาจึงทำให้ความคิดเปลี่ยนไป ส่วนความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับจิตใจคือโจรมีความขัดแย้งในจิตใจของตนเองว่าจะทำการร้ายหรือไม่ทำ เหตุการณ์ไคลแมกซ์ของเรื่องอยู่ที่การตัดสินใจที่จะไม่ลักขโมยของโจรกลุ่มนี้ทำให้เรื่องนี้จบลงด้วยดีไม่ได้เกิดความเสียหายแก่ใคร ตัวละครในเรื่องสั้น “ลูกสาวเจ้าของบ้าน” ประกอบไปด้วยตัวละครเพียงไม่กี่ตัวหลัก ๆ คือ ลูกสาวเจ้าของบ้านหรือลูกสาวเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นบุคคลที่ช่วยเหลืองานการของพ่อทำตามคำสั่งของพ่อซึ่งรวมถึงการต้อนรับกลุ่มชายฉกรรจ์ในครั้งนี้ด้วย พ่อหรือเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ มีฐานะร่ำรวย และกลุ่มของชายฉกรรจ์ถึงแม้ว่าจะเป็นโจรแต่ก็มีจิตสำนึกที่ดีด้วยโดยจะเลือกปล้นแค่คนที่ทำไม่ดี คนที่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นตัวละครพ่อลูกเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นตัวละครมิติเดียวคือเป็นคนดี มีจิตใจอยากช่วยเหลือผู้อื่น กลุ่มโจรเป็นตัวละครหลายมิติหรือเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่คงที่จะเห็นได้จากความประพฤติที่เคยทำไม่ดีแต่ก็กลับกลายเป็นคิดดีทำดีได้ ฉากและบรรยากาศในเรื่องใช้ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์คือดำเนินเรื่องเกือบทั้งหมดอยู่ที่บ้านของเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ผู้เขียนได้นำเสนอแก่นเรื่องโดยนำเสนอผ่านทัศนะของผู้เล่าคือตัวละครผู้เป็นผู้จัดการแสดง จะเห็นได้จากการเกริ่นนำก่อนแสดงละครเวทีซึ่งก็ทำให้ผู้อ่านทราบคร่าว ๆ ว่าเรื่องเป็นอย่างไรและผู้เล่าก็ได้สรุปตอนท้ายได้อย่างแจ่มแจ้ง อีกทั้งแก่นเรื่องที่ว่านี้ก็ยังคาดเดาได้จากการกระทำหรือพฤติกรรมของตัวละครทั้งหมดด้วย โดยแก่นเรื่องของ “ลูกสาวเจ้าของบ้าน” ก็คือมุ่งให้เห็นว่าความดีมีเมตตานั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น แม้ผู้ที่คิดจะทำร้ายก็เปลี่ยนใจไม่ทำร้ายและศรัทธาในความดีของผู้มีเมตตา คุณค่าที่ปรากฏในเรื่องคือเรื่องนี้ คุณค่าทางด้านศีลธรรม ดังจะเห็นได้จากบทสรุปของผู้จัดการแสดงที่ว่า “คนชั่วมาพบคนใจดีเข้าแล้วย่อมเปลี่ยนไปได้และผู้สร้างความดีมีเมตตานั้น คล้ายอัญมณีมีค่า แม้จะตกจมอยู่ในโคลน คุณค่านั้นก็ไม่เสื่อมคลาย” แสดงถึงอานุภาพของความดีว่าการทำดีมีเมตตาจะช่วยปกปักรักษาผู้นั้นเอง แกทั้งเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าด้านภาษาที่สามารถประพันธ์เรื่องขึ้นมาได้โดยใช้ฉากและบรรยากาศเพียงแค่ไม่กี่ฉากโดยอาศัยการคุยโทรศัพท์ในการดำเนินเรื่องไปช่วงหนึ่งซึ่งก็ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เหตุการณ์หลายเหตุการณ์แต่สามารถสื่อความ ให้ผู้ดูหรือผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ภาพประกอบทั้งหมดโดย ผู้เขียน