ภาพจาก : royin.co.th แอปพลิเคชัน “อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร” (Read and Write) ถูกสร้างขึ้นโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการใช้งานอย่างกว้างขวางและการเข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างทั่วถึง โดยแต่เดิมอ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อรวบรวมคำภาษาไทยที่มักมีผู้อ่านผิดและเขียนผิด มีการให้คำอ่านอย่างถูกต้องและคำที่เขียนอย่างถูกต้อง และได้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนที่ควรรู้มากมาย เช่น การอ่านเครื่องหมายต่าง ๆ การอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การอ่านชื่อจังหวัด เขต อำเภอ แขวง ตำบล (เฉพาะบางจังหวัด) เป็นต้น ส่วนการเขียนได้เพิ่มเติมคำวิสามานยนามที่เป็นชื่อแขวง ถนน ตรอก ซอย ทางแยก ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มักเขียนผิด เพื่อให้เขียนได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เล็งเห็นความสำคัญของการอ่านและการเขียนคำในภาษาไทยซึ่งคำบางคำคนทั่ว ๆ ไปอาจจะไม่รู้จักคำอ่านและเขียนที่ถูกต้อง จึงได้สร้างหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แต่ด้วยปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีหากจะให้พกหนังสือก็คงจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก จะดีกว่าหรือไม่หากเพียงแค่คนมีสมาร์ตโฟนหรือโทรศัพท์มือถือก็สามารถสืบค้นข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงเพิ่มความสะดวกสบายต่อการใช้งานได้เป็นอย่างดี จึงทำให้เกิดการสร้างแอปพลิเคชันดังกล่าวขึ้นมาภาพโดย เม็ดทรายวัตถุประสงค์ในการสร้างแอปพลิเคชัน 1. เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้สะดวกยิ่งขึ้นข้อดีของแอปพลิเคชัน 1. นำมาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษา 2. แอปพลิเคชันดาวน์โหลดได้ฟรี ทั้งระบบ IOS และ Android จึงทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 3. ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน จึงสะดวกต่อการพกพาไม่ต้องพกหนังสือเล่มใหญ่ 4. ใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิดอินเทอร์เน็ต 5. พื้นที่ของหน่วยความจำไม่เกิน 50 MB ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่การใช้งานที่น้อยมาก 6. แสดงคำอ่าน แนะนำการสะกดคำ และแสดงคำที่มักเขียนผิด ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำนั้น ๆ มากขึ้น 7. ประหยัดเวลาและสะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องความเร็วของการค้นหา สามารถค้นหาได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสิ่งสำคัญคือไม่มีโฆษณาแฝงคอยกวนใจเหมือนแอปพลิเคชันฟรีอื่น ๆข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน 1. คำศัพท์น้อย จึงทำให้ค้นหาคำบางคำไม่พบ 2. หากไม่เข้าใจถึงกระบวนการใช้งานอาจส่งผลกระทบต่อการใช้แอปพลิเคชันตัวอย่างการนำแอปพลิเคชันไปประยุกต์ใช้การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา ใช้ในด้านการศึกษา ในการจัดทำรายงาน วิจัย หรือการจัดการเรียนการสอน เมื่อไม่มั่นใจว่าคำนั้นเขียนอย่างไร หรือคำนั้นมีความหมายอย่างไร สามารถเข้าไปค้นหาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนไทยใช้เป็นแหล่งอ้างอิงความรู้ทางด้านภาษาไทย อันนำไปสู่การใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องต่อไปตัวอย่างหน้าต่างของแอปพลิเคชันภาพโดย เม็ดทราย