‘สว.สมชาย’เผยส.ส.-สว.มีเอกสิทธิ์โหวตนายกฯ ย้ำทุกคนให้ระลึกประโยชน์ชาติ
วันนี้ ( 23 ก.ค. 66 )นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้จะออกมาในรูปแบบใด ว่า ส.ว. ก็ทำหน้าที่ของตนเอง และตนเข้าใจว่ามีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ เพียงชื่อเดียว ส่วนจะเห็นชอบหรือไม่ หรืองดออกเสียง ก็เป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว. ที่จะทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ส.ว. ต้องทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง เพราะสิ่งสำคัญคือบ้านเมืองจะต้องเดินหน้า และมีความมั่นคงในทุกด้าน รวมทั้งสิทธิความเป็นพลเมืองที่จะพูดจากันได้
การลงมติของ ส.ว. ไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีมติออกมาอย่างไร อย่าพึ่งคาดคะเน เพราะ ส.ส. และ ส.ว. ทั้ง 750 คนทำด้วยความรับผิดชอบ อย่าใจร้อน เพราะหนทางประชาธิปไตยมีทุกช่องทาง ตอนนี้เป็นกระบวนการในรัฐสภา ประชาชนทำหน้าที่ในการเลือกผู้แทน ถ้าเป็นรัฐบาลก็ทำหน้าที่บริหาร แต่ถ้าไม่ได้เป็นรัฐบาลก็เป็นฝ่ายค้าน และเชื่อว่า ส.ส. ทั้ง 500 คน จะทำหน้าที่เป็นประโยชน์ให้บ้านเมืองเดินหน้า อยากปลุกระดมให้เกิดบรรยากาศความเครียด เรามีวุฒิภาวะทุกคน หวังว่าทุกอย่างจะราบรื่น
นายสมชาย ระบุว่า ไม่มีใครกำชับใคร ทุกคนก็เป็นบุคลากรจากสาขาวิชาชีพต่างๆ ได้รับการคัดสรรมาแล้ว การทำหน้าที่ของ ส.ว. เป็นหน่วยคัดกรองกฎหมายและบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งวันนี้ ส.ว. ก็ทำหน้าที่กลั่นกรองนายกรัฐมนตรี เรายึดหลักส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมือง หากมีประเด็นอะไรที่ต้องพูดคุยร่วมกันก็ควรที่จะคุยในรัฐสภา เพราะเราใช้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงระบอบรัฐสภา ที่รวบรวมพรรคการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล ต้องดูในเรื่องของตัวบุคคลและนโยบายที่จะมาบริหารประเทศ ส.ว. จะฟังเสียงในรัฐสภาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังเสียงของประชาชนด้วย
หากผลโหวตออกมาแล้วไม่เป็นที่พอใจของประชาชน เพราะมี ส.ว. หลายคนที่ออกมาแสดงตัวว่าจะไม่สนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ห่วงหรือไม่ว่าจะมีการเกิดความรุนแรงขึ้น นายสมชาย เผยว่า เชื่อว่าไม่มีความรุนแรง เพราะประชาชนได้แสดงออกด้วยการเลือกตั้ง แม้จะมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันก็ไม่เป็นไร
พร้อมขออย่าไปกังวลหรือเครียดกับการเมือง อย่าทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรง ส.ส. 500 คน อย่าปลุกปั่นประชาชนให้เกิดความขัดแย้ง เราผ่านความขัดแย้งมานานแต่ยังไม่ไปไหน เพราะฉะนั้นการเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ เพราะประชาชนก็ใช้สิทธิ์ของตนเอง ส.ส.-ส.ว. ก็ใช้สิทธิ์ ทุกคนต่างเคารพซึ่งกันและกัน
ภาพจาก : Somchai Swangkarn
บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายก
- ประธานสภา ก้าวไกล-เพื่อไทย ใครได้นั่ง?
- ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!
- ประธานรัฐสภา จากอดีต-คนปัจจุบัน 2566 ไทยมี ประธานรัฐสภาไทย มาแล้วกี่คน
- เลือกนายกฯ เปิดโพลสำรวจความเห็นปชช. 'ราบรื่น-มีอุปสรรค' หรือไม่?
- "ส.ว.วุฒิพันธุ์" ย้ำจุดยืน โหวตนายกฯคนที่ 30 จากพรรคที่มี ส.ส.มากสุด
- โหวตนายกได้กี่รอบ? เปิด 3 แนวทาง โหวตนายกฯ คนที่ 30
- ประชุมสภา 13 กรกฎาคม 2566 โหวตนายกรัฐมนตรี 09.30 น. เป็นต้นไป
- เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
- เปิด "กติกา" โหวตนายกฯ คนที่ 30 พร้อมเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล
- ตร.เตรียมกำลังดูแลวัน "โหวตนายกรัฐมนตรี" แนะเลี่ยงเส้นทางหน้ารัฐสภา
- เปิดท่าทีส.ส.แต่ละพรรคมอง ‘วันโหวตนายกฯ’ ราบรื่นหรือไม่?
- ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!
- เปิดแผนการรักษาความปลอดภัยรอบรัฐสภารับ “วันโหวตนายกฯ” ย้ำยึดหลักสากล
- "พิธา" พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ วันโหวตนายกฯ
- "โหวตนายกฯ" เช็กเสียง 750 สมาชิกรัฐสภา
- ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งรับคำร้องกกต.ยื่นสอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เข้าระบบแล้ว
- รวม ประวัติ นักการเมืองไทย ใครเป็นใครกันบ้าง?