สื่อการเรียนการสอนที่มอบทั้งความรู้ และความสนุกเร้าใจให้แก่ผู้เรียนนั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกเสียจากกลวิธีการสอนโดยใช้เกม ซึ่งในที่นี้เราจะขอแชร์บอร์ดเกมการแบ่งเซลล์ที่เราได้นำไปใช้ทดลองจริงมาแล้วค่ะ (สมัยฝึกสอน 😁) บอร์ดเกมการแบ่งเซลล์ เหมาะกับใคร?เหมาะสำหรับผู้เรียนหรือบุคคลที่เรียนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมาแล้วนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-4 [เนื้อหาตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551]นิสิต/นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา วัตถุประสงค์ของบอร์ดเกมการแบ่งเซลล์เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและไมโอซิสได้ (K)เพื่อฝึกทักษะกระบวนการกลุ่ม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น (P)เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต (A) เนื้อหาของบอร์ดเกมการแบ่งเซลล์ ในเนื้อหาบอร์ดเกมของการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะกล่าวถึง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส และการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนั่นเองค่ะ การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส คือ การแบ่งเซลล์ร่างกาย แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ระยะอินเตอร์เฟสระยะโพรเฟสระยะเมทาเฟสระยะแอนาเฟสระยะเทโลเฟส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส คือ การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้ระยะอินเตอร์เฟสระยะโพรเฟส Iระยะเมทาเฟส Iระยะแอนาเฟส Iระยะเทโลเฟส Iระยะโพรเฟส IIระยะเมทาเฟส IIระยะแอนาเฟส IIระยะเทโลเฟส II อุปกรณ์การเล่น สำหรับอุปกรณ์การเล่นเราจะแบ่งเป็น 3 ชุดค่ะ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเยอะหากรวมเป็นชุดเดียวกัน ดังนั้นจึงแยกการเล่นเป็น 3 ชุด คำแนะนำ: อาจแบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่มตามระยะทั้งสาม และเวียนกันเล่นให้ครบทั้ง 3 ชุดเพื่อให้ได้ความรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วนชุดอุปกรณ์ระยะไมโทซิส ชุดอุปกรณ์ระยะไมโอซิส I ชุดอุปกรณ์ระยะไมโอซิส II แนะนำรายละเอียดอุปกรณ์การเล่น ในแต่ละกระดานหรือการ์ดต่าง ๆ จะมีรายละเอียด เนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนที่สอดแทรกไปด้วย จะมีอะไรบ้างเราขอยกตัวอย่างเบื้องต้น ดังภาพ การเตรียมการก่อนเล่น1. แบ่งกลุ่มผู้เล่นเป็น 3 กลุ่มตามชุดอุปกรณ์เกม กลุ่มละ 4-5 คน2. ผู้เล่นเลือกกระดานผู้เล่นตามระยะการแบ่งเซลล์ของตนเอง3. แจกโทเคนแผ่นใหญ่และโทเคนแผ่นเล็กให้ผู้เล่นตามกระดานระยะการแบ่งเซลล์ที่ผู้เล่นแต่ละคนเลือก4. การเริ่มเล่นจะเรียงตามลำดับระยะการแบ่งเซลล์จากเริ่มต้นไปสุดท้าย5. ตัวอย่างการจัดวางอุปกรณ์เกม (Set up) ดังภาพตัวอย่าง วิธีการเล่น1. ผู้เล่นลำดับแรกเปิดการ์ดคำถามและตอบคำถามด้านบนที่คว่ำไว้ และตอบคำถามให้ถูกต้อง กรณีตอบถูก - ผู้เล่นสามารถวางโทเคนในบอร์ดได้ 1 โทเคน/คำถาม และได้การ์ดคำถามนั้นไปสะสมแต้มกรณีตอบผิด - ผู้เล่นไม่สามารถวางโทเคนในบอร์ดได้ และไม่ได้การ์ดคำถามไปสะสมแต้ม การ์ดคำถามนั้นจะถูกสอดไว้ใต้กองเหมือนเดิม‼️ การเปิดการ์ดคำถามผู้เล่นจะต้องซื่อสัตย์ เพราะจะมีเฉลยไว้ใต้ล่างการ์ดแบบกลับหัวไว้ ผู้เล่นต้องปิดเฉลย และอ่านคำถามให้ผู้เล่นคนอื่นฟังด้วย จากนั้นค่อยตอบคำถาม และตรวจสอบคำตอบจากเฉลย- ตัวอย่างการเล่น 2. เมื่อผู้เล่นตอบคำถามเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะตอบผิดหรือถูก ผู้เล่นสามารถเลือกหยิบเปิดการ์ดพิเศษหรือไม่ก็ได้ หากเลือกเปิดผู้เล่นจะต้องทำตามเอฟเฟกต์ที่อยู่ในการ์ดนั้น ๆ จากนั้นเก็บการ์ดพิเศษลงใต้กองเหมือนเดิม ‼️ โดยการเปิดการ์ดพิเศษสามารถเปิดได้ 1 ครั้ง/เทิร์น ของผู้เล่น- ตัวอย่างการเล่น 3. หลังจากจบการเลือกเปิดการ์ดพิเศษแล้ว ถือว่าจบเทิร์นของผู้เล่น จากนั้นผู้เล่นลำดับถัดไปเล่น และวนรอบกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าการ์ดคำถามจะหมดกอง ถือว่าจบเกม เป้าหมายการชนะ ผู้เล่นคนใดที่มีแต้มคะแนนสะสมรวมมากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ โดยคะแนนนับจากแต้มที่อยู่บนการ์ดคำถามและแต้มคะแนนบนบอร์ดของผู้เล่น ดังนี้นับคะแนนโทเคนที่ถูกวางในบอร์ด จุดละ 1 คะแนน หากวางครบ 9 จุดจะได้คะแนน x2 รวมเป็น 18 คะแนนนับคะแนนจากการ์ดคำถามที่สะสมได้ โดยค่าคะแนนจะอยู่ตรงมุมบนของการ์ด 🎯 บอร์ดเกม ถือเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ หากสนใจก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนของตนเองกันได้นะคะ ขอทิ้งท้ายด้วยภาพนักเรียนที่เล่นบอร์ดเกมเราสมัยฝึกสอนจ้า #การแบ่งเซลล์ #การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต #วิทยาศาสตร์ #science 📌 เครดิตภาพทั้งหมดโดย: ButterNoey (เจ้าของบทความ) 📚บทความอื่น ๆ ของ Butter_Noey ไอเดียสื่อการสอนเกมห่วงโซ่อาหารรีวิว: เอกการศึกษาตลอดชีวิต มศว แบบเก็บทุกรายละเอียด!!3 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่าย สนุก ได้ความรู้ ทำได้ที่บ้าน มีคลิปให้ดูแชร์ประสบการณ์ฝึกสอนในโรงเรียนของนิสิต/นักศึกษาครูแชร์ประสบการณ์ฝึกสอน กศน. ของนิสิต/นักศึกษาครู7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์