สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่น่ารักผู้เขียนคงไม่ชอบใจนักหากความตั้งใจที่จะรีวิวหนังสือเล่มนี้แล้ว ท่านผู้อ่านจะอ่านเพียงแค่หน้าปก ว่า "เหี้ย" แล้วก็เดินจากไปโดยไม่แยแสเนื้อหาด้านในที่ผู้เขียนอยากจะเล่า อยากจะบอกผมเชื่อนะครับว่า คนส่วนมากเมื่อพูดถึง หรือเอ่ยถึงเรื่องเหี้ย ๆ มักจะมีคนให้ความสนใจมากกว่าเรื่องดี ๆ ในแง่มุมของนักอ่านหนังสือทั่วไป การตัดสินใจอะไรเพียงปกโดยไม่สนใจเนื้อหาที่ผู้เขียนจะบอกมันคือเรื่องผิวเผินมาก ๆ ในทักษะการจะเป็นผู้อ่านที่สมบูรณ์เช่นกันจ้ะ เล่มที่ท่านเห็นอยู่นี้ผมคิดอยู่นานสองนานว่า จะคุยเรื่องเหี้ย ๆ ให้เป็นการยกระดับปัญญาทั้งของผมเองและก็ของท่านผู้อ่านได้อย่างไร และมากกว่านั้น คือ นำเสนอความน่ารักของสัตว์ลายพรางตัวนี้ให้ทุกท่านได้เข้าใจ งั้นผมจะแนะนำและทำความรู้จักกับหนังสือเล่มนี้กันนะครับ ว่ามันมีดีอะไรทำไมเราต้องรู้จักและคิดว่า เพื่อนร่วมโลกของเราที่ชื่อว่า "เหี้ย" เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับเราได้อย่างไม่แปลกแยกขออนุญาตไม่ออกเสียง ให้ท่านอ่านหน้าปกในใจ นะครับหากรู้สึกว่าไม่สุภาพเอาล่ะเข้าสู่เนื้อหากันได้ส่วนตัวแล้ว ผมมีความปรารถนาดีลึกๆ ที่อยากจะบอกว่า ผมชอบหนังสือเล่มนี้มาก ๆ ครับ เป็นตำราปฏิบัติที่รวมเรื่องราวของผู้ที่ทำงาน เชี่ยวชาญด้านเหี้ยของเมืองไทยในหลากมิติเลยก็ว่าได้ ผมได้หนังสือเล่มนี้เมื่อปีที่แล้วจากท่านผู้เป็นบรรณาธิการและจัดงานประชุมวิชาการด้านเหี้ย เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ท่านผู้นั้นคือ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ จิตรกมล ธนะศักดิ์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านอาจารย์มีความสนใจในสัตว์ชนิดนี้ จนมีชื่อเสียงทางสังคมและรู้จักอย่างแพร่หลายได้รับการเรียกขานฉายาว่า [ หมอเหี้ย ] ลองเสิร์ทกูเกิลดูก็ได้นะถ้าไม่เชื่อผมว่า หมอเหี้ยมีชีวิต มีตัวตนจริงบนโลกใบนี้178 หน้าในหนังสือ กับราคา 300 บาท ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเพียง 1,000 เล่มด้วยงบประมาณน่าจะมีจำกัด แต่ผมว่า ยังเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก ผมเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการในวันนั้นด้วยครับ ประมาณเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ คณะสัตวแพทย์ ม.มหิดล งานในวันนั้น ก่อนจะตกผลึกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ผมมองว่าเป็นงานวิชาการที่จะทำให้เราเข้าใจบริบทและความหลากหลายของมุมมองจากนักวิชาการหลากศาสตร์ เช่น หมอ นักมนุษยวิทยา นักปฏิบัติการณ์ นักกฏหมาย รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์เหี้ยในประเทศไทยเป็นกำหนดการที่ผมอยากจะบอกว่า หัวข้อแต่ละเรื่องน่าสนใจมาก ๆ ครับ เราได้เห็นว่าจริง ๆ แล้วเหี้ย หรือ มีคำอื่น ๆ ที่เรียกหลากหลายเพื่อเลี่ยงความเป็นมงคล เขามีความหลากหลายที่น่าสนใจในด้านการศึกษาจากมุมมองนักวิชาการ ประมาณนี้ครับ เช่น สรุปว่าเหี้ยเป็นสัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์ป่า น่าสนใจนะครับ เพราะว่าตอนนี้บ้านกลางกรุงเราก็พบตัวเงินตัวทองวิ่งพล่านเลย จริง ๆ แล้วนักวิชาการบอกว่า เขาเป็นสัตว์สงวนนะครับไล่ตีเขาไม่ได้นะโดนจับเข้าคุกนะครับผม นอกจากนี้ยังมีเรื่องกฎหมายคุ้มครองเขาด้วย มีมิติความเชื่อในเชิงมนุษยวิทยาหรือคติชนอีกว่า จริง ๆ แล้วเหี้ย ก็เป็นพระโพธิสัตว์มาก่อนก่อนจะมาเป็นพุทธะ ในตำนานและชาดกหลายที่ก็ได้กล่าวถึงว่า เขาคือผู้วิเศษ สิ่งเหล่านี้เป็นเนื้อหาบางส่วนที่ผมอยากจะบอกว่า มุมมองขององค์ความรู้จากผู้รู้จะทำให้เรารักและเข้าใจในสรรพสัตว์ทุกชนิดได้อย่างสนิทใจนอกจากหนังสือเล่มนี้ จะอัปเดทสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่หลากหลายดังได้กล่าวมา ผู้เขียนอยากจะเล่าบรรยากาศของการประชุมวันนั้นให้ฟังว่า มีการศึกษาวิจัยตั้งแต่นักศึกษาปริญญาตรี จนกระทั่งงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติเลยล่ะ มีงานชิ้นหนึ่งที่นักศึกษาได้สำรวจเป็นงานวิจัยเล็ก ๆ ที่นำมาเสนอในงานวันนั้น โดยสำรวจตัวเหี้ยในมหาวิทยาลัยมหิดล กับความรู้สึกของนักศึกษา พื้นที่ศาลายา สิ่งที่น่าสนใจของงานวิจัยชิ้นนั้น พบว่า ความสัมพันธ์หรือการมีทีท่าต่อกันมีแนวโน้มจากความกลัวต่อเหี้ยลดลงตั้งแต่เข้ามาอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยใช้ชีวิตนักศึกษา มันบอกได้ว่า ความคุ้นชินเป็นญาติอย่างยิ่งใช่ไหมละครับ และนั่นเองก็เป็นสิ่งสะท้อนว่า จริง ๆ แล้ว เขาไม่ได้น่ากลัวหรือจะต้องมาวิ่งไล่กัดเราเหมือนหมาบ้าเสียที่ไหนล่ะ เขาต่างใช้ชีวิตในธรรมชาติที่สมดุลของเขา พวกเรา ที่ต้องขยายอาณาเขตมารุกล้ำพื้นที่อันเป็นป่า เขาจะไปสร้างป่าเพื่ออยู่ลำพังก็ไม่ได้จริงไหมครับ ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงอาศัยอยู่ตามซอกอาคาร และเสมือนว่า ใช้ชีวิตอย่างมนุษย์จำพวกหนึ่งเลยเนอะ ฮ่าๆภาพถ่ายบรรยากาศของงานวันนั้น นะครับ ผมถ่ายออกมาจากหนังสือให้ดูอีกครั้งหนึ่งจริง ๆ แล้วสิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า การอ่านตำราเล่มนี้แล้วทำให้เรารู้สึกว่า องค์ความรู้มันทลายความเชื่อในหลาย ๆ ด้านที่ผิด ๆ แล้วมันสามารถสานสัมพันธ์ในความรู้สึกและเปิดใจเปิดมุมมองต่อความกลัวหรือข้อรังเกียจที่มีอยู่ในใจเราเอง มันสามารถเปลี่ยนท่าทีในการเข้าใจสรรพสัตว์ด้วยความเท่าเทียมกันว่า ทุกชีวิตรักตัวกลัวตายทั้งนั้น ทำให้เรามองเห็นว่า การเบียดเบียนกัน ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นสิ่งที่พึงละเว้นเสีย อย่างไรก็ดี ปัญญาที่ตกผลึกทางวิชาการที่รวบรวมไว้ในเล่มนี้ ผมมั่นใจว่า จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่เรียกว่า เหี้ย ตัวเงิน ตะกวด ตุ๊ดตู่ วรนุช ซึ่งคำศัพท์พวกนี้ มีอยู่ในเล่มนี้แล้วครับท่านเชื่อไหมครับว่า แม้แต่ฝันถึงเหี้ย ก็ยังเสริมพลังใจเราได้เลยว่า มีโอกาสจะพบโชคลาภผมต้องขอบคุณท่านอาจารย์ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ จิตรกมล ธนศักดิ์ ที่มอบหนังสือเล่มนี้ให้ในฐานะผู้เข้าร่วมประชุม แต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ก็จำหน่ายในราคา 300 บาทครับ หากสนใจติดต่อได้ ที่คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้เลยนะครับเอาล่ะครับใจชื้นขึ้นมาหรือยัง งั้นร่ำลากันไปก่อนอย่าลืมนะครับ เหี้ย นี่ล่ะ คือตัวชี้วัดว่า ทรัพยากรทางธรรมชาติยังสมดุลอยู่ เรามา Save สมดุลทางธรรมมชาติกับการเรียนรู้และเข้าใจในเผ่าพันธุ์ของเหี้ยกันเถอะนะขอบคุณครับเล่าเรื่อง และภาพ เหี้ยโดย พ่อบักอินดี้ เครดิตภาพปกโดย Pixabay