เบื่อไหมต้องมานั่งเขียนบรรณานุกรมเป็นสิบเป็นร้อยรายชื่อ แต่ละรูปแบบก็มีการเขียนที่ต่างกันออกไปอีก ทุกคนเคยคงมีคำถามขึ้นมาในหัวเป็นแน่แท้ ว่าทำไมเราจะต้องเขียนบรรณานุกรม ใครจะเปิดอ่าน ใครจะไปเปิดดู แต่สำหรับนักอ่าน นักเขียนหรือนักวิจัยแล้ว ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีประโยชน์สำหรับเขามาก เหมือนเป็นเข็มทิศชี้แนวทางให้เขาได้เลยว่าถ้าเขาสนใจในเรื่องนี้ เขาต้องไปหาข้อมูลจากแหล่งไหนมาอ่าน มาศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเป็นเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน เจ้าของความคิดนั้นๆอีกด้วย และยังสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้งานของเราได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยมาเสนอตัวช่วยในการเขียนบรรณานุกรมให้ไวภายใน 1 นาทีReference vs Citationหนังสืออ้างอิง (Reference) หรือ บรรณานุกรม (Bibliography)เคยสังเกตกันไหมว่า เวลาพลิกไปหน้าสุดท้ายของหนังสือ หรือว่าส่วนสุดท้ายของบทความทางวิชาการ บทความทั่วไปต่างๆ เราจะเห็นส่วนที่รวบรวมรายชื่อแหล่งที่มาของข้อมูลมากมายจากหลากหลายแหล่ง เปรียบเสมือนห้องสมุดบนกระดาษเลยก็ว่าได้ และเป็นที่แน่นอนว่า Reference ก็คือการเก็บรวบรวมแหล่งที่มาของเอกสารที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนอ้างอิงหรือใช้ในการศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมในการทำงานวิจัย โดย Reference มีจุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้ที่อ่าน ผู้ที่สนใจในงานวิจัยนั้นๆได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไปจากแหล่งที่มาหรือต้นตอของข้อมูลนั้นๆการอ้างอิงเอกสาร (Citation)Citation (noun) มากจาก Cite (verb) ที่มีความหมายว่า การอ้างถึง ดังนั้น Citation เหมือนกับการให้เกียรติที่มาของข้อมูลในส่วนนั้น ว่าข้อมูลส่วนนั้นมาจากใคร จากไหน เมื่อไหร่ หรือปัจจุบันก็มักจะเรียกกันว่าให้เครดิต ซึ่งแน่นอนว่าการคัดลอกโดยปราศจากการระบุอ้างถึงแหล่งที่มานั้น งานวิจัยหรืองานเขียนชิ้นนั้นสามารถถูกเจ้าของของความคิดฟ้องร้องตามกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ ตัวอย่างส่วนที่มักจะใช้การอ้างอิงบ่อยๆ อาทิ เช่น การคัดลอกข้อความ (Quotation), การย่อความ (Summarizing), การถอดความ (Paraphrasing), หรือการเขียนเชิงอรรถ (Footnote) เป็นต้น การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism)เมื่อพูดถึงการโจรกรรมแล้ว เราจะนึกถึงการขโมย การลักลอบ หรือการกระทำบางอย่างที่ไม่ดี เช่นเดียวกันกับการเขียนงานวิจัย ก็คือการโจรกรรมทางวิชาการ ซึ่งการโจรกรรมทางวิชาการนี้หมายถึงการที่ไปคัดลอกผลงาน ทำซ้ำผลงาน การขโมยความคิด คำพูดของผู้อื่นมาโดยไม่ได้ให้เครดิตเขาอย่างถูกต้องชัดเจน หรือไม่แสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นของใคร มาจากไหน ทำเหมือนกับว่าเราเป็นเจ้าของบทความนั้นๆเสียเอง สิ่งนี้ก็คือการโจรกรรมทางวิชาการดังกล่าวนั้นเอง รูปแบบของการเขียนอ้างอิงทั้งบรรณานุกรมและการอ้างอิงเอกสารรูปแบบการเขียนอ้างอิงในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบมากมาย สามารถแบ่งออกได้เป็นทางสายงานอีก อย่างเช่นทางสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ก็ใช้แบบหนึ่ง ส่วนสายวิทยาศาสตร์ก็ใช้อีกแบบหนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องปรึกษาหารือกันก่อนว่าต้องการที่จะใช้รูปแบบใด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม และบางทีอาจารย์ก็อาจจะกำหนดมาให้เลยว่าเขาต้องการให้ใช้รูปแบบใด โดยตัวอย่างรูปแบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยม ยกตัวอย่างเช่นAPA (American Psychological Association)MLA (Modern Languages Association)MHRA (Modern Humanities Research Association)the Harvard systemReference/Citation Generatorหลังจากเกริ่นมานาน เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถทำหลายสิ่งให้ง่ายขึ้น ไวขึ้น รวมถึงการเขียนบรรณานุกรมด้วยเช่นกัน วันนี้เราขอเสนอ Reference Generator ซึ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยเขียนบรรณานุกรมนั้นเอง โดยความพิเศษของมันมักจะมีให้เลือกว่าต้องการเขียนแบบใด อ้างอิงจากเว็บไซต์ อ้างอิงจากหนังสือ หรืออ้างอิงจากรายงานนั้น วิธีใช้ก็ง่ายมาก โดยมี 2 วิธี คือการอ้างอิงจากเว็บไซต์ ซึ่งต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เพียงแค่นี้เราก็สามารถนำ Link มาวางในโปรแกรมได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะได้รายชื่อหนังสืออ้างอิงมาแล้ว นอกจากนี้ยังเขียน In-text Citation ได้อีกด้วย เพียงกดเลือกเมนูดังกล่าว ซึ่งถ้าเป็นเว็บไซต์ทางการแล้ว มักจะมีมีข้อมูลให้เราอยู่แล้ว เพียงเเค่เราเลือกแค่นั้น ข้อมูลก็จะมีขึ้นให้เองโดยอัตโนมัติ ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง แต่ถ้าไม่มีข้อมูลมาให้ก็ทำตามแบบที่ 2 ต่อไป และสำหรับการเขียนอ้างอิงหนังสือ ข้อมูลก็สามารถขึ้นให้เราได้โดยอัตโนมัติเช่นกัน เพียงแค่เราต้องรู้รหัสสินค้านั้น อย่างเช่น เลข ISBN ซึ่งจะหาได้การตามเว็บไซต์ของร้านหนังสือ หลังจากนั้นก็นำเลขมากรอกตรงช่องค้นหาเช่นเดียวกับวิธีอ้างอิงจากเว็บไซต์แบบที่ 2 มักจะเป็นแบบกรอกเอง โดยเขาจะมีช่องมาเรากรอกว่า ผู้เขียนคือใคร ปีไหน สำนักพิมพ์อะไร ฯลฯ แต่ถ้าเราไม่ทราบก็สามารถเลือกที่ Unknow ได้เลย หรือว่าถ้าไม่มีเมนู Unknow ก็ไม่ต้องกรอกก็ได้ (มักจะเป็นเว็บไซต์ในกรณีนี้) และเมื่อเรากรอกเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะจัดเรียงลำดับให้เราเอง เป็นอันจบขั้นตอน โดยการกรอกเองมักจะใช้กับแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือ หรือรายงาน โดยส่วนใหญ่ โดยตัวอย่างที่เรานำมาเสนอนั้นเป็นการเขียนแบบ APA (American Psychological Association) หากเพื่อนๆต้องการเขียนแบบอื่นสามารถเลือกแบบของตัวเองได้เลยหากเว็บไซต์นั้นๆมีให้เราเลือก หากไม่มีเพื่อนๆก็สามารถพิมพ์หาได้เลยว่าต้องการแบบใด เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมหลากหลายมากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต เพียงค้นหาคำว่า Reference Generator เท่านี้ก็จะเจอแหล่งมากมายความคิดเห็นส่วนตัวจากการใช้ Reference Generatorข้อดีของ Reference Generator ทำให้เราสามารถเขียนได้ไวมากขึ้น ไม่เสียเวลามีหลากหลายรูปแบบให้เราเลือก ง่ายต่อการใช้ข้อที่คิดว่าถ้ามีการปรับปรุงจะดีขึ้นของ Reference Generator (ไม่ถึงกับเป็นข้อเสีย)ด้วยความที่เป็นเว็บไซต์ต่างชาติ ภาษาไทยบางเว็บยังไม่รองรับมากนักการเรียงลำดับชื่อ นามสกุลภาษาไทย ต้องเช็คอีกทีว่าความลำดับถูกต้องไหม เพราะเป็นเว็บไซต์ต่างชาติเลยอาจจะทำให้นามสกุลขึ้นก่อน เพราะฉะนั้นตรวจเช็คให้ดีหลังใช้ แต่โดยรวมแล้วทำให้เขียนได้เร็วมากยิ่งขึ้น เพียงแค่ตรวจทานและสลับลำดับใหม่นิดหน่อย เพียงเท่านี้เราก็จะได้รายชื่อบรรณานุกรมเป็นที่เรียบร้อย ตัวอย่างเว็บไซต์ Reference GeneratorScribbr Quillbot เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ที่ต้องเขียนรายงาน และสามารถกำจัดความเบื่อหน่ายในการเขียนบรรณานุกรมให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆด้วย 😊ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลสิทธิ์ ธีรสรณ์.(2015). เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.นคร เสรีรักษ์ และภรณี ดีราษฎร์วิเศษ.(2018). วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. ฟ้าฮ่าม.ความรู้เบื้องต้นเรื่องการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism). (2018, June 22). SI-UK: Move Forward. Be Great. Retrieved June 19, 2022, from https://www.siuk-thailand.com/study-guide/guidance-plagiarism-students/ ขอขอบคุณภาพประกอบภาพปกจาก Freddie marriage จาก Unsplashภาพเปรียบเทียบ Reference กับ Citation จาก Kwantlen Polytechnic University (KPU)ภาพตัวอย่างการใช้เว็บไซต์ จาก Scribbr ภาพจาก 200degrees จาก Pixabayภาพตัวอย่างเว็บไซต์ Reference Generator จาก Scribbr และ Quillbot *STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"* ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565