Story line เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ศึกษาค้นหาข้อมูลหรือนำความรู้ ประสบการณ์ ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ มีส่วนร่วมในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและจะขอตัวอย่างคือ Story line นิทานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ที่เกิดจากการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนมาเป็นแนวทางในการอธิบายขั้นตอนการสร้าง Story line ดังนี้ 1.ครูนำตัวอย่าง Story line ให้นักเรียนดูเพื่อเป็นแนวทาง และใช้คำถามว่า “นักเรียนเคยอ่านนิทาน ชอบอะไรในนิทานนักเรียนอยากสร้างนิทานของตัวเองไหม จะเขียนนิทานเรื่องอะไร” 2. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 4 คน ให้นักเรียนเลือกเนื้อหาที่สนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยออกแบบฉาก ตัวละคร ให้เหมาะสมกับเรื่อง แบ่งเนื้อหา และเขียนดำเนินเรื่องให้น่าสนใจ ครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด จากนั้นแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอประเด็นสำคัญของแต่ละกลุ่ม เช่น ชื่อนิทาน เนื้อเรื่อง รูปภาพที่ออกปแบบแต่ละฉาก ตัวละคร และพื้นหลังประกอบฉาก ครูและนักเรียนประเมินผลงาน ปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่ไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างเนื้อหาที่จะนำมาสร้าง Story line เป็นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ โดยจะอธิบายเกี่ยวกับระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร 8 ดวง โดยจะมีตัวละครดำเนิน 4 คน คือ ครูใบตอง พิท แพท และป็อกกี้ 3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซอฟต์แวร์ที่จะนำมาสร้างStory line และลงข้อสรุปว่าจะใช้ Canva ในการสร้างนิทาน กำหนดลักษณะและบุคคลิกของตัวละคร เพราะเหมาะสมกับการสร้าง Story line มีรูปภาพสีสดใสสวยงาม มีรูปแบบให้เลือกมากมายตรงตามความต้องการ และมีการใช้งานที่ง่าย ชื่อนิทาน ระบบสุริยะของเราชื่อตัวละครและลักษณะของตัวละคร 4. เขียนลำดับเหตุการณ์ให้สัมพันธ์กัน เขื่อมโยงให้มีความน่าสนใจ อธิบายจุดสำคัญหรือจุดเน้นของเรื่อง ให้ชวนติดตาม และดึงดูดความสนใจ 5. แบ่งเนื้อหาแต่ละฉากไม่ให้น้อยหรือมากจนเกินไป เขียนอธิบายภาพให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง 6. การเขียนบทพูด บทความคิดสำหรับตัวละครแต่ละตัว หรือบรรยายในบางฉากใก้กระชับ และเข้าใจง่าย 7. ควรเป็นเนื้อหาสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจในเนื้อหาการวัดและประเมินผลประเมินการเขียนเนื้อหานิทานอย่างสร้างสรรค์ประเมินการสร้าง Story line อย่างสร้างสรรค์ประเมินออกแบบองค์ประกอบและความสมบูรณ์ของชิ้นงานประเมินความคิดวิเคราะห์ประเมินการทำงานกลุ่ม บทความนี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ได้ในหลายสาระการเรียนรู้ เช่น การแต่งนิทาน(ภาษาไทย) การสร้างนิทานด้วยซอฟแวร์นำเสนอ (เทคโนโลยี) รวมทั้งความเข้าใจในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมและเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานของนักเรียนได้อีกด้วย ภาพปกโดย kru baitongภาพประกอบโดย kru baitong7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร